ข้อเสนอแนะแนวทางบูรณาการขับเคลื่อนการป้องกันความเสี่ยงต่อการทุจริต
เชิงนโยบายในขั้นตอนการนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติ
(มติคณะกรรมการ ป.ป.ช. ครั้งที่ 63/2565 เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2565)
ความเป็นมา/ข้อเท็จจริง
คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2562 รับทราบเกณฑ์ชี้วัดความเสี่ยงต่อการทุจริตเชิงนโยบายและคู่มือการใช้เกณฑ์ชี้วัดความเสี่ยงต่อการทุจริตเชิงนโยบาย ตามที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. เสนอ โดยมอบหมายสำนักงาน ป.ป.ท. เป็นหน่วยงานหลักร่วมกับสำนักงาน ก.พ.ร. กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องพิจารณาการกำหนดเกณฑ์ชี้วัดความเสี่ยงต่อการทุจริตเชิงนโยบายให้มีความเหมาะสมหรือสอดคล้องกับหลักเกณฑ์หรือแนวทางการประเมินอื่น ๆ ที่มีอยู่แล้ว เพื่อให้สามารถนำเกณฑ์ดังกล่าวไปสู่การปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรม คุ้มค่า และเป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ โดยไม่เป็นการสร้างภาระหรืองบประมาณให้กับภาครัฐ
สำนักงาน ป.ป.ช. ได้จัดทำข้อเสนอแนะแนวทางบูรณาการขับเคลื่อนการป้องกันความเสี่ยงต่อการทุจริตเชิงนโยบายในขั้นตอนการนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติ เพื่อให้การดำเนินการตามเกณฑ์
ชี้วัดความเสี่ยงต่อการทุจริตฯ ดังกล่าวเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
ข้อเสนอแนะ
-> ข้อเสนอแนะต่อคณะกรรมการการตรวจเงินแผ่นดิน
โดยให้สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินร่วมบูรณาการในส่วนของขั้นการดำเนินการโครงการ (Project Implementation Stage) โดยทำหน้าที่การตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณก่อนการจ่าย (Pre-Audit) เพื่อเป็นการตรวจสอบในเชิงรุกหรือการตรวจสอบเชิงป้องปราม และร่วมบูรณาการในส่วนของขั้นการสรุปผลหลังการดำเนินโครงการ (Project Evaluation Stage) โดยทำหน้าที่ร่วมกันประเมินผลการบริหารจัดการความเสี่ยงต่อการทุจริตและประเมินผลการใช้จ่ายงบประมาณในแง่ของประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และผลลัพธ์ที่ได้จากการดำเนินโครงการ และ
-> ข้อเสนอแนะต่อคณะรัฐมนตรี
เพื่อให้พิจารณามอบหมายสำนักงบประมาณ กรมบัญชีกลาง สำนักงาน ป.ป.ท. และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ โดยให้ศึกษาข้อมูลแนวทางการบูรณาการป้องกันความเสี่ยงต่อการทุจริตเชิงนโยบาย ในขั้นตอนการนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติ และดำเนินการตามหน้าที่และอำนาจของหน่วยงานเพื่อขับเคลื่อนแนวทางการป้องกันการทุจริตเชิงนโยบายในขั้นตอนการนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด เพื่อให้เกิดผลในการป้องกันการทุจริตที่อาจเกิดขึ้นในกระบวนการทางนโยบายบริหารราชการแผ่นดินและการนำนโยบายลงสู่การปฏิบัติ ผ่านแผนงานหรือโครงการในการบริหารราชการแผ่นดินต่อไป
ข้อเสนอแนะการขึ้นทะเบียนที่ปรึกษาให้แก่องค์กรของรัฐ และการประเมินผลการปฏิบัติงานของที่ปรึกษาอิสระและที่ปรึกษานิติบุคคล ที่มาและความสำคัญ ตามที่ คณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้พิจารณาเรื่องร้องเรียนการดำเนินการจัดจ้างบริษัทที่ปรึกษาโครงกา...
ข้อเสนอแนะเพื่อป้องกันการทุจริตในการจัดงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กรณีศึกษา การจัดงานประเพณี ที่มาและความสำคัญ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีหน้าที่ และอำนาจในการดูแลจัดทำบริการสาธารณะและกิจกรรมสาธารณะเพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่น รวมถึ...
“สำนักงาน ป.ป.ช. ร่วมประชุมหารือกับกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช” วันที่ 13 มีนาคม 2568 สำนักงาน ป.ป.ช. โดยสำนักมาตรการเชิงรุกและนวัตกรรมและสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ หารือร่วมกับกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ณ ห้...
การประชุมสำนักมาตรการเชิงรุกและนวัตกรรม วันที่ ๑๐ ตุลาคม ๒๕๖๗ ณ ห้องประชุมสถาบันการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ สัญญา ธรรมศักดิ์ อาคาร ๖ ชั้น ๒ สำนักงาน ป.ป.ช. เริ่มประชุมเวลา ...
ประชาสัมพันธ์ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูย ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2568 (ประเด็นการป้องกันการฟ้องคดีปิดปาก (Anti-SLAPP Law)) ---- รายละเอียดเพิ่มเติม---- https://www.nacc.go.th/.../2018083118464317/20250606091727? &n...
ขอประชาสัมพันธ์ผลสำเร็จ/การถอดบทเรียนจากการดำเนินงานตามแผนส่งเสริมคุณธรรมของสำนักมาตรการเชิงรุกและนวัตกรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 รายละเอียดสื่อเพิ่มเติมสามารถดูได้ที่นี่
สำนักมาตรการเชิงรุกและนวัตกรรม ขอแสดงความยินดีกับ หน่วยงาน/บุคคล ที่ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นผู้ที่มีคุณธรรมและทำความดีจนเป็นแบบอย่างได้