Contrast
banner_default_3.jpg

หน้าที่และอำนาจของสำนักงาน ป.ป.ช.ประจำจังหวัดตรัง

จากไชต์: สำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดตรัง
จำนวนผู้เข้าชม: 595

25/05/2565

หน้าที่และอำนาจของสำนักงาน ป.ป.ช.ประจำจังหวัดตรัง

ตามประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เรื่อง  การแบ่งสวนราชการและหน้าที่และอำนาจของสวนราชการ ในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ   พ.ศ.  2561 สำนักงาน  ป.ป.ช.  ประจำจังหวัด  มี่หน้าที่และอำนาจ  ดังนี้

  1. ดำเนินการเกี่ยวกับการบูรณาการการป้องกันและปราบปรามการทุจริต และประสานกับสำนักงาน ป.ป.ช.  ภาค  รวมถึงหน่วยงานอื่น ๆ  ในการดำเนินภารกิจด้านการป้องกัน และปราบปรามการทุจริตและการดำเนินการเพื่อขับเคลื่อนตามยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกัน และปราบปรามการทุจริต
  2. จัดทำแผนงาน โครงการ  และกิจกรรมด้านการป้องกันการทุจริตของสำนักงาน  ป.ป.ช. ประจำจังหวัด  และดำเนินการตามแผนงาน  โครงการและกิจกรรม  รวมทั้งติดตามประเมินผลและรายงานผลการดำเนินการต่อสำนักงาน  ป.ป.ช.  ภาค 
  3. ประสานติดตามและให้คำปรึกษาหรือขอเสนอแนะกับหน่วยงานภาครัฐ ในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบในการดำเนินการตามมาตรการป้องกันและปราบปรามการทุจริต
  4. ประสานกับหน่วยงานในส่วนกลางสำนักงาน ป.ป.ช.  และสำนักงาน  ป.ป.ช.  ภาค  เพื่อรวมตรวจสอบกรณี่ที่คณะกรรมการ  ป.ป.ช.  มีเหตุอันควรสงสัยว่ามีการดำเนินการอย่างใด ในหน่วยงานของรัฐอันอาจนาไปสู่การทุจริตหรือส่อว่าอาจมีการทุจริต   
  5. ประสานกับสำนักงาน ป.ป.ช.  ในส่วนกลางและสำนักงาน  ป.ป.ช.  ภาค  เป็นเครือข่าย  เพื่อรวมกนสำรวจ  ตรวจสอบ  ติดตาม  เฝ้าระวัง  ประเมินสภาวการณ์การทุจริตอย่างรวดเร็ว  (rapid  appraisal)  เพื่อให้เกิดการป้องกันโดยเร็ว
  6. ศึกษาวิเคราะห์สภาพปัญหาการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในเขตจังหวัด เพื่อเสนอความเห็นและขอเสนอแนะต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. เพื่อประโยชน์ในการป้องกัน และปราบปรามการทุจริต
  7. รับเรื่องกล่าวหาในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบ และดำเนินการตรวจสอบเบื้องต้น กรณีมี่การกล่าวหาหรือมีเหตุอันควรสงสัยวาเจ้าหน้าที่ของรัฐภายในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบผู้ใดกระทำความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่  หรือกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ  หรือความผิดต่อตำแหน่ง หน้าที่ในการยุติธรรม  หรือฐานความผิดอันที่กฎหมายประกอบรัฐธรรมนญว่าด้วยการป้องกัน และปราบปรามการทุจริตกำหนดหรือที่มีกฎหมายกำหนดให้อยู่ในหน้าที่และอำนาจของคณะกรรมการ  ป.ป.ช. แต่ไม่รวมถึงหน้าที่และอำนาจในการไต่สวนเบื้องต้น  เว้นแต่คณะกรรมการ  ป.ป.ช.  จะมีมติ มอบหมายให้ดำเนินการไต่สวนเบื้องต้นเฉพาะกรณี
  8. ตรวจสอบและพิจารณารายงานผลการดำเนินการและสำนวนเรื่องกล่าวหา การกระทำผิดของเจ้าหน้าที่ของรัฐภายในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปราม การทุจริตในภาครัฐ หรือสวนราชการ  หรือหน่วยงานอื่นของรัฐได้ดำเนินการตามที่ได้รับมอบหมาย จากคณะกรรมการ  ป.ป.ช.  พร้อมทั้งเสนอความเห็นเพื่อประกอบการวินิจฉัยของคณะกรรมการ  ป.ป.ช. 
  9. รับและตรวจสอบความถูก้ตองและความมอยู่จริง รวมทั้งความเปลี่ยนแปลงของ ทรัพย์สินและหนี้สินของเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งมีหน้าที่ต้องยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินภายใน เขตจังหวัดที่รับผิดชอบตามที่กฎหมายกำหนด
  10. เปิดเผยผลการตรวจสอบและบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน ที่ตั้งของอสังหาริมทรัพย์  และเอกสารประกอบของผู้มีหน้าที่ต้องยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน ภายในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบตามที่กฎหมายกำหนด

    (10 /1) ดำเนินการเกี่ยวกับงานการสืบสวน งานด้านการข่าว และการต่อต้านข่าวกรอง ที่เกี่ยวกับการทุจริต การติดตามตรวจสอบสถานการณ์และข้อมูลข่าวสารการทุจริตจากสื่อต่าง ๆ รวมทั้งวิเคราะห์และประมวลผลสรุปข้อมูลข่าวสารการทุจริต

    (10/2) ประสานเครือข่ายการปฏิบัติงานข่าวกับแหล่งข่าวบุคคล หน่วยงาน หรือองค์กร ที่เกี่ยวข้อง

    (10/3 ) ติดตามบุคคลตามหนังสือเรียกตัวเป็นพยานและบุคคลที่ถูกหมายของศาล และ ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการดำเนินการคุ้มครองพยานและการกันบุคคลไว้เป็นพยานตามที่ได้รับ มอบหมาย

    (10/4 ) ดำเนินการและประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการจับ การควบคุมตัว การคุมขัง และการปล่อยชั่วคราวผู้ถูกกล่าวหาตามที่ได้รับมอบหมาย

  11. จัดทำฐานข้อมูลทางด้านงานคดี งานตรวจสอบทรัพย์สินและหนี้สิน  งานป้องกันการทุจริต  และงานด้านการบริหารภายในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบ
  12. ประสานและปฏิบัติงานอื่นตามที่คณะกรรมการ ป.ป.ช.  สำนักงาน  ป.ป.ช. หรือสำนักงาน  ป.ป.ช. ภาคมอบหมาย  ตลอดจนสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง

 

Related