Contrast
55a30569e5e9d4090e424e9ef5690f78.png

ป.ป.ช. พังงา จัดกิจกรรมประชุมเชิงปฏิบัติการปักหมุดแผนที่พื้นที่เสี่ยงต่อการทุจริตในพื้นที่จังหวัด โครงการปักหมุดพื้นที่เสี่ยงต่อการทุจริต ครั้งที่ 2 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568

จากไชต์: สำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดพังงา
จำนวนผู้เข้าชม: 174

14/03/2568
         เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2568 นางสาวศุภาลักษณ์ จิรักษา ผู้อำนวยการสำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดพังงา มอบหมายให้เจ้าหน้าที่ภารกิจป้องกันการทุจริต ดำเนินโครงการปักหมุดพื้นที่เสี่ยงต่อการทุจริต กิจกรรมประชุมเชิงปฏิบัติการปักหมุดแผนที่พื้นที่เสี่ยงต่อการทุจริตในพื้นที่จังหวัด ครั้งที่ 2
         โครงการปักหมุดพื้นที่เสี่ยงต่อการทุจริตเป็นโครงการที่เริ่มต้นเมื่อปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 จนถึงปัจจุบันเข้าสู่ปีที่ 5 โดยจุดเริ่มต้นของโครงการนี้เป็นการต่อยอดและยกระดับการต่อต้านการทุจริต ภายหลังจากมีการพัฒนาเครือข่ายในทุกภาคส่วนในการต่อต้านการทุจริตอย่างเป็นระบบทั่วประเทศ เช่น เครือข่ายชมรม STRONG เป็นต้น ส่งผลให้เกิดข้อมูลเบาะแส ข่าวสาร จำนวนมากที่ทั้งมีการบันทึกไว้อย่างเป็นทางการรวมถึงข้อมูลที่อาจจะยังไม่ได้ถูกเรียบเรียงอย่างเป็นระบบแต่มีการจับตามองในพื้นที่โดยเครือข่ายภาคประชาชนร่วมกับสำนักงาน ป.ป.ช. ทั่วประเทศ จึงเป็นที่มาของโครงการนี้ที่เป็นโครงการกลางน้ำที่รวบรวมข้อมูลความเสี่ยงการทุจริตจากต้นน้ำไปสู่การแก้ไขป้องกันด้วย
           โดยมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมเป็นกลุ่มเป้าหมายประกอบด้วยคณะกรรมการชมรม STRONG - จิตพอเพียงต้านทุจริตจังหวัดพังงา เครือข่ายภาคประชาชนในเขตพื้นที่อำเภอคุระบุรี อำเภอกะปง อำเภอตะกั่วป่าและใกล้เคียง จำนวน 85 คน
            โดยในการจัดกิจกรรมฯ ได้รับเกียรติจากนายทวีศักดิ์ เหลาทอง ประธานชมรม STRONG-จิตพอเพียงต้านทุจริตจังหวัดพังงา บรรยายในหัวข้อ "บรรยายประเด็นความเสี่ยงการทุจริตในพื้นที่จังหวัดพังงา ซึ่งเคยดำเนินการปักหมุดความเสี่ยงมาในระดับพื้นที่" และ นายสุชาติ วิมาน รองประธานชม STRONG-จิตพอเพียงต้านทุจริต จังหวัดพังงา นายไพโรจน์ หมัดเต๊ะ คณะกรรมการชม STRONG-จิตพอเพียงต้านทุจริต จังหวัดพังงา ร่วมเป็นวิทยากรประชุมกลุ่ม
           ในการระดมความคิดเห็นประเด็นความเสี่ยงการทุจริตในพื้นที่ระดับอำเภอ ผู้เข้าร่วมกิจกรรมเสนอประเด็นพื้นที่เสี่ยงดังนี้ 
           1. มาตรการป้องกันการทุจริตเกี่ยวกับการบริหารจัดการอุทยานแห่งชาติ ณ ที่ทำการอุทยานแห่งชาติ หมู่เกาะสุรินทร์
           2. การป้องกันการทุจริตเกี่ยวกับรถบรรทุกนำหนักเกิน ณ สถานีตรวจสอบน้ำหนักขาเข้าคุระบุรี อ.คุระบุรี
           3. โครงการเจาะบ่อบาดาลในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลบางวัน อำเภอคุระบุรี 
           4. โครงการก่อสร้างระบบผลิตประปา (Water treatment) POG TANK ณ พื้นที่ดำเนินโครงการองค์การบริหารส่วนตำบลบางนายสี
           5. โครงการก่อสร้างศูนย์กลางการท่องเที่ยวและนันทนาการชายฝั่งแห่งเมืองพังงา (The Park Khaolak) 
           สรุปจากการระดมความคิดเห็นเครือข่ายในพื้นที่ให้มีการปักหมุดพื้นที่เสี่ยงต่อการทุจริตทั้ง 5 ประเด็น/โครงการ และเมื่อมีการลงพื้นที่ตรวจสอบหรือติดตามขอให้เครือข่ายที่อยู่ในพื้นที่ร่วมกับเจ้าหน้าที่สำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดพังงาลงพื้นที่ด้วย

Related