Contrast
Font
banner_default_3.jpg

โครงการยกระดับคะแนนดัชนีการรับรู้การทุจริตของประเทศไทย ด้วยกลไกสหยุทธ์ (The STRONG Together against Corruption (TaC Team) to enhance Corruption Perceptions Index : CPI)

จากไชต์: สำนัก มาตรการเชิงรุกและนวัตกรรม
จำนวนผู้เข้าชม: 1394

11/11/2565

โครงการยกระดับคะแนนดัชนีการรับรู้การทุจริตของประเทศไทย
ด้วยกลไกสหยุทธ์ (The STRONG Together against
Corruption (TaC Team) to enhance
Corruption Perceptions Index : CPI)

(ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566)

 

Workshop #1 วันที่ 28 พฤศจิกายน 2565

ประเด็น การอนุมัติ อนุญาต

Workshop #2 วันที่ 19 ธันวาคม 2565

ประเด็น สินบน

 Workshop #3 วันที่ 18 มกราคม 2566
หัวข้อ กระบวนการและมาตรการในการคุ้มครองผู้แจ้งเบาะแส (Whistle Blower)
ในคดีทุจริต

 Workshop #4 วันที่ 19 มกราคม 2566
ประเด็น การขัดกันแห่งผลผระโยชน์

 

 

รายละเอียดโครงการ

1. ความเป็นมา

               คณะกรรมการ ป.ป.ช. ในการประชุมครั้งที่ 110/2565 เมื่อวันที่ 29 กันยายน 2565 ได้มีมติอนุมัติแผนปฏิบัติการและแผนการใช้งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 โครงการยกระดับคะแนนดัชนีการรับรู้การทุจริตของประเทศไทย ด้วยกลไกสหยุทธ์ (The STRONG Together against Corruption (TaC Team) to enhance Corruption Perceptions Index : CPI) ดำเนินการ โดย สำนักมาตรการเชิงรุกและนวัตกรรม สำนักงาน ป.ป.ช. วงเงินงบประมาณ 802,600 บาท (แปดแสนสองพันหกร้อยบาทถ้วน)

2. หลักการเหตุผล 

               การประเมินคะแนนดัชนีการรับรู้การทุจริต (Corruption Perception Index : CPI) เป็นการประเมินจากหลายมิติ ได้แก่ มิติด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริต มิติด้านสิทธิเสรีภาพของพลเมืองมิติด้านความมั่นคงและความมีเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองของประเทศ มิติด้านปัจจัยที่เอื้ออำนวยต่อการดำเนินธุรกิจ เช่น ประสิทธิภาพการดำเนินงานของภาครัฐ กฎหมาย และระเบียบที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ และมิติด้านกระบวนการยุติธรรม ดังนั้น การที่จะเพิ่มคะแนนความโปร่งใสของประเทศจึงมิใช่การมุ่งเน้นมิติด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริตเพียงมิติเดียว หากแต่ควรให้ความสำคัญกับมิติด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องดังกล่าวด้วย

               คณะรัฐมนตรีในคราวประชุมเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2563 มีมติรับทราบข้อเสนอแนะเพื่อยกระดับคะแนนดัชนีการรับรู้การทุจริต (CPI) ระยะที่ 3 ตามที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. เสนอ
และมอบหมายให้สำนักงาน ป.ป.ท. เป็นหน่วยงานหลักร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หารือร่วมกับสำนักงาน ป.ป.ช. เพื่อพิจารณาดำเนินการให้เป็นไปตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการ ป.ป.ช.

