Contrast
banner_default_3.jpg

ความคิดเห็นของบุคลากรต่อการปฏิบัติราชการตามเกณฑ์ธรรมาภิบาล

จากไชต์: วารสารวิชาการ
จำนวนผู้เข้าชม: 280

29/05/2567

ความคิดเห็นของบุคลากรต่อการปฏิบัติราชการตามเกณฑ์ธรรมาภิบาล

วัลลีรัตน์ พบคีรี
มหาวิทยาลัยมหิดล

อภิชิต สถาวรวิวัฒน์
โรงพยาบาลเชียงกลาง น่าน

ประสงค์ กิติดำรงสุข
มหาวิทยาลัยมหิดล

สุทธิสา จันทร์เพ็ง
สถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง กรมควบคุมโรค


คำสำคัญ: ธรรมาภิบาล  ภาครัฐ  ความสุข  โรงพยาบาลชุมชน

PDF ดาวน์โหลด

 

บทคัดย่อ         
           การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับธรรมาภิบาลของโรงพยาบาลชุมชนและระดับความสุขของบุคลากรโรงพยาบาลชุมชนแห่งหนึ่งทางภาคเหนือ และเพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างธรรมาภิบาลทั้ง 7 ด้านและ ความสุขของบุคลากร กลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากรในโรงพยาบาลทั้งหมดที่มีอายุงานตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไปมีจำนวนทั้งสิ้น 122 คน ผู้วิจัยแจกแบบสอบถามทางอิเล็กทรอนิกส์โดยให้ตอบด้วยตนเอง แบบสอบถามมีทั้งหมด 3 ส่วน รวมจำนวน 46 ข้อ วัดความตรงเชิงเนื้อหาและความเชื่อมั่น ของเครื่องมือโดยใช้วิธีหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟา (Cronbach’s Alpha Coefficient) ได้ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามธรรมาภิบาล และแบบสอบถามความสุข ในการทำงานเท่ากับ 0.911 และ 0.775 ตามลำดับ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา หาค่าเฉลี่ย ร้อยละ และ สถิติเชิงอนุมาน เพื่อหาค่าความสัมพันธ์ระหว่างธรรมาภิบาลและความสุขโดยใช้สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบ สเปียร์แมน ผลการศึกษาพบว่า มีผู้ตอบแบบสอบถามทั้งสิ้น 90 คนคิดเป็นร้อยละ 73.8 ธรรมาภิบาลรวมมีค่าเฉลี่ย อยู่ในระดับสูง (x̅ = 3.67; 91.8%, S.D.= 6.39) เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า ข้อคำถามที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด ได้แก่ ข้อ 3. โรงพยาบาลปฏิบัติราชการโดยยึดหลักการรักษาความสงบ และความปลอดภัยของชุมชนและสังคม (x̅ = 3.84; 96%, S.D.= 0.37) ความสุขของบุคลากรในโรงพยาบาลรวมโดยเฉลี่ยอยู่ในระดับมีความสุข (x̅= 71 %, S.D. = 0.90) ตามเป้าประสงค์ของกระทรวงสาธารณสุข และเมื่อพิจารณารายมิติพบว่า มิติที่มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมีความสุขมาก (Very Happy) มีจำนวน 2 มิติ คือ มิติที่ 5 ครอบครัวดี ซึ่งมีค่าเฉลี่ยคะแนนความสุขสูงสุด (x̅= 87%, S.D. = 0.67) รองลงมา คือ มิติที่ 3 น้ าใจดี (x̅ = 78%, S.D. = 0.62) เมื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างธรรมาภิบาลรายด้าน ทั้ง 7 ด้านกับความสุข ในการทำงาน พบว่า ธรรมาภิบาลมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความสุขอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในมิติที่ 9 การงานดี เพียงมิติเดียว มิติอื่น ๆ ของความสุขไม่พบความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับธรรมาภิบาล ดังนั้น การมีการบริหาร กิจการบ้านเมืองที่ดีในองค์กรจะทำให้บุคลากรมีความสุข โดยเฉพาะความสุขในการทำงานในองค์กรนี้

เอกสารอ้างอิง (References)


ฉันธะ จันทะเสนา. (2559). อิทธิพลของธรรมาภิบาลต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การของพนักงาน มหาวิทยาลัยราชภัฏ วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยธนบุรี. 10(21), 92-103.


