Contrast
21a14663331af429cf1db98346ab89da.png

สำนักพัฒนาและส่งเสริมธรรมาภิบาลจัดกิจกรรมการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นการดำเนินการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ระหว่างสำนักงาน ป.ป.ช. และหอการค้าร่วมต่างประเทศในประเทศไทย

จากไชต์: สำนักพัฒนาและส่งเสริมธรรมาภิบาล
จำนวนผู้เข้าชม: 66

02/06/2567

สำนักพัฒนาและส่งเสริมธรรมาภิบาลจัดกิจกรรมการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นการดำเนินการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ระหว่างสำนักงาน ป.ป.ช. และหอการค้าร่วมต่างประเทศในประเทศไทย

 

วันศุกร์ที่ 24 พฤษภาคม 2567 สำนักงาน ป.ป.ช. โดยสำนักพัฒนาและส่งเสริมธรรมาภิบาล ได้จัดกิจกรรมการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นการดำเนินการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ระหว่างสำนักงาน ป.ป.ช. และหอการค้าร่วมต่างประเทศในประเทศไทย ณ ห้องเลอโลตัส 1 ชั้น 2 โรงแรมสวิสโซเทล กรุงเทพ รัชดา กรุงเทพมหานคร เพื่อเป็นการประสานความร่วมมือในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาคธุรกิจเอกชนต่างประเทศที่ประกอบธุรกิจในประเทศไทย รวมทั้งร่วมกันแสดงความคิดเห็นหรือสะท้อนมุมมองปัญหาการทุจริตของประเทศ กรณีการเรียกรับสินบนของเจ้าหน้าที่รัฐ และข้อเสนอแนะหรือแนวทางในการแก้ไขปัญหาต่อสำนักงาน ป.ป.ช. ในฐานะที่เป็นหน่วยงานหลักในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต
ทั้งนี้ มีการอภิปรายในหัวข้อ “การดำเนินการและความพยายามในการแก้ไขปัญหาการทุจริตในภาคเอกชน” และหัวข้อ “การมีส่วนร่วมของภาคเอกชนไทยการป้องกันการทุจริตโดยมีผู้ร่วมอภิปราย ดังนี้
 
1. นายนิติพันธุ์ ประจวบเหมาะ รองเลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช.
2. Mrs. Vibeke Lyssand Leirvag ประธานหอการค้าร่วมต่างประเทศในประเทศไทย
3. ดร.กุลภัทรา สิโรดม ประธานกรรมการสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย
4. รองศาสตราจารย์ ดร.เสาวณีย์ ไทยรุ่งโรจน์ กรรมการองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน
5. นางสาวฉันท์ชนก เจนณรงค์ นักวิจัยสังคมศาสตร์ชำนาญการ สำนักงาน ป.ป.ช. (ผู้ดำเนินการอภิปราย)
 
​โดยมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมประกอบด้วย สมาชิกหอการค้าร่วมต่างประเทศในประเทศไทย ผู้แทนสถานทูตต่างประเทศประจำประเทศไทย ผู้แทนหน่วยงานภาครัฐ และผู้แทนภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง รวมจำนวน 100 คน
​ทั้งนี้ สำนักงาน ป.ป.ช. ได้มีการประสานความร่วมมือกับหอการค้าร่วมต่างประเทศในประเทศไทยมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อร่วมกันผลักดันและส่งเสริมให้ผู้ประกอบการในภาคธุรกิจมีมาตรการควบคุมภายในที่เหมาะสมในการป้องกันการติดสินบน เพื่อยกระดับความสามารถในการแข่งขันทางการค้า และส่งเสริมภาพลักษณ์ของประเทศด้านการต่อต้านการทุจริต ซึ่งจะส่งผลต่อการยกระดับคะแนนดัชนีการรับรู้การทุจริต (Corruption Perceptions Index : CPI) ของประเทศไทยให้สูงขึ้น และสร้างความเชื่อมั่นให้กับ นักลงทุนชาวต่างชาติในการตัดสินใจเข้ามาลงทุนในประเทศไทยต่อไป
 
 

Related