Contrast
88308a6dccbe5ed3c206a9a06ab540d0.jpg

ป.ป.ช. ตราด ร่วมกับ ป.ป.ช. ภาค 2 ลงพื้นที่กำกับติดตามการขับเคลื่อนหลักสูตรต้านทุจริตศึกษา ณ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด อำเภอเมืองตราด และโรงเรียนอนุบาลวัดน้ำเชี่ยว อำเภอแหลมงอบ จังหวัดตราด

จากไชต์: สำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดตราด
จำนวนผู้เข้าชม: 21

21/05/2568
🟠 วันอังคารที่ 20 พฤษภาคม 2568 เวลา 09.00 น. นางสุปรียา บุญสนิท ผู้อำนวยการสำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดตราด มอบหมายเจ้าหน้าที่กลุ่มงานป้องกันการทุจริต สำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดตราด ลงพื้นที่ร่วมกับเจ้าหน้าที่กลุ่มงานป้องกันการทุจริต สำนักงาน ป.ป.ช. ภาค 2 นำโดยนางสาวศิริธร ศิริสวัสดิ์ ผู้อำนวยการกลุ่มประสานการป้องกันการทุจริต สำนักงาน ป.ป.ช. ภาค 2 ลงพื้นที่กำกับติดตามการขับเคลื่อนหลักสูตรต้านทุจริตศึกษา ณ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด อำเภอเมืองตราด จังหวัดตราด โดยมีดร. เยาวรักษ์ พวงมะเทศโสภณ รองผู้อำนวยการ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด พร้อมด้วยผู้อำนวยการ และครูจากโรงเรียนบ้านทุ่งไก่ดัก โรงเรียนวัดบางปรือ โรงเรียนบ้านคลองประทุน โรงเรียนบ้านไร่ป่า โรงเรียนวัดสะพานหิน โรงเรียนบ้านแหลมพร้าว โรงเรียนวัดวรุณดิตถาราม โรงเรียนอนุบาลตราด โรงเรียนวัดสุวรรณมงคล โรงเรียนวัดบุปผาราม (คุณวุฒิอุปถัมภ์) มิตรภาพที่ 100 โรงเรียนบ้านสวนใน และโรงเรียนคลองขวาง ร่วมให้ข้อมูล การลงพื้นที่ดังกล่าวฯ เพื่อรับทราบปัญหา/อุปสรรค และข้อเสนอแนะในการนำหลักสูตรต้านทุจริตศึกษาไปใช้ในการเรียนการสอนของสถานศึกษาทั้ง 12 แห่ง ซึ่งมีโรงเรียน 4 แห่ง นำหลักสูตรต้านทุจริตศึกษาไปใช้ในการเปิดเป็นรายวิชาเพิ่มเติม ได้แก่ โรงเรียนวัดบางปรือ โรงเรียนวัดสะพานหิน โรงเรียนบ้านแหลมพร้าว และโรงเรียนวัดบุปผาราม (คุณวุฒิอุปถัมภ์) มิตรภาพที่ 100 และมีโรงเรียน 9 แห่ง นำหลักสูตรต้านทุจริตศึกษาไปใช้ในการบูรณาการการเรียนการสอนกับกลุ่มสาระต่าง ๆ เช่น กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม บูรณากานการเรียนการสอนกับกลุ่มสาระอื่น ๆ จัดในกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน บูรณาการกับวิถีชีวิตในโรงเรียน และนำไปใช้ในรูปแบบอื่น เป็นต้น
🟢 ต่อมา เวลา 14.00 น. ลงพื้นที่โรงเรียนอนุบาลวัดน้ำเชี่ยว ตำบลน้ำเชี่ยว อำเภอแหลมงอบ จังหวัดตราด เปิดสอนในระดับปฐมวัย - ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีจำนวนนักเรียนทั้งสิ้น 181 คน จากการกำกับติดตามการขับเคลื่อนหลักสูตรต้านทุจริตศึกษา โรงเรียนฯ ได้นำหลักสูตรต้านทุจริตศึกษาไปใช้ในการบูรณาการการเรียนการสอนกับกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม กลุ่มสาระการเรียนรู้วิชาภาษาไทย และกลุ่มสาระการเรียนรู้วิชาศิลปะ และจัดในกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน เช่น กิจกรรมลูกเสือ - ยุวกาชาด นอกจากนี้ได้นำไปใช้ในการบูรณาการกับวิถีชีวิตในโรงเรียน เช่น สมุดออมความดี กิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์บริเวณพื้นที่ที่รับผิดชอบ กิจกรรมของหายได้คืน และกิจกรรมการต่อต้านการทุจริต เป็นต้น

Related