ชนิดา ทองมณโฑ, สุวิทย์ ธนียวัน. (2555). ความเป็นธรรมาภิบาลของโรงพยาบาลเอกชนในปริมณฑลของ กรุงเทพมหานคร. วารสารบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร. 2(2), 327-33.


นโยบายการกำกับดูแลองค์การที่ดี. (2560). ประกาศนโยบายการกำกับดูแลองค์การที่ดีสำนักงานปลัดกระทรวง สาธารณสุขประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560. สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข.


นันธิดา จันทร์ศิริ. (2557). บทวิจารณ์หนังสือธรรมาภิบาล (การบริหารจัดการที่ดี) ในรูปแบบประชาธิปไตย. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 6(1), 220-8.


บุญชัย ธีระกาญจน์. (2559). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงและธรรมาภิบาลที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสำนักงานสาธารณสุขอำเภอ: กรณีศึกษาเขตสุขภาพที่ 3 วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข. 10(1), 80-91.


ประกาศสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2552). นโยบายการกำกับดูแลองค์การที่ดีสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข. สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข.


ประสพชัย พสุนนท์, ชื่นกมล วัฒนาวงศ์. (2557). การจัดการด้านธรรมาภิบาลต่อขวัญและกำลังใจของพนักงานกรณีศึกษาการไฟฟ้าส่วนภุมิภาคเขต 3 (ภาคกลาง) จังหวัดนครปฐม. วารสารวิชาการราชภัฏตะวันตก. 8(2), 69-78.


แผนงานสุขภาวะองค์กรภาคเอกชน สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.). (2554). งานได้ผลคนเป็นสุข. Healthy Organization, Healthy Productivity. กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์ตะวันออก.


พรชัย ตีไพศาลสกุล. ยุทธศาสตร์การพัฒนาโรงพยาบาลเอกชนสู่ความเป็นบรรษัทภิบาล. (2558). Veridian E-Journal, Silpakorn University สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์และศิลปะ. 8(3), 229-48.


พรรณพิมล วิปุลากร. (2561). กระทรวงแห่งความสุข Happy MOPH. กระทรวงสาธารณสุข


พระมหาธนภัทร อภิชาโน. หลักธรรมาภิบาลกับการเมืองในสังคมไทย. (2564). วารสารสิรินธรปริทรรศน 22 (1), 374-386.


พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546. (2546). ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 120 (ลงวันที่ 9 ตุลาคม 2546).


พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541. (2541). ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 115 ตอนที่ 8 ก (ลงวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2541).


พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545. (2545). ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 119 ตอนที่ 99 ก (ลงวันที่ 2 ตุลาคม 2545).


มานวิภา อินทรทัต, อาจยุทธ เนติธนากูล. (2551). ทบทวนวรรณกรรมธรรมาภิบาลในระบบสุขภาพ. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข. 2(3), 443-9.


ยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี ด้านสาธารณสุข. (2560). [อินเทอร์เน็ต]. สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข สืบค้นเมื่อ 15เมษายน 2561, จาก http://bps.moph.go.th/new_bps/sites/default/files/strategymoph61_v10.pdf.


ยุพาวรรณ ทองตะนุนาม, ดวงเนตร ธรรมกุล, อัจศรา ประเสริฐสิน, จริยา ชื่นศิริมงคล, ศิริพร ครุฑกาศ. (2558). ปัจจัยพัฒนาองค์กรแห่งความสุข (ภาครัฐ): การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ. 9(1), 52-62.


รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย, (2550). ราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 124 ตอนที่ 47ก (ลงวันที่ 24 สิงหาคม 2550).


           
. (2560). ราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 134 ตอนที่ 40 ก (ลงวันที่ 6เมษายน 2560).


วิทยา พลาอาด, นภดล ละอองวิจิตร. (2561). ปัจจัยทำนายความสุขในการทำงานของบุคลากรสาธารณสุขในจังหวัดสตูล. วารสารวิจัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น (ฉบับบัณฑิตศึกษา). 6(3), 20-28.


วิทยากร เชียงกูล. (2549). แนวทางปราบคอร์รัปชั่นอย่างได้ผล: เปรียบเทียบไทยกับประเทศอื่น: สายธาร กรุงเทพ.


สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2561). การสำรวจความสุขคนทำงาน (ในองค์กร) เอกสารข่าวประชาสัมพันธ์.


สุกัญญา มีสามเสน, วรุณี เชาวน์สุขุม, บุญเชิด ภิญโญอนันตพงษ์. (2556). คุณภาพการบริการของโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดปทุมธานี. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.7(1), 35-48.

Related