Contrast
banner_default_3.jpg

การประเมินความเสี่ยงการทุจริตในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับสินบน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2567

จากไชต์: สำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดอ่างทอง
จำนวนผู้เข้าชม: 184

18/06/2567

การประเมินความเสี่ยงการทุจริตและประพฤติมิชอบ 

แนวทางการประเมินความเสี่ยงเพื่อการป้องกันการทุจริตและมาตรการภายในเพื่อส่งเสริมความโปร่งใส

และป้องกันการทุจริตในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับสินบน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567

สำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดอ่างทอง

1.ทฤษฏีที่เกี่ยวข้องในการประเมินความเสี่ยงการทุจริต

  • การวิเคราะห์ความเสี่ยงตามมาตรฐาน COSO (The Committee of Sponsoring Organizations of the Tread way Commission) เป็นกรอบการวิเคราะห์ความเสี่ยงเกี่ยวกับการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลกับประโยชน์ส่วนรวม มีขั้นตอนการดำเนินการดังนี้
  1. กำหนดเหตุการณ์ความเสี่ยง
  2. ประเมินความเสี่ยงในประเด็นต่าง ๆ ตามตารางคะแนน โดยกำหนดระดับที่เหมาะสมกับประเด็นความเสี่ยงนั้น ๆ 5 ระดับ เพื่อให้ทราบถึงความรุนแรงและความสำคัญโดยพิจารณาจาก

     2.1 โอกาสที่จะเกิดความเสี่ยง มีโอกาสที่จะเกิดขึ้นมากน้อยเพียงใด

 2.2 ผลกระทบของความเสี่ยง หากเกิดเหตุการณ์นั้น ๆ จะก่อให้เกิดความเสียหายในระดับใด

ตารางที่ 1: เกณฑ์กำหนดระดับโอกาส (Likelihood) ที่จะเกิดความเสี่ยง

ระดับ

โอกาสที่จะเกิด

คำอธิบาย

5

สูงมาก

มีโอกาสเกิดขึ้นเป็นประจำ

4

สูง

มีโอกาสเกิดขึ้นบ่อยครั้ง

3

ปานกลาง

มีโอกาสเกิดขึ้นบางครั้ง

2

น้อย

มีโอกาสเกิดขึ้นน้อยครั้ง

1

น้อยมาก

มีโอกาสเกิดขึ้นยาก

ตารางที่ 2: เกณฑ์กำหนดระดับความรุนแรงของผลกระทบ (Impact) ที่ส่งผลกระทบด้านการดำเนินงาน

ระดับ

ผลกระทบที่จะเกิด

คำอธิบาย

5

สูงมาก

กระทบต่องบประมาณและ/หรือความเชื่อมั่นของสังคมระดับสูงมาก

4

สูง

กระทบต่องบประมาณและ/หรือความเชื่อมั่นของสังคมระดับสูง

3

ปานกลาง

กระทบต่องบประมาณและ/หรือความเชื่อมั่นของสังคมระดับปานกลาง

2

น้อย

กระทบต่องบประมาณและ/หรือความเชื่อมั่นของสังคมระดับต่ำ

1

น้อยมาก

กระทบต่องบประมาณและ/หรือความเชื่อมั่นของสังคมระดับต่ำมาก

  1. วิเคราะห์ระดับความเสี่ยง (Degree of Risk) ซึ่งจะบ่งบอกถึงระดับความสำคัญในการบริหารความเสี่ยง โดยพิจารณาจากผลคูณของระดับโอกาสที่จะเกิดความเสี่ยง (Likelihood) กับระดับความรุนแรงของผลกระทบ (Impact) ของความเสี่ยงแต่ละสาเหตุ (โอกาส × ผลกระทบ) กำหนดเกณฑ์ไว้ 4 ระดับ ดังนี้

ระดับความเสี่ยง = ระดับความเสี่ยง = โอกาส x ผลกระทบ

 

ลำดับ

ระดับความเสี่ยง

ช่วงคะแนน

1

ความเสี่ยงระดับสูงมาก

15 – 25 คะแนน

2

ความเสี่ยงระดับสูง

9 – 14 คะแนน

3

ความเสี่ยงระดับปานกลาง

5 – 8 คะแนน

4

ความเสี่ยงระดับต่ำ

1 – 4 คะแนน

ตารางที่ 4: การแบ่งระดับความรุนแรงของความเสี่ยงการทุจริต (Risk Score)

          ระดับความรุนแรงของความเสี่ยงการทุจริต (Risk Score)

โอกาส

(Likelihood)

