Contrast
banner_default_2.jpg

สำนักบริหารงานกลาง มีหน้าที่และอำนาจ

จากไชต์: สำนักบริหารงานกลาง
จำนวนผู้เข้าชม: 86

11/05/2566

สำนักบริหารงานกลาง มีหน้าที่และอำนาจ ดังนี้

  1. งานเลขานุการของผู้บริหารสำนักงาน ป.ป.ช. และงานอำนวยการทั่วไป เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติหน้าที่ของผู้บริหารสำนักงาน ป.ป.ช.
  2. งานประชุมผู้บริหารของสำนักงาน ป.ป.ช. งานพิธีและรัฐพิธี รวมทั้งงานราชการทั่วไปของสำนักงาน ป.ป.ช. และงานราชการที่มิได้กำหนดเป็นหน้าที่ของส่วนราชการใดโดยเฉพาะ
  3. งานสารบรรณของสำนักงาน ป.ป.ช.
  4. ดำเนินการเกี่ยวกับการรับเรื่องกล่าวหา จัดทำสารบบและกำหนดเลขรับเรื่องกล่าวหาร้องเรียน รวมทั้งตรวจสอบและกำกับดูแลการลงทะเบียนข้อมูลเรื่องกล่าวหาร้องเรียนและการออกเลขรับเรื่องกล่าวหาของหน่วยงานในสังกัดสำนักงาน ป.ป.ช.
  5. ดำเนินการเกี่ยวกับการบริหารคดีของสำนักงาน ป.ป.ช.
  6. ตรวจสอบพิจารณาเรื่องกล่าวหาในเบื้องต้นและนำเสนอคณะกรรมการ ป.ป.ช.เพื่อพิจารณามอบหมายเรื่องให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ หรือส่วนราชการ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐดำเนินการ
  7. ดำเนินการติดตามหรือเร่งรัด การรายงานผลการดำเนินการของหน่วยงานของรัฐที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. มอบหมาย ตามมาตรา 5 และมาตรา 136 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 ที่อยู่ในความรับผิดชอบของสำนักไต่สวนการทุจริตในส่วนกลางของสำนักงาน ป.ป.ช. และพิจารณาให้ความเห็นเกี่ยวกับรายงานผลการดำเนินการของหน่วยงานของรัฐ เพื่อประกอบการพิจารณาของคณะกรรมการ ป.ป.ช.
  8. ดำเนินการตามมติหรือข้อสั่งการของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ตามมาตรา 66 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 เว้นแต่กรณีเรียกสำนวนการไต่สวนหรือสอบสวนมาเพื่อดำเนินการ ให้ส่งมอบหน่วยงานที่รับผิดชอบในส่วนกลางสำนักงาน ป.ป.ช. ดำเนินการ
  9. รวบรวม จัดเก็บ และประมวลข้อมูล เพื่อบริหารจัดการงานติดตามหรือเร่งรัตการรายงานผลการดำเนินการของหน่วยงานของรัฐที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. มอบหมายให้ดำเนินการ
  10. รับเรื่องกล่าวหาร้องเรียนที่เป็นบัตรสนเท่ห์ที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของส่วนกลางและส่งเรื่องให้หน่วยงานที่รับผิดชอบตำเนินการต่อไป
  11. ตรวจสอบประวัติชองบุคคลที่ถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดตามที่อยู่ในหน้าที่และอำนาจของคณะกรรมการ ป.ป.ช.
  12. รับเรื่องจากหน่วยงานราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจหรือราชการส่วนท้องถิ่น หรือเจ้าพนักงานของรัฐหรือภาคเอกชนที่ขอคำเสนอแนะหรือคำปรึกษาเกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและหรือส่งต่อไปยังหน่วยงานที่รับผิดชอบเพื่อตำเนินการตามที่มีการร้องขอ รวมทั้งรวบรวมคำร้องขอและผลการดำเนินการเพื่อเป็นหลักฐานต่อไป
  13. เป็นศูนย์กลางข้อมูลของสำนักงาน ป.ป.ช. โดยเฉพาะข้อมูลต้านการบริหารคดีรวบรวมและจัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบ รวมทั้งประมวลและบูรณาการข้อมูลในภาพรวม ศึกษาวิเคราะห์และจัดทำเป็นรายงานข้อมูลเชิงสถิติสถานการณ์การทุจริตในปัจจุบันและแนวโน้มในอนาคต ซึ่งจะใช้ประกอบการตัดสินใจทางการบริหารและรองรับต่อการประสานข้อมูลจากหน่วยงานภายนอก
  14. งานเลขานุการคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของคณะกรรมการ ป.ป.ช. และสำนักงาน ป.ป.ช.
  15. ศึกษา วิเคราะห์ ประเมินผล และพัฒนาระบบงานปราบปรามการทุจริต รวมทั้งกระบวนการตรวจรับคำกล่าวหาที่อยู่ในหน้าที่และอำนาจของคณะกรรมการ ป.ป.ช.
  16. ประสานงานและปฏิบัติงานอื่นตามที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. หรือสำนักงาน ป.ป.ช. มอบหมาย ตลอดจนสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง

 

 

Related