Contrast
Font
30713c401ebee8ba4df3e96e0c07bc49.jpg

🏢 ป.ป.ช. บึงกาฬ ลงพื้นที่เฝ้าระวังการทุจริตโครงการอาหารเสริม (นม) โรงเรียน และอาหารกลางวัน และติดตามมาตรการรถบรรทุกน้ำหนักเกิน

จากไชต์: สำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดบึงกาฬ
จำนวนผู้เข้าชม: 36

03/07/2568

🏢 ป.ป.ช. บึงกาฬ ลงพื้นที่เฝ้าระวังการทุจริตโครงการอาหารเสริม (นม) โรงเรียน และอาหารกลางวัน และติดตามมาตรการรถบรรทุกน้ำหนักเกิน

🗓️ วันที่ 3 กรกฎาคม 2568 นางสาวนันท์นภัส สืบสัมพันธ์ ผู้อำนวยการสำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดบึงกาฬ พร้อมด้วย นายนราวิชญ์ มาตราช หัวหน้ากลุ่มงานป้องกันการทุจริต และคณะฯ ลงพื้นที่ดำเนินโครงการป้องปรามและลดคดีทุจริตในพื้นที่ กิจกรรมการลงพื้นที่เพื่อเฝ้าระวังและป้องปรามการทุจริตในพื้นที่ฯ ดังนี้
🏫 1. โครงการอาหารเสริม (นม) โรงเรียน และโครงการอาหารกลางวันนักเรียน ซึ่งเป็นมาตรการที่คณะกรรมการผลักดันการดำเนินงานตามแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็นการต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ จังหวัดบึงกาฬ ได้มีบันทึกข้อตกลงต้านและลดการทุจริตฯ ร่วมกันระหว่างสถานศึกษาและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ ณ โรงเรียนบ้านเหล่าคาม ต.น้ำจั้น อ.เซกา มีผลการดำเนินการดังนี้
- มีนักเรียนทั้งหมด 101 คน ได้รับเงินค่าอาหารกลางวัน ในอัตรา 24 บาท/คน/วัน ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2567
- ดำเนินการโดยใช้รูปแบบที่ 2 ดำเนินการจัดซื้อวัตถุดิบเพื่อใช้ในการประกอบอาหาร และจ้างบุคคลเพื่อประกอบอาหาร
- อาหารเสริม (นม) ได้รับการจัดสรรเป็นนม ยู เอช ที การจัดซื้อจัดจ้างดำเนินการโดยองค์การบริหารส่วนตำบลน้ำจั้น คณะครู บุคลากรในโรงเรียนเป็นเพียงผู้รับพัสดุ ปีการศึกษา 2568 ภายหลังจากเปิดภาคเรียนแล้วพบปัญหานักเรียนยังไม่ได้รับอาหารเสริม (นม) เนื่องจากจะต้องรอในส่วนของประกาศคณะกรรมการอาหารนมเพื่อเด็กและเยาวชน เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการดำเนินงานโครงการอาหารเสริม (นม) โรงเรียน ประจำปีการศึกษา 2568 ซึ่งผู้รับจ้างได้ส่งมอบรอบที่ 1 จำนวน 50 กล่อง/วัน/คน เพื่อชดเชยในห้วงที่รอประกาศ ให้ครบ 260 วันต่อปีการศึกษา และในช่วงเดือนกรกฎาคม 2568 ได้ส่งมอบ จำนวน 30 กล่อง/วัน/คน ซึ่งเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด
✅จากการตรวจเอกสารจัดซื้อจัดจ้างโครงการอาหารกลางวัน พบว่า คณะครู บุคลากร ผู้รับผิดชอบโครงการอาหารกลางวัน มีความรู้ ความเข้าใจ แนวทางปฏิบัติในการจัดซื้อวัตถุดิบเพื่อใช้ในการประกอบอาหาร และการจ้างบุคคลเพื่อประกอบอาหาร สามารถตอบข้อซักถามตามคู่มือแนวทางการจัดทำโครงการอาหารกลางวัน ซึ่งจะส่งผลให้การดำเนินโครงการฯ มีความโปร่งใส ตรวจสอบได้ การใช้จ่ายงบประมาณเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของโครงการ ตลอดจนนักเรียนได้รับสารอาหารและคุณภาพที่เหมาะสม

🏗️🚛 2. ลงพื้นที่ร่วมกับ ตำรวจทางหลวงบึงกาฬ ตำรวจภูธรเซกา และสถานีตรวจสอบน้ำหนักเซกา ติดตามมาตรการการป้องกันการทุจริต กรณี รถบรรทุกน้ำหนักเกิน ณ สถานีตรวจสอบน้ำหนักเซกา เพื่อบูรณาการการทำงานร่วมกันในการดำเนินการตามข้อเสนอแนะเพื่อป้องกันการทุจริตเกี่ยวกับรถบรรทุกน้ำหนักเกิน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568
✅จากการลงพื้นที่ สำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดบึงกาฬ ได้ให้ข้อเสนอแนะกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการตามโยบายและแนวทาง/มาตรการ/ วิธีการป้องกันการทุจริตเกี่ยวกับรถบรรทุกน้ำหนักเกิน (Action Plan) ตามหนังสือด่วนที่สุด ที่ คค 0208/4798 ลงวันที่ 16 มิถุนายน 2566 เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายกับทางราชการที่เกิดจากรถบรรทุกน้ำหนักเกิน ทำให้ภาครัฐต้องใช้เงินงบประมาณจำนวนมากในการซ่อมแซมและบำรุงรักษาถนน และยังเป็นการเพิ่มภาระค่าใช้จ่ายให้กับประชาชนผู้ใช้รถใช้ถนน และอาจทำให้เกิดปัญหาการทุจริตและประพฤติมิชอบ ป้องกันการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบด้วยกฎหมาย และปฏิบัติหน้าที่ด้วยความถูกต้องเป็นธรรม โปร่งใส และสามารถตรวจสอบได้ ตลอดจนหารือร่วมกันกำหนดตั้งด่านตรวจชั่งน้ำหนักแบบเคลื่อนที่ (Portable weigh station) Spot Check หรือ ด่านชั่งเคลื่อนที่ บนทางหลวงแผ่นดินที่มีความเสี่ยงของรถบรรทุกน้ำหนักเกินในห้วงไตรมาสที่ 4 ซึ่งจะเป็นการดำเนินงานของหน่วยงานในพื้นที่ลักษณะป้องกันเชิงรุกต่อไป

Related