ผลกระทบ (Impact)

1

2

3

4

5

5

ปานกลาง

สูง

สูงมาก

สูงมาก

สูงมาก

4

ต่ำ

ปานกลาง

สูง

สูงมาก

สูงมาก

3

ต่ำ

ปานกลาง

สูง

สูง

สูงมาก

2

ต่ำ

ต่ำ

ปานกลาง

ปานกลาง

สูง

1

ต่ำ

ต่ำ

ต่ำ

ต่ำ

ปานกลาง

  ความเสี่ยงการทุจริตระดับต่ำ

  สามารถใช้ความรอบคอบระมัดระวังในการปฏิบัติงาน  ตามปกติควบคุมดูแลได้

  เป็นกระบวนงานที่มีผู้เกี่ยวข้องหลายคน/หลายหน่วยงานภายในองค์กร/มีหลายขั้นตอน >> จนยากต่อการควบคุมหรือไม่มีอำนาจควบคุมข้ามหน่วยงานตามหน้าที่ปกติ

  เป็นกระบวนงานที่เกี่ยวข้องกับบุคคลภายนอก/คนที่ไม่รู้จักไม่สามารถตรวจสอบได้ชัดเจน >> ไม่สามารถกำกับติดตามได้อย่างใกล้ชิดหรืออย่างสม่ำเสมอ

 

2.การประเมินความเสี่ยงการทุจริตของสำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดอ่างทอง

ลำดับ

ประเด็นความเสี่ยง

เหตุการณ์ความเสี่ยง

ระดับความเสี่ยง

มาตรการในการบริหารจัดการความเสี่ยง

1

การใช้อำนาจตามกฎหมาย/การให้บริการตามภารกิจ

สำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดอ่างทองเป็นหน่วยงานด้านการอำนวยความยุติธรรม และเป็นผู้บังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการทุจริต ทั้งนี้ในฐานะฝ่ายเลขานุการของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ซึ่งมีอำนาจหน้าที่ในการไต่สวนและตรวจสอบทรัพย์สิน เบื้องต้น ซึ่งด้วยอำนาจและหน้าที่ดังกล่าวตามที่พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 กำหนด อาจมีโอกาสที่ผู้เสียหาย หรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอกที่ได้รับผลกระทบจากอำนาจทางกฎหมายดังกล่าว เสนอให้สินบนหรือการปฏิบัติอื่น ๆ ที่อยู่ในขอบข่ายของการเสนอให้สินบน หรือการเรียกรับสินบน เสนอต่อเจ้าหน้าที่ที่มีอำนาจ รวมถึงการเสนอประโยชน์อื่นใดที่จะส่งผลกระทบต่อการเอื้อประโยชน์ต่อตนเองและผู้อื่น

2X2 = 4 (ต่ำ)

สำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดอ่างทองมุ่งเน้นมาตรการเชิงป้องกันโดยมีการจัดประชุมสร้างความเข้าใจในบทบาทหน้าที่ และการเป็นข้าราชการที่ดี ตามหลักจริยธรรม คุณธรรม และหลักธรรมาภิบาล และประเด็นการป้องกันการรับสินบนของเจ้าหน้าที่ ทั้งนี้สอดแทรกเนื้อหาอยู่ในการประชุมประจำเดือนของสำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดอ่างทอง

2

การจัดซื้อจัดจ้าง

สำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดอ่างทองมีแผนการจัดซื้อจัดจ้างก่อสร้างอาคารสำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดอ่างทอง พร้อมอาคารชุดพักอาศัยและสิ่งก่อสร้างประกอบ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ซึ่งเป็นงานจัดซื้อจ้างที่มีมูลค่าการก่อสร้างที่สูง ทำให้อาจมีการเสนอให้สินบนกับเจ้าหน้าที่ในคณะทำงานต่าง ๆ ในแต่ละกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการจัดซื้อจัดจ้าง

3X2

=6

 (ปานกลาง)

สำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดอ่างทองดำเนินการใช้มาตรการความเสี่ยงเชิงรับโดย มีการจัดประชุมซักซ้อมความเข้าใจที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง และเน้นย้ำหลักธรรมภิบาลในการปฏิบัติงานรวมถึงจริธยรรมของเจ้าหน้าที่สำนักงาน ป.ป.ช. กับการป้องกันการรับสินบน หรือประโยชน์อื่นใดที่อาจเอื้อประโยชน์ให้กับผู้รับจ้าง ทั้งนี้จัดให้ประเด็นดังกล่าวอยู่ในวาระการทุจริต

 

Related