จากไชต์: สำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดสุพรรณบุรี
จำนวนผู้เข้าชม: 134
วันพุธที่ 31 มกราคม 2567 นายนิติศักดิ์ วงษ์ศรี ผู้อำนวยการสำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดสุพรรณบุรี เป็นประธานกล่าวเปิดการประชุมกิจกรรมการระดมความคิดเห็น เพื่อจัดทำและขับเคลื่อนแนวทาง ข้อเสนอแนะหรือมาตรการการแก้ไขปัญหาการทุจริตในพื้นที่กรณีการขุดลอกแหล่งน้ำ โดยมีหน่วยงานเข้าร่วม ได้แก่ สำนักงาน ป.ป.ช. ภาค ๗ สำนักงานโยธาธิการและผังเมืองจังหวัดสุพรรณบุรี สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัดสุพรรณบุรี สำนักงานที่ดินจังหวัดสุพรรณบุรี องค์การบริหารส่วนจังหวัดสุพรรณบุรี โครงการชลประทานสุพรรณบุรี องค์การบริหารส่วนตำบลหัวเขา องค์การบริหารส่วนตำบลโคกช้าง และชมรม STRONG – จิตพอเพียงต้านทุจริต จังหวัดสุพรรณบุรี โดยได้รวบรวมความคิดเห็น จากผู้แทนของแต่ละหน่วยงานดังกล่าว สรุปประเด็นปัญหาและความเสี่ยงต่อการทุจริต พร้อมทั้งแนวทางการขับเคลื่อนออกมาได้เป็น 7 ประเด็น ดังนี้
ประเด็นปัญหา |
แนวทางการขับเคลื่อนเพื่อป้องปรามหรือเฝ้าระวังปัญหาการทุจริต ในพื้นที่จังหวัดสุพรรณบุรี กรณีการขุดลอกแหล่งน้ำ |
1. ด้านการสำรวจพื้นที่ เพื่อออกแบบ และประมาณการ - การสำรวจออกแบบไม่สอดคล้องกับสภาพพื้นที่ที่ดำเนินการ - หน่วยงานเจ้าของโครงการที่จะทำการขุดลอกเป็นผู้สำรวจ และส่งข้อมูลการสำรวจไปให้หน่วยงานที่กำกับดูแล - ความคลาดเคลื่อนกับสภาพพื้นที่ดำเนินการและการสำรวจของหน่วยงาน |
- กำชับบุคลากรที่รับผิดชอบในการสำรวจออกแบบให้ดำเนินการลงพื้นที่สำรวจ ตรวจ วัด สภาพพื้นที่หน้างานจริง กำหนดแนวและระยะทางของร่องน้ำที่จะทำ - แบบขุดลอกอาจกำหนดค่าระดับดินเดิมท้องคลองไว้เป็นจุดๆ โดยแต่ละจุดอาจห่างกัน 25 เมตร หรือ 50 เมตร (ซึ่งแต่ละจุดจะเรียกว่า Station โดยจุดเริ่มