Contrast
banner_default_3.jpg

แนวทางการปลูกฝังจิตสำนึกต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชันของนักเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานผ่านหลักสูตรต้านทุจริตศึกษาของสำนักงาน ป.ป.ช.

จากไชต์: วารสารวิชาการ
จำนวนผู้เข้าชม: 1009

28/06/2567

  แนวทางการปลูกฝังจิตสำนึกต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชันของนักเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน  
  ผ่านหลักสูตรต้านทุจริตศึกษาของสำนักงาน ป.ป.ช.



  สรายุธ รัศมี
  มหาวิทยาลัยขอนแก่น

  ภูมินทร์ เกณสาคู
  มหาวิทยาลัยขอนแก่น

 

 

 

  คำสำคัญ: ทุจริตคอร์รัปชัน  การปลูกจิตสำนึก  หลักสูตรต้านทุจริตศึกษา  สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน  สำนักงานคณะกรรมการป้องกัน
  และปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (สำนักงาน ป.ป.ช.)

 

  PDF ดาวน์โหลด

 

บทคัดย่อ
        บทความนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาวิเคราะห์ความสำคัญและความท้าทายของแนวทางการปลูกจิตสำนึกต่อต้านทุจริตคอร์รัปชันในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผ่านหลักสูตรต้านทุจริตศึกษา (Anti-Corruption Education) ของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (สำนักงาน ปปช.) ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อปี 2561 ซึ่งมุ่งเน้นการสร้างความตระหนักรู้ การมีส่วนร่วม และสร้างวัฒนธรรมต่อต้านการทุจริตให้กับผู้เรียนทุกภาคส่วน ครอบคลุมทั้งระบบการศึกษา จากการวิเคราะห์ พบว่า หลักสูตรต้านทุจริตศึกษามีความสำคัญในด้านการพัฒนาความตระหนักรู้ของปัจเจกบุคคล ชุมชนและสังคม โดยเฉพาะนักเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งผู้เรียนส่วนใหญ่จัดอยู่ในกลุ่มการศึกษาในระบบ (Formal Education) ตลอดจนเป็นช่วงวัยที่กำลังเติบโตและต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงของสังคม ทั้งทางด้านกายภาพและจิตใจ จึงจำเป็นต้องได้รับการอบรมและชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิตอย่างเหมาะสม ผ่านกระบวนการเรียนรู้กล่อมเกลาทางสังคมจากสถาบันต่าง ๆ โดยอาศัยการเรียนรู้จากโรงเรียนเป็นเครื่องมือสำคัญในการสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีสำหรับการใช้ชีวิตในสังคม เพื่อไม่ให้หลงผิดประพฤติปฏิบัติตนคดโกงเอารัดเอาเปรียบผู้อื่น อย่างไรก็ตาม ความท้าทายในการดำเนินการผ่านหลักสูตรต้านทุจริตศึกษา คือ ความท้าทายเกี่ยวกับการนำไปปฏิบัติจริงและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น โดยแบ่งออกเป็น 2 ระดับ คือ 1) ความท้าทายเชิงนโยบายของรัฐ ได้แก่ การจัดการศึกษาตามนโยบายของรัฐ และการจัดการศึกษาของสถานศึกษา 2) ความท้าทายเชิงปฏิบัติการ ได้แก่ หลักสูตรและเนื้อหา ครูผู้สอนและวิธีการสอน และผู้เรียน ซึ่งจำเป็นจะต้องได้รับการพิจารณาในหลายมิติมากขึ้น เพื่อหาทางออกให้ผู้เรียนเกิดผลสัมฤทธิ์ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นในอนาคต    

เอกสารอ้างอิง (References)


พัฒนา ทองคำ. (2565). กระบวนการเรียนรู้แบบรวมพลัง 5 ขั้นตอน : แนวการสอนสำหรับครูยุค 4.0 (ตอนที่ 2). https://shorturl.asia/90ITq


เรวดี ศรีสุข. (2562). การประยุกต์ใช้ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Co-operative learning) ในการออกแบบจัดการเรียนการสอน. The Journal of Boromarjonani College of Nursing Suphanburi, 2(1) 5-16.


