Contrast
banner_default_3.jpg

ปัจจัยกำหนดระดับคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

จากไชต์: วารสารวิชาการ
จำนวนผู้เข้าชม: 256

29/05/2567

ปัจจัยกำหนดระดับคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

อรรถศาสตร์ สมสุข
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

อภิญญา วนเศรษฐ
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

เฉลิมพล จตุพร
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช



คำสำคัญ: องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  คุณธรรมและความโปร่งใส  ทฤษฎีตัวการตัวแทน


PDF ดาวน์โหลด

 

บทคัดย่อ
       การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ (1) เพื่อศึกษาสภาพทั่วไปเกี่ยวกับระดับคุณธรรมและความโปร่งใส ในการดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นภาพรวมรายจังหวัด และ (2) เพื่อศึกษาปัจจัยกำหนดระดับ คุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเฉลี่ยรายจังหวัด
       การศึกษาครั้งนี้เก็บรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิ ลักษณะ Panel Data เป็นรายปีตั้งแต่ปี พ.ศ. 2561 - 2562 ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นภาพรวมรายจังหวัด 76 จังหวัด (ยกเว้น กรุงเทพมหานคร) และแบ่งการศึกษา ออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ (1) การวิเคราะห์เชิงพรรณนาเกี่ยวกับภาพรวมของระดับคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรายจังหวัด และ (2) การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของปัจจัยที่กำหนด ระดับคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเฉลี่ยรายจังหวัด เปรียบเทียบ ระหว่างแบบจำลอง Fixed Effect และ Random Effect และทดสอบเลือกแบบจำลองที่เหมาะสมด้วย Hausman Test
        ผลการศึกษาพบว่า (1) ในปี พ.ศ. 2561 – 2562 ระดับผลการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใส ในการดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นภาพรวมรายจังหวัดมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ส่วนหนึ่งเชื่อได้ว่า หากหน่วยงานใดได้ค่าคะแนนต่ำ ก็น่าจะเกิดความไม่มีคุณธรรมและความไม่โปร่งใสขึ้นในหน่วยงานนั้น (2) ผลการประมาณค่าแบบจำลอง Random Effect พบว่า ปัจจัยที่กำหนดระดับคุณธรรมและความโปร่งใส ในการดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเฉลี่ยรายจังหวัด ได้แก่ สัดส่วนของประชากรที่อายุ 15 - 59 ปี (วัยรุ่นและวัยแรงงาน) โดยมีความสัมพันธ์ในทิศทางตรงกันข้าม ณ ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.01 แสดงให้เห็นว่า ประชากรวัยรุ่นและแรงงานมากขึ้น จะทำให้ระดับคุณธรรมและความโปร่งใสลดลง ซึ่งผู้วิจัยเห็นว่าเป็นผลจาก การที่ประชาชนส่วนใหญ่ในประเทศกำลังพัฒนา มักจะให้ความสำคัญกับเรื่องของปากท้องมากกว่าเรื่องสิทธิทางการเมือง, สัดส่วนของประชากรอายุ 6 ปีขึ้นไป ที่มีการใช้งานอินเทอร์เน็ต โดยมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกัน ณ ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.01 แสดงให้เห็นว่าการที่ประชาชนเข้าถึงการใช้งานอินเทอร์เน็ตได้มากขึ้น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะมีคุณธรรมและความโปร่งใสในการบริหารงานมากขึ้น สอดคล้องกับทฤษฎีตัวการตัวแทน และสัดส่วนคนจน (ด้านรายจ่าย) รายจังหวัด โดยมีความสัมพันธ์ในทิศทางตรงกันข้าม ณ ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.1 ซึ่งสะท้อนว่าสัดส่วนคนจนเพิ่มมากขึ้น ทำให้ความสนใจที่จะตรวจสอบติดตามการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นลดลง

เอกสารอ้างอิง (References)


ชูชิต ชายทวีป. (2559). ปัจจัยสำเร็จของการลดปัญหาความยากจน. INTEGRATED SOCIAL SCIENCE JOURNAL, FACULTY OF SOCIAL SCIENCES AND HUMANITIES, 3(2), 200-226.


นันทนัช สำราญจิตร และ กฤชวรรธน์ โล่ห์วัชรินทร์. (2563). การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรกับระดับความโปร่งใสขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดขอนแก่น. Dhammathas Academic Journal, 20(2), 89-98.


เมธี ครองแก้ว. (2558). นิติเศรษฐศาสตร์ว่าด้วยการป้องกันการทุจริต. วารสารวิชาการ ป.ป.ช., 8(1), 2-16.


วีระศักดิ์ เครือเทพ. (2555). ปรากฎการณ์ภาพลวงตาทางการคลัง: บทวิเคราะห์ทัศนคติทางการคลังของประชาช ในการเลือกตั้งทั่วไป พ.ศ. 2554. เศรษฐศาสตร์ปริทรรศน์, 6(1), 37-78.


ศิริสุดา แสงทอง. (2564). ความตื่นตัวทางการเมืองของคนรุ่นใหม่: จุดยืนประชาธิปไตยใหม่แห่งอนาคต. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์. 8(2), 286-297.


สุชาดา ตั้งทางธรรม. (2558). สถาบันและการบริหารกิจการบ้านเมือง. ใน มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (บ.ก.), ประมวลสาระชุดวิชาเศรษฐศาสตร์ภาครัฐและนโยบายสาธารณะ. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.


สมชัย จิตสุชน. (2558). รายงานการวิจัยความเลื่อมล้ำในสังคมไทย แนวโน้ม นโยบาย และแนวทางขับเคลื่อนนโยบาย. สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย.


สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ. (2561). รายงานประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561. สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ.


           
. (2562). รายงานประจำปีงบประมาณพ.ศ. 2562. สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ.


           
. (2563). รายงานประจำปีงบประมาณพ.ศ. 2563. สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ.


สำนักประเมินคุณธรรมและความโปร่งใส สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ. (2562). คู่มือการประเมิน ITA 2562. สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ.


Becker, G. S. (1968). Crime and punishment: An economic approach. The economic dimensions of crime. 13-68.


Birskyte, L. (2019). Determinants of budget transparency in Lithuanian municipalities. Public Performance & Management Review, 42(3), 707-731.


Caamaño-Alegre, J., Lago-Peñas, S., Reyes-Santias, F., & Santiago-Boubeta, A. (2013). Budget transparency in local governments: an empirical analysis. Local government studies, 39(2), 182-207.


Cicatiello, L., De Simone, E., & Gaeta, G. L. (2017). Political determinants of fiscal transparency: A panel data empirical investigation. Economics of Governance, 18(4), 315-336.


Cressey, D. R. (1980). Management fraud, controls, and criminological theory. Management fraud: detection and deterrence, 117-147.


De Araujo, J. F. F. E., & Tejedo-Romero, F. (2016). Local government transparency index: determinants of municipalities’ rankings. International Journal of Public Sector Management, 29(4), 327-47.


Huntington, Samuel P., & Joan M. Nelson. (1976). No Easy Choice: Political Participation in Developing Countries. Harvard University Press.


Krah, R., & Mertens, G. (2020). Democracy and financial transparency of local governments in SubSaharan Africa. Meditari Accountancy Research, 28(4), 681-699.


Ribeiro, N., Nogueira, S., & Freitas, I. (2017). Transparency in Portuguese Local Government: a study of its determinants. European Financial and Accounting Journal, 12(3), 191-202.


Sun, S., & Andrews, R. (2020). The determinants of fiscal transparency in Chinese city-level governments. Local Government Studies, 46(1), 44-67.


Tavares, A. F., & da Cruz, N. F. (2020). Explaining the transparency of local government websites through a political market framework. Government Information Quarterly, 37(3), 101249.


Wehner, J., & De Renzio, P. (2013). Citizens, legislators, and executive disclosure: The political determinants of fiscal transparency. World Development, 41, 96-108.

Related