Contrast
banner_default_3.jpg

ป.ป.ช. ลำปาง จัดกิจกรรมถอดบทเรียนการขับเคลื่อนหลักสูตรต้านทุจริตศึกษาในระดับพื้นที่

จากไชต์: สำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดลำปาง
จำนวนผู้เข้าชม: 40

23/01/2568
วันพุธที่ 22 มกราคม 2568 สำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดลำปาง จัดกิจกรรมถอดบทเรียนการขับเคลื่อนหลักสูตรต้านทุจริตศึกษาในระดับพื้นที่ ภายใต้โครงการขับเคลื่อนหลักสูตรต้านทุจริตศึกษา และประเมินพฤติกรรมเด็กและเยาวชน ณ โรงแรมเวียงลคอร อำเภอเมืองลำปาง โดยมีนายเปรมจิต แจ่มใสดี ผู้อำนวยการสำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดลำปาง เป็นประธานในพิธีเปิด ซึ่งได้รับการสนับสนุนวิทยากร จากโรงเรียนแม่ทะพัฒนศึกษา และสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดลำปาง โดยมี
(1) ประเด็นหรือเรื่องในการมีส่วนร่วม : ร่วมกันกำหนด “แนวปฏิบัติที่ดีในการขับเคลื่อนหลักสูตรต้านทุจริตศึกษา (Best Practice)” ขับเคลื่อนหลักสูตรต้านทุจริตศึกษาระหว่างสถานศึกษาในพื้นที่ จังหวัดลำปาง ปีงบประมาณ 2568
(2) สรุปข้อมูลของผู้มีส่วนร่วม บุคคลากรทางการศึกษาในพื้นที่จังหวัดลำปาง ได้แก่ ครู และบุคลากรทางการศึกษา ในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน สำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้ และสถานศึกษาในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมจำนวน 60 คน
(3) ผลจากการมีส่วนร่วม : ผู้เข้าร่วมการประชุม ได้กำหนดแนวปฏิบัติที่ดีในการขับเคลื่อนหลักสูตรต้านทุจริตศึกษา (Best Practice) ขับเคลื่อนหลักสูตรต้านทุจริตศึกษาระหว่างสถานศึกษาในพื้นที่ จังหวัดลำปาง ปีงบประมาณ 2568 ดังนี้
  1. สร้างความรู้ความเข้าใจในการขับเคลื่อนหลักสูตรต้านทุจริตศึกษาให้แก่ผู้เกี่ยวข้อง เช่น ผู้บริหารสถานศึกษา ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครอง
  2. ผู้บริหารสถานศึกษา ให้ความสำคัญในการขับเคลื่อนหลักสูตรต้านทุจริตศึกษา
  3. จัดทำ MOU ระหว่างสถานศึกษากับหน่วยงานต้นสังกัด (เปิดเป็นรายวิชาเพิ่มเติม)
  4. การพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา โดย จัดอบรมเชิงปฏิบัติการให้ครูมีความรู้ความเข้าใจในการจัดการเรียนการสอน (ครูวิทยากรตัวคูณ)
  5. จัดการเรียนการสอนตามแผนจัดการเรียนรู้
  6. การนิเทศ ติดตามและประเมินผล การใช้หลักสูตรต้านทุจริตของสถานศึกษาอย่างต่อเนื่อง และเป็นระบบ กำหนดเครื่องมือและวิธีการประเมินผลที่เหมาะสม ติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงานอย่างสม่ำเสมอ
    และนำผลการประเมินมาปรับปรุงและพัฒนาการดำเนินงาน
  7. สร้างแรงจูงใจในการดำเนินการขับเคลื่อนหลักสูตรต้านทุจริต
  8. สร้างแกนนำ/สร้างเครือข่ายในการขับเคลื่อน เพื่อประสานความร่วมมือในการขับเคลื่อนหลักสูตรต้านทุจริตศึกษาระหว่างสถานศึกษา และพัฒนาไปถึงการขยายเครือข่ายไปทุกสถานศึกษา
  9. ส่งเสริมให้ใช้ระบบแพลตฟอร์มต้านทุจริตศึกษา (Anti-Corruption Education Platform)

นอกจากนี้ยังมีการสะท้อนปัญหาอุปสรรค และ ข้อเสนอแนะ การขับเคลื่อนหลักสูตรต้านทุจริตศึกษาจากครูผู้สอน ดังนี้

ปัญหา อุปสรรค

  1. ครู และบุคลากรผู้สอนขาดความรู้ ความเข้าใจในการนำเนื้อหาหลักสูตรต้านทุจริตศึกษาไปใช้ให้เกิดเป็นรูปธรรม (ไม่ผ่านการอบรม)
  2. หน่วยงานต้นสังกัดควรจัดสรรงบประมาณสนับสนุนกิจกรรมต่าง ๆ
  3. ใบงานไม่น่าสนใจ ไม่เหมาะกับช่วงวัยของเด็ก และสื่อการเรียนรู้ไม่ทันสมัย

ข้อเสนอแนะ

  1. การพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา โดย จัดอบรมเชิงปฏิบัติการให้ครูมีความรู้ความเข้าใจในการจัดการเรียนการสอน (ครูวิทยากรตัวคูณ) รูปแบบ Onsite หรือ online
  2. พัฒนาเนื้อหาหลักสูตรและสื่อประกอบการเรียนการสอนให้ตรงกับช่วงวัยของผู้เรียนและทันกับสถานการณ์ปัจจุบัน
  3. มีการวัดและประเมินผลที่เป็น แนวทางเดียวกัน (ข้อสอบกลาง)
  4. ให้ครูผู้สอนได้มีโอกาสแลกเปลี่ยน เรียนรู้เกี่ยวกับผลสำเร็จ หรือปัญหาที่เกิดจากการเรียนการสอน

Related