               ข้อเสนอแนะเพื่อยกระดับคะแนนดัชนีการรับรู้การทุจริต (CPI) ระยะที่ 3 ประกอบด้วยข้อเสนอแนะ 2 ส่วน ได้แก่
               1) ข้อเสนอแนะขององค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ (Transparency International: TI) ซึ่งได้ให้คำแนะนำต่อประเทศต่าง ๆ ในการปรับปรุงคะแนน CPI ให้ดีขึ้น และ
               2) ข้อเสนอแนะจากการวิเคราะห์ 9 แหล่งข้อมูล ซึ่งสำนักงาน ป.ป.ช. ได้ทำการวิเคราะห์ประเด็นคำถามจากแหล่งข้อมูล 9 แหล่ง ที่ใช้ในการประเมินคะแนน CPI ของประเทศไทย และจัดเป็นประเด็นข้อเสนอแนะจำนวน 5 ประเด็น พร้อมหน่วยงานเจ้าภาพหลักและหน่วยงานร่วมรับผิดชอบการดำเนินงานที่เกี่ยวข้อง ครอบคลุมทุกมิติการประเมินดังที่กล่าวข้างต้น

               แต่เนื่องจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีหลายหน่วยงาน และแต่ละหน่วยงานมีบทบาทและภารกิจแตกต่างกันไปตามหน้าที่และอำนาจของตน ดังนั้น จึงเห็นควรดำเนินการเพื่อบูรณาการและส่งเสริมให้หน่วยงานต่าง ๆ ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2563 ตลอดจนหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้ร่วมกันกำหนดและพัฒนาข้อตกลงร่วมในการดำเนินการตามแนวทางการยกระดับคะแนนดัชนีการรับรู้การทุจริต (CPI) ของประเทศไทยอย่างมีประสิทธิภาพ ภายใต้โครงการยกระดับคะแนนดัชนีการรับรู้การทุจริตของประเทศไทย ด้วยกลไกสหยุทธ์ (The STRONG Together against Corruption (TaC Team) to enhance Corruption Perceptions Index : CPI)

3. วัตถุประสงค์

               3.1 เพื่อวิเคราะห์ผลการดำเนินการของหน่วยงานตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2563 ตลอดจนปัญหา อุปสรรค และแนวทางการพัฒนาประสิทธิภาพการดำเนินงานตามประเด็นข้อเสนอแนะ 5 ประเด็น ของคณะกรรมการ ป.ป.ช.
               3.2 เพื่อกำหนดข้อตกลงร่วมในการดำเนินการตามแนวทางการยกระดับคะแนนดัชนี
การรับรู้การทุจริต (CPI) ของประเทศไทย ระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามประเด็นข้อเสนอแนะ 5 ประเด็น ของคณะกรรมการ ป.ป.ช.

4. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

               4.1 สำนักงาน ป.ป.ช. ได้รับทราบปัญหา อุปสรรค และแนวทางการพัฒนาการดำเนินการให้เป็นไปตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
               4.2 สำนักงาน ป.ป.ช. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามประเด็นข้อเสนอแนะ 5 ประเด็น
ได้ข้อตกลงร่วมในการดำเนินการตามแนวทางการยกระดับคะแนนดัชนีการรับรู้การทุจริตขอ'ประเทศไทย

5. เป้าหมายของโครงการ

               ข้อตกลงร่วมระหว่างสำนักงาน ป.ป.ช. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างน้อย 5 หน่วยงาน (ตามประเด็นข้อเสนอแนะ 5 ประเด็น) ในการดำเนินการตามแนวทางการยกระดับคะแนนดัชนีการรับรู้การทุจริตของประเทศไทย


>ดาวน์โหลดเอกสารประกอบ<


>>Workshop #1 : 28 พฤศจิกายน 2565 ประชุมเชิงปฏิบัติการ ประเด็น การอนุมัติ อนุญาต<<


>>Workshop #2 : 19 ธันวาคม 2565 ประชุมเชิงปฏิบัติการ ประเด็น สินบน<<

 

>>Workshop #3 : 18 มกราคม 2566 กระบวนการและมาตรการในการคุ้มครองผู้แจ้งเบาะแส (Whistle blower) ในคดีทุจริต<<

 

>>Workshop #4 การสัมมนาวิชาการเพื่อยกระดับคะแนนดัชนีการรับรู้การทุจริตของประเทศไทย ประเด็น การขัดกันแห่งผลประโยน์<<

 

Related