Contrast
Font
banner_default_2.jpg

ป.ป.ช. ภาค 7 และสำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดในเขตพื้นที่ภาค 7 ร่วมกันแถลงข่าวผลการดำเนินการ 6 เดือนแรก ปีงบ' 66

จากไชต์: สำนักงาน ป.ป.ช. ภาค 7
จำนวนผู้เข้าชม: 549

29/03/2566

     เมื่อวันที่  29 มีนาคม 2566 ที่ห้องประชุมชั้น 3 สำนักงานเทศบาลนครนครปฐม อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม  นายหิรัณย์เศรษฐ เหยี่ยวประยูร ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. ภาค 7 พร้อมผู้อำนวยการสำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดในเขตพื้นที่ภาค 7  ได้แก่ จังหวัดกาญจนบุรี  จังหวัดนครปฐม จังหวัดประจวบคีรีขันธ์  จังหวัดราชบุรี จังหวัดสมุทรสงคราม จังหวัดสมุทรสาคร จังหวัดสุพรรณบุรี และจังหวัดเพชรบุรี  ได้แถลงผลการดำเนินงานของ ป.ป.ช. ภาค 7 และสำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดในพื้นที่ 8 จังหวัด ไตรมาสที่ 1-2 ประจำปีงบประมาณ 2566

    1.ภารกิจด้านการปราบปรามการทุจริต

     ในไตรมาสที่ 1 - 2 ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 สำนักงาน ป.ป.ช. ภาค 7 และสำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดในเขตพื้นที่ภาค 7 มีเรื่องกล่าวหาร้องเรียนที่อยู่ระหว่างไต่สวนข้อเท็จจริงทั้งหมด 263เรื่อง ดำเนินการแล้วเสร็จ 22เรื่อง คงเหลือ 241 เรื่อง ซึ่งกลุ่มคดีที่มีจำนวนมากที่สุดที่อยู่ระหว่างไต่สวนข้อเท็จจริงคือ จัดซื้อจัดจ้าง มีจำนวนทั้งสิ้น 71 เรื่อง

     ส่วนเรื่องที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติชี้มูลมีจำนวนทั้งสิ้น 22 เรื่อง ชี้มูลความผิดทางอาญาและวินัย 14 เรื่อง ชี้มูลความผิดทางวินัย 1 เรื่อง ชี้มูลความผิดทางอาญา 3 เรื่อง ชี้มูลว่าร่ำรวยผิดปกติ 1 เรื่อง ข้อกล่าวหาตกไป หรือยุติการสอบสวน 2 เรื่อง พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542  1 เรื่อง

         

  1.  ภารกิจด้านการตรวจสอบทรัพย์สิน

     ในไตรมาสที่ 1-2 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 สำนักงาน ป.ป.ช. ภาค 7 และสำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดในภาค 7 ได้ดำเนินการตรวจสอบบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน ประกอบด้วย การตรวจสอบปกติ การตรวจสอบยืนยัน และการตรวจสอบเชิงลึก ซึ่งคณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติกรณีตรวจสอบปกติแล้วจำนวนทั้งสิ้น 1,322 บัญชี ตรวจสอบยืนยันจำนวน 29 ราย และการตรวจสอบเชิงลึก 8 ราย

  1. ภารกิจด้านการป้องกันการทุจริต

     ในไตรมาสที่ 1-2 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 สำนักงาน ป.ป.ช. ภาค 7 และสำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดในภาค 7 ร่วมกันดำเนินงานในเชิงรุกกับเครือข่ายภาคประชาชน STRONG – จิตพอเพียงต้านทุจริตและหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง เพื่อป้องปรามการทุจริต อันจะทำให้คดีทุจริตในพื้นที่ลดลง ผ่านโครงการสำคัญๆ เช่น STRONG – จิตพอเพียงต้านทุจริต  โครงการต้านและลดการทุจริตด้วยกลไก สหยุทธ์ เฉพาะกรณีพื้นที่เสี่ยงต่อการทุจริต(STRONG : Together against Corruption – TAC)   โครงการแก้ไขปัญหาการทุจริตในพื้นที่ และโครงการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity and Transparency Assessment: ITA)  อย่างไรก็ตาม ถ้าหากตรวจพบพฤติการณ์ที่ส่อทุจริต ก็จะดำเนินการที่เกี่ยวข้องกับการปราบปรามต่อไป

Related