Contrast
Font
7b6cfdd0ea038eaa424c4a6de22c4763.jpg

การยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรณีมีการยุบสภาผู้แทนราษฎร

จากไชต์: สำนักงานคณะกรรมการป้องกัน และปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (สำนักงาน ป.ป.ช.) สนามบินน้ำ
จำนวนผู้เข้าชม: 514

26/04/2566

การยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรณีมีการยุบสภาผู้แทนราษฎร

 

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร มีหน้าที่ยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 มาตรา 102 (1) ซึ่งกำหนดให้ยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สิน เมื่อเข้ารับตำแหน่งและเมื่อพ้นจากตำแหน่ง โดยต้องยื่นจำนวน 2 ชุด

กรณีมีพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2566 ประกาศ ณ วันที่ 20 มีนาคม 2566 ส่งผลให้สมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 101 จึงมีหน้าที่ยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช.และให้ถือวันที่ยุบสภาผู้แทนราษฎรเป็นวันที่พ้นจากตำแหน่ง ตามประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินของเจ้าพนักงานของรัฐต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. พ.ศ. 2561 ข้อ 9 (2) โดยมีช่วงเวลาดังนี้

  1. วันที่แสดงทรัพย์สินและหนี้สิน กรณีพ้นจากตำแหน่ง คือ วันที่ 20 มีนาคม 2566
  2. ระยะเวลาการยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สิน (ภายใน 60 วัน) ตั้งแต่วันที่ 21 มีนาคม 2566
  3. ถึงวันที่ 19 พฤษภาคม 2566

ช่องทางการยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สิน มี 3 ช่องทาง ได้แก่

  1. ยื่นด้วยตนเอง ณ สำนักงาน ป.ป.ช. ส่วนกลาง หรือสำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดทุกจังหวัด
  2. ยื่นทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ ถึง สำนักงาน ป.ป.ช. ที่ที่อยู่ 361 ถนนนนทบุรี ตำบลท่าทรายอำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี 11000
  3. ผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์* ทาง https://asset.nacc.go.th/ods-app/

    * สำหรับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เริ่มยื่นบัญชีทางอิเล็กทรอนิกส์ได้ ตั้งแต่ 1 เมษายน 2566 เป็นต้นไป

          กรณีไม่สามารถยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินได้ทันภายในระยะเวลาหกสิบวัน สามารถขอยยายระยะเวลาการยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินได้อีกไม่เกินสามสิบวัน โดยต้องยื่นคำขอขยายระยะเวลาก่อน
วันสิ้นสุดระยะเวลาการยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สิน
(19 พฤษภาคม 2566)

          กรณีบุคคลใดที่เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีอีกตำแหน่งหนึ่ง ต่อมาได้มีการยุบสภาผู้แทนราษฎร บุคคลนั้นต้องยื่นพ้นจากตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

 

การยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ตามประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เรื่อง กำหนดตำแหน่งเจ้าพนักงานของรัฐซึ่งจะต้องยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินตามมาตรา 103 (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2566

ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 7 เมษายน 2566 (มีผลใช้บังคับเมื่อพ้นหกสิบวันนับถัดจากวันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา) ส่งผลให้ผู้ดำรงตำแหน่งต่อไปนี้

สำนักงานอัยการสูงสุด

  1. รองอธิบดีอัยการ
  2. รองอธิบดีอัยการภาค

สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน

  1. ผู้ตรวจเงินแผ่นดิน
  2. ผู้ช่วยผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน
  3. ผู้ช่วยผู้ตรวจเงินแผ่นดิน
  4. ผู้อำนวยการสำนักกำกับและส่งเสริมการตรวจเงินแผ่นดิน
  5. ผู้อำนวยการสำนักวินิจฉัยความผิดวินัยการเงินการคลัง

หมายเหตุ  “ผู้อำนวยการสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินภูมิภาค” ที่ได้ยื่นต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. ไว้แล้ว ให้ถือว่าเป็นการยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินในตำแหน่ง “ผู้ตรวจเงินแผ่นดิน”

สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย

 รองผู้ว่าราชการจังหวัด

ศาลปกครอง

รองอธิบดีศาลปกครองชั้นต้น

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร

รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร

สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา

รองเลขาธิการวุฒิสภา

มีหน้าที่ยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 มาตรา 103 ซึ่งกำหนดให้ยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สิน เมื่อเข้ารับตำแหน่ง เมื่อพ้นจากการเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ และทุกสามปีตลอดเวลาที่ดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ  โดยกำหนดให้ยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สิน จำนวน 1 ชุด

          วันที่แสดงทรัพย์สินและหนี้สิน กรณีเข้ารับตำแหน่ง  วันที่ 7 มิถุนายน 2566

          ระยะเวลาการยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สิน (ภายใน 60 วัน) ตั้งแต่วันที่ 8 มิถุนายน 2566
ถึงวันที่ 6 สิงหาคม 2566         

 

ช่องทางการยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สิน มี 3 ช่องทาง ได้แก่

  1. ยื่นด้วยตนเอง ณ สำนักงาน ป.ป.ช. ส่วนกลาง หรือสำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดทุกจังหวัด
  2. ยื่นทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ ถึง สำนักงาน ป.ป.ช. ที่อยู่ 361 ถนนนนทบุรี ตำบลท่าทรายอำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี 11000
  3. ผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์* ทาง https://asset.nacc.go.th/ods-app/

          กรณีไม่สามารถยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินได้ทันภายในระยะเวลาหกสิบวัน สามารถขอยยายระยะเวลาการยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินได้อีกไม่เกินสามสิบวัน โดยต้องยื่นคำขอขยายระยะเวลาก่อน
วันสิ้นสุดระยะเวลาการยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สิน
(6 สิงหาคม 2566)

Related