เคยไหม? แค่ลุกขึ้นพูดความจริง…แต่กลับถูกฟ้องกลับจนหมดกำลังใจ!
ในสังคมที่คนดีถูกขู่ให้เงียบ การมีกฎหมายป้องกันการฟ้องปิดปาก (Anti-SLAPP Law) จึงเป็นเหมือนเกราะป้องกันสำคัญ ที่ช่วยให้คนกล้าออกมาเปิดโปงการทุจริต โดยไม่ต้องกลัวถูกฟ้องหรือกลั่นแกล้งอีกต่อไป
มาดูกันว่ากฎหมายนี้คืออะไร? ช่วยคุ้มครองใครบ้าง? และมีที่มาอย่างไร? 📌✨
กฎหมายป้องกันการฟ้องปิดปากในคดีทุจริต หรือพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2568 ได้กำหนดกลไกในการให้ความคุ้มครองและช่วยเหลือผู้ที่ถูกกลั่นแกล้งฟ้องคดี ถูกกลั่นแกล้งร้องทุกข์กล่าวโทษ หรือถูกกลั่นแกล้งในการดำเนินการทางวินัย เพราะเหตุที่ผู้นั้นได้มาให้ถ้อยคำ แจ้งข้อมูลหรือเบาะแส ส่งพยานหลักฐาน หรือแสดงความคิดเห็น เกี่ยวกับการกระทำความผิดที่อยู่ในหน้าที่และอำนาจของคณะกรรมการ ป.ป.ช. โดยสุจริต หรือเรียกอีกชื่อสั้น ๆ ง่าย ๆ ว่า “กฎหมาย Anti-SLAPP Law”
กฎหมายฉบับนี้มีที่มาจากแผนการปฏิรูปประเทศด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริตที่ต้องการให้มีการพัฒนาและแก้ไขกฎหมาย เพื่อปกป้องคุ้มครองบุคคลที่ถูกกลั่นแกล้งฟ้องร้องดำเนินคดีจากการแสดงความเห็นหรือเปิดโปงเบาะแสเกี่ยวกับการทุจริต
ซึ่งมาตรการคุ้มครองและช่วยเหลือที่มีอยู่ตามกฎหมายฉบับนี้ถือเป็นกลไกทางกฎหมายที่จะช่วยส่งเสริมและสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ภาคประชาชนที่พบเห็นการทุจริต ให้เข้ามามีส่วนร่วมชี้ช่องแจ้งเบาะแสเพิ่มมากขึ้นด้วย
มาตรการส่งเสริมคุณธรรมและความโปร่งใสภายในหน่วยงานจากการวิเคราะห์ผลการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของส่วนราชการภายในสำนักงาน ป.ป.ช. ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567
ผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการและแผนการใช้งบประมาณรายจ่าย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567
ความก้าวหน้าในการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ พ.ศ. 2568
รายงานผลการดำเนินการเพื่อจัดการความเสี่ยงการทุจริตในประเด็นที่อาจเกิดการให้หรือรับสินบน ประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ของสำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดนครราชสีมา
การประเมินความเสี่ยงการทุจริตในประเด็นที่อาจเกิดการให้หรือรับสินบนจากการดำเนินงานตามภารกิจของหน่วยงาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ของสำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดนครราชสีมา
ข้อมูลสถิติการให้บริการของสำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดนครราชสีมา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 (1 ตุลาคม 2566 - 30 กันยายน 2567)