Contrast
Font
172821f631365e8e4fdb38bd0ca10e10.jpg

ป.ป.ช. แพร่ ปักหมุดพื้นที่เสี่ยงประเด็นเหตุภัยพิบัติทางธรรมชาติ (อุทกภัย) ในพื้นที่จังหวัดแพร่ เน้นรวบรวมข้อมูลปัญหา/อุปสรรค/วิเคราะห์แนวทางเพื่อลดความเสี่ยงต่อการทุจริต

จากไชต์: สำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดแพร่
จำนวนผู้เข้าชม: 67

20/03/2568

เมื่อวานนี้ (วันพุธที่ 20 มีนาคม 2568) เวลา 09.00 น. กลุ่มงานป้องกันการทุจริต สำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดแพร่ จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการปักหมุดแผนที่พื้นที่เสี่ยงต่อการทุจริตในพื้นที่จังหวัด ประเด็นความเสี่ยงต่อการทุจริตที่เกี่ยวกับเหตุภัยพิบัติทางธรรมชาติ (อุทกภัย) ในพื้นที่จังหวัดแพร่ โดยมี ผู้บริหารและผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง อาทิ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่จังหวัดแพร่ สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัดแพร่ โครงการชลประทานจังหวัดแพร่ สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดแพร่ ที่ทำการปกครองอำเภอเมืองแพร่ รวมทั้งภาคประชาชนในพื้นที่จังหวัดแพร่ ได้แก่ ผู้แทนชุมชน สมาคม/มูลนิธิกู้ภัย ชมรม STRONG – จิตพอเพียงต้านทุจริตจังหวัดแพร่ ผู้แทนสภาอุตสาหกรรมจังหวัดแพร่ ผู้แทนสื่อมวลชน และข้าราชการ บุคลากร จ้าหน้าที่ของสำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดแพร่ เข้าร่วมการประชุมฯ ในครั้งนี้ จำนวนทั้งสิ้น 200 คน ณ ห้องสักทอง ชั้น 2 โรงแรมแม่ยมพาเลส อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่

 

สำหรับจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการปักหมุดแผนที่พื้นที่เสี่ยงต่อการทุจริตในพื้นที่จังหวัด ประเด็นความเสี่ยงต่อการทุจริตที่เกี่ยวกับเหตุภัยพิบัติทางธรรมชาติ (อุทกภัย) ในพื้นที่จังหวัดแพร่ จัดขึ้นภายใต้โครงการปักหมุดพื้นที่เสี่ยงต่อการทุจริต สำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดแพร่ เพื่อให้เกิดการวิเคราะห์ความเสี่ยงต่อการทุจริต  เชิงลึกในระดับพื้นที่ ทั้งประเด็นปัญหาความเสี่ยงต่อการทุจริตที่เกิดขึ้นต่อเนื่องเรื้อรัง และประเด็นความเสี่ยงต่อการทุจริตที่เกิดขึ้นอย่างเฉียบพลันในทุกประเภท ผ่านการประชุมเชิงปฏิบัติการฯ ร่วมกับ หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน เครือข่ายภาคประชาชน STRONG - จิตพอเพียงต้านทุจริตและเครือข่ายอื่น ๆ ในพื้นที่ โดยมีประเด็นความเสี่ยงต่อการทุจริตที่เกี่ยวกับเหตุภัยพิบัติทางธรรมชาติ (อุทกภัย) ในพื้นที่จังหวัดแพร่ เพื่อรวบรวมข้อมูลปัญหา อุปสรรค และวิเคราะห์แนวทางแก้ไขปัญหาเพื่อลดความเสี่ยง

 

ทั้งนี้โครงการปักหมุดพื้นที่เสี่ยงต่อการทุจริต เป็นโครงการต่อเนื่องซึ่งเริ่มต้นดำเนินการตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 จนถึงปัจจุบัน โดยเป็นโครงการลักษณะกลางน้ำ ที่เป็นโครงการในเชิงการเก็บรวบรวมข้อมูลและแสวงหาแนวทางการต่อต้านการทุจริตจากข้อมูลจริงในพื้นที่ ผ่านกระบวนการวิเคราะห์โดยใช้หลักการประเมินความเสียง (Risk Assessment) และการคาดการณ์อนาคต (Scenario Analysis) โดยกลุ่มผู้เข้าร่วมให้ข้อมูลคือเครือข่ายชมรม STRONG - จิตพอเพียงต้านทุจริตในทุกจังหวัดซึ่งเป็นผู้ทำงานใกล้ชิดกับสำนักงาน ป.ป.ช. ร่วมกันกับเจ้าหน้าที่และผู้บริหารสำนักงาน ป.ป.ช. ร่วมรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ความเสี่ยงคาดการณณ์อนาคต ร่วมกัน และติดตามผลความคืบหน้าการแก้ไขปัญหาหมุดความเสียงให้มีความเสียงลดลงหรือหากแก้ไขไม่สำเร็จก็นำไปสู่การดำเนินคดีในดีในที่สุด ซึ่งจากที่ประชุมคณะกรรมการส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนและหน่วยงานของรัฐมีส่วนร่วมในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต โดยการแต่งตั้งขึ้นตามมาตรา 33 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 ได้มีความเห็นถึงแนวทางการพัฒนาโครงการฯ ไปสู่การขยายผลผู้เข้าร่วมที่มาจากกลุ่มเครือข่ายเด็กและเยาวชนในพื้นที่เป้าหมาย ในประเด็นความเสี่ยงต่อการทุจริตใกล้ตัวและความเสี่ยงต่อการทุจริตที่เกิดขึ้นในชุมชน และยังมีการขยายผลไปยังกลุ่มข้าราชการ พนักงานของรัฐ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในประเด็นหมุดในอดีตที่มีแนวโน้มเกิดขึ้นซ้ำจากทั่วประเทศจากข้อมูลหมุดความเสี่ยงต่อการทุจริตในอดีต โดยกำหนดเป็นประเด็นความเสี่ยง ดังนี้

  1. ความเสี่ยงการทุจริตการใช้จ่ายงประมาณและการจัดซื้อจัดจ้าง (การใช้จ่ายงบประมาณในการจัดจ้างโครงการก่อสร้างซ่อมแซมสาธารณูปโภคพื้นฐานหรือโครงการในลักษณะโครงการขนาดเล็กที่ดำเนินการเป็นประจำทุกปี, การใช้จ่ายงบประมาณในการจัดซื้อวัสดุ ครุภัณฑ์ การฝึกอบรม ประชุม สัมมนา, การดำเนินโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่เพื่อการพัฒนาพื้นที่)
  2. ความเสี่ยงการทุจริตทรัพยากรธรรมชาติ (เกี่ยวกับทรัพยากรดิน ทราย แร่, เกี่ยวกับการครอบครองที่ดินของรัฐ, เกี่ยวกับน้ำผิวดิน น้ำบาดาล ทะเลและชายฝั่ง)
  3. ความเสี่ยงการทุจริตการอนุมัติ อนุญาต การแต่งตั้งโยกย้าย และการบริหารจัดการภายในองค์กร

 

 

สำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดแพร่ : ภาพ
นายชัยวัลย์ ตันสุหัช : ข่าว
นางสาวขวัญข้าว แสนบ่อ : เรียบเรียง
กลุ่มงานป้องกันการทุจริต สำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดแพร่

Related