ศุภวัฒนากร วงศ์ธนวสุ, ฌาน เรืองธรรมสิงห์, จตุภูมิ เขตจัตุรัส, วชิราวุธ ธรรมวิเศษ. (2565). การประเมินผลสัมฤทธิ์ในการใช้หลักสูตรต้านทุจริตศึกษา สำหรับการเรียนการสอนของการศึกษาขั้นพื้นฐานและอุดมศึกษาของประเทศไทย. Journal of Modern Learning Development, 7(3), 84-99.


ศุภวัฒนากร วงศ์ธนวสุ. (2565, 26 กันยายน). การติดตามและประเมินผลสัมฤทธิ์การนำหลักสูตรต้านทุจริตศึกษาไปใช้. https://tyintegrity.org/index.html


สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ และสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2562). หลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม การป้องกันการทุจริต. ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.


สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ. (2562). บทสรุปชุดหลักสูตรต้านทุจริตศึกษา (Anti-Corruption Education). ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.


สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2564). คู่มือการคัดกรองและพัฒนาพหุปัญญา. สกศ.


สำนักต้านทุจริตศึกษา สำนักงาน ป.ป.ช.. (2562, 6 มิถุนายน). สรุปผลการประชุมเชิงปฏิบัติการระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อผลักดันหลักสูตรต้านทุจริตศึกษา. https://eila.psu.ac.th/document/download/anti-corruption-education/2562-summary-anti-corruption-edu.pdf


สำนักต้านทุจริตศึกษา สำนักงาน ป.ป.ช.. (2562, 20 กันยายน). รายงานการกำกับติดตามการนำหลักสูตรต้านทุจริตศึกษาไปใช้ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562. https://www.nacc.go.th/files/article/attachments/2704986734d9885cc8b4140f5a4e99debd930d1.pdf


สำนักต้านทุจริตศึกษา สำนักงาน ป.ป.ช.. (2563, 1 กันยายน). รายงานการกำกับติดตามการนำหลักสูตรต้านทุจริตศึกษาไปใช้ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563. https://www.nacc.go.th/files/article/attachments/27049866e29b420f9c4c07bc68ae82b81bb4091.pdf


สำนักต้านทุจริตศึกษา สำนักงาน ป.ป.ช.. (2564). รายงานการกำกับติดตามการนำหลักสูตรต้านทุจริตศึกษาไปใช้ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564. https://www.nacc.go.th/files/article/attachments/270498641-f4d699fd2862f5f515169f94e20924.pdf


สำนักต้านทุจริตศึกษา สำนักงาน ป.ป.ช.. (2565). รายงานการกำกับติดตามการนำหลักสูตรต้านทุจริตศึกษาไปใช้ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565. https://www.nacc.go.th/files/article/attachments/2704986- a4ec445670408ec26a1186d0458a2ec0.pdf


สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. (2560).คู่มือหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 สำหรับเด็กอายุ 3 - 6  ปี. ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.


อนุชา โสมาบุตร. (2556, 25 กันยายน). ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ (Constructivist). https://teacherweekly.wordpress.com/2013/09/25/constructivist-theory/


อัญชลี ด้วงต้อย และอัมรนทร์ อินทร์อยู่. (2557). การสอนวิทยาศาสตร์ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ เพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ. The 6th NPRU National Academic Conference 2014 Nakhon Pathom Rajabhat University, 6(1), 277-285.


Chansarn, S. (2013). Corruption and Income Inequality in Society: A Cross-Country Review.Songklanakarin Journal of Social Sciences and Humanities. 19(3), 35-59.


Ellis, D. (1989). A Behavioural Approach to Information Retrieval Design. Journal of Documentation45(3), 171-212.

Related