ข้อเสนอแนะ ประเด็นการจัดสรรคลื่นความถี่สำหรับให้บริการกระจายเสียง
ของสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (สำนักงาน กสทช.)
(มติคณะกรรมการ ป.ป.ช. ครั้งที่ 65/2565 เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2565)
สภาพปัญหาและข้อเท็จจริง
สำนักงาน ป.ป.ช. ได้ดำเนินการศึกษาเกี่ยวกับประเด็นการจัดสรรคลื่นความถี่สำหรับให้บริการกระจายเสียง ของสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (สำนักงาน กสทช.) พบว่า พระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา ๔๔/๑ กำหนดให้ผู้ได้รับใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่เพื่อประกอบกิจการกระจายเสียง ให้บุคคลอื่นเช่าเวลาดำเนินรายการบางช่วงเวลาสำหรับการประกอบกิจการ กระจายเสียงหรือกิจการโทรทัศน์ได้ และประกาศคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์การแบ่งเวลาให้ผู้อื่นดำเนินรายการ พ.ศ. ๒๕๕๖ ข้อ 5 กำหนดให้บุคคลอื่นเช่าเวลาดำเนินรายการบางช่วงเวลาสำหรับการประกอบกิจการกระจายเสียงหรือกิจการโทรทัศน์ได้ นั้น อาจส่งผลให้เอกชนบางรายได้รับประโยชน์และไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายจากการประมูล รวมถึงการลงทุน โดยการดำเนินการดังกล่าว อาจก่อให้รัฐสูญเสียโอกาสที่จะได้รับรายได้จากการประมูลคลื่นความถี่ และอาจจะเป็นการกีดกันผู้ประกอบการรายใหม่ที่จะเข้ามาแข่งขันในอุตสาหกรรมวิทยุกระจายเสียง ประกอบกับ การจัดสรรคลื่นความถี่ให้กับหน่วยงานราชการและรัฐวิสาหกิจ และการจัดทำประกาศหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ที่มีผลกระทบในวงกว้าง ผู้มีส่วนได้เสียอาจจะยังไม่มีความเข้าใจในหลักการและเหตุผล หรือกระบวนการดำเนินงานของสำนักงาน กสทช. ซึ่งอาจจะเกิดกรณีร้องเรียนเรื่องดังกล่าวในอนาคต
ข้อเสนอแนะ (โดนสรุป)
คณะกรรมการ ป.ป.ช. ในการประชุมครั้งที่ 69/2565 เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2565 มีมติเห็นชอบให้มีหนังสือประสานไปยัง สำนักงาน กสทช. เพื่อให้รับทราบถึงปัญหาและพิจารณาดำเนินการตามข้อเสนอแนะ ดังนี้
1. พิจารณาเพิ่มช่องทางการสื่อสารและประชาสัมพันธ์ในเชิงรุกเกี่ยวกับเรื่องที่มีผลกระทบสำคัญกับผู้มีส่วนได้เสียทุกขั้นตอนของการดำเนินงาน เพื่อให้ผู้มีส่วนได้เสียได้รับทราบการดำเนินงานในขั้นตอนต่าง ๆ และนำไปปรับใช้ในส่วนที่เกี่ยวข้อง
2. พิจารณาการพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง เกี่ยวกับการเขียนข้อเสนอโครงการให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของกองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม เพื่อส่งเสริมให้ผู้ประกอบการสามารถเข้าถึงแหล่งทุนของกองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม
3. พิจารณาให้มีการศึกษากรณีหน่วยงานของรัฐที่ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการประเภทบริการสาธารณะแบ่งเวลาให้ผู้อื่นดําเนินรายการ โดยเปรียบเทียบข้อดี ข้อเสีย ประโยชน์ที่จะได้รับ ปัญหาและผลกระทบ รวมถึงช่องว่างที่อาจก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมต่อผู้ประกอบการรายใหม่ หรือผู้ประกอบกิจการธุรกิจ โดยยึดหลักความเท่าเทียมและหลักการแข่งขันอย่างเป็นธรรม ต่อไป
ข้อเสนอแนะการขึ้นทะเบียนที่ปรึกษาให้แก่องค์กรของรัฐ และการประเมินผลการปฏิบัติงานของที่ปรึกษาอิสระและที่ปรึกษานิติบุคคล ที่มาและความสำคัญ ตามที่ คณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้พิจารณาเรื่องร้องเรียนการดำเนินการจัดจ้างบริษัทที่ปรึกษาโครงกา...
ข้อเสนอแนะเพื่อป้องกันการทุจริตในการจัดงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กรณีศึกษา การจัดงานประเพณี ที่มาและความสำคัญ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีหน้าที่ และอำนาจในการดูแลจัดทำบริการสาธารณะและกิจกรรมสาธารณะเพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่น รวมถึ...
“สำนักงาน ป.ป.ช. ร่วมประชุมหารือกับกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช” วันที่ 13 มีนาคม 2568 สำนักงาน ป.ป.ช. โดยสำนักมาตรการเชิงรุกและนวัตกรรมและสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ หารือร่วมกับกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ณ ห้...
การประชุมสำนักมาตรการเชิงรุกและนวัตกรรม วันที่ ๑๐ ตุลาคม ๒๕๖๗ ณ ห้องประชุมสถาบันการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ สัญญา ธรรมศักดิ์ อาคาร ๖ ชั้น ๒ สำนักงาน ป.ป.ช. เริ่มประชุมเวลา ...
ประชาสัมพันธ์ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูย ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2568 (ประเด็นการป้องกันการฟ้องคดีปิดปาก (Anti-SLAPP Law)) ---- รายละเอียดเพิ่มเติม---- https://www.nacc.go.th/.../2018083118464317/20250606091727? &n...
ขอประชาสัมพันธ์ผลสำเร็จ/การถอดบทเรียนจากการดำเนินงานตามแผนส่งเสริมคุณธรรมของสำนักมาตรการเชิงรุกและนวัตกรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 รายละเอียดสื่อเพิ่มเติมสามารถดูได้ที่นี่
สำนักมาตรการเชิงรุกและนวัตกรรม ขอแสดงความยินดีกับ หน่วยงาน/บุคคล ที่ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นผู้ที่มีคุณธรรมและทำความดีจนเป็นแบบอย่างได้