Contrast
6d5b30fde3e6217c8ab9331078875e18.png

อำนาจและหน้าที่ของสำนักกิจการคณะกรรมการ ป.ป.ช.

จากไชต์: สำนักกิจการคณะกรรมการ ป.ป.ช.
จำนวนผู้เข้าชม: 194

31/03/2568
สำนักกิจการคณะกรรมการ ป.ป.ช.
เป็นส่วนราชการภายในหน่วยงานที่ขึ้นตรงเลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. มีหน้าที่ และอำนาจ ดังนี้
 
(๑) ดำเนินการเกี่ยวกับงานช่วยอำนวยการและงานเลขานุการของประธานกรรมการ ป.ป.ช.และกรรมการ ป.ป.ช.

(๒) ตรวจสอบ กลั่นกรอง ประสานงาน รวบรวมข้อมูล และเสนอความเห็นเพื่อประกอบการพิจารณาของประธานกรรมการ ป.ป.ช. และกรรมการ ป.ป.ช.

(๓) ศึกษา วิเคราะห์ ประสานงาน รวบรวมข้อมูล และเสนอความเห็นเพื่อประกอบการพิจารณาของประธานกรรมการ ป.ป.ช. และกรรมการ ป.ป.ช. ในการกำหนดและประสานนโยบายรวมทั้งติดตาม
       และรายงานผลการดำเนินงานตามนโยบายดังกล่าว

(๔) ศึกษา วิเคราะห์ ประสานงาน รวบรวมข้อมูล และเสนอความเห็นเพื่อประกอบการพิจารณาในเรื่องปัญหาเกี่ยวกับกฎหมาย ระเบียบ ประกาศ หรือวิธีปฏิบัติในการปฏิบัติราชการที่อยู่ภายใต้หน้าที่
       ความรับผิดชอบของประธานกรรมการ ป.ป.ช. และกรรมการ ป.ป.ช.

(๕) ติดตามและรายงานผลการดำเนินงานของหน่วยงานที่ดำเนินการตามที่ประธานกรรมการ ป.ป.ช.และกรรมการ ป.ป.ช. มอบหมาย

(๖) งานประชุม งานอบรม/สัมมนา ตามที่ประธานกรรมการ ป.ป.ช. หรือกรรมการ ป.ป.ช. มอบหมาย

      (๖/๑) พัฒนาระบบ หลักเกณฑ์ วิธีการ และมาตรฐานของการตรวจสอบและกลั่นกรองเรื่องตรวจสอบเบื้องต้นและไต่สวน และเรื่องตรวจสอบทรัพย์สิน

       (๖/๒) จัดทำแบบการลงมติของประธานกรรมการ ป.ป.ช. และกรรมการ ป.ป.ช.ในเรื่องตรวจสอบเบื้องต้นและไต่สวน และเรื่องตรวจสอบทรัพย์สิน

       (๖/๓) สืบค้นคำวินิจฉัยและมติคณะกรรมการ ป.ป.ช. ในเรื่องการตรวจสอบเบื้องต้นและไต่สวนเรื่องตรวจสอบทรัพย์สิน และข้อมูลที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งการตรวจพิจารณากลั่นกรองเรื่อง
                   และเสนอความเห็นต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณา

        (๖/๔) ศึกษาวิเคราะห์คำวินิจฉัยและมติคณะกรรมการ ป.ป.ช. ข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องและจัดทำเป็นบทคัดย่อเพื่อใช้ในการสืบค้นและเผยแพร่เป็นแนวทางในการพิจารณาและใช้ในการศึกษารวมทั้ง
                    นำไปเป็นหลักการ แนวคิด หรือแนวทางปฏิบัติต่อไป

        (๖/๕) พิจารณาคัดเลือกเรื่องกล่าวหาที่สำคัญและจัดทำสรุปผลการดำเนินการของคณะกรรมการ ป.ป.ช. เพื่อใช้ในการแถลงข่าวหรือประชาสัมพันธ์การดำเนินงานของคณะกรรมการ ป.ป.ช.
                    และสำนักงาน ป.ป.ช.

        (๖/๖) ประสานติดตามผลการดำเนินการของหน่วยงานในเรื่องตรวจสอบเบื้องต้นและไต่สวน และเรื่องตรวจสอบทรัพย์สิน ตามที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติหรือข้อสั่งการให้ดำเนินการเพิ่มเติม

        (๖/๗) ดำเนินการเกี่ยวกับข้อมูลทะเบียนประวัติ การเข้าปฎิบัติหน้าที่ การลาประชุมและการพ้นจากตำแหน่งของประธานกรรมการ ป.ป.ช. และกรรมการ ป.ป.ช.

(๗) ประสานงานและปฎิบัติงานอื่นตามที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. หรือสำนักงาน ป.ป.ช. มอบหมาย ตลอดจนสนับสนุนการปฎิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง 

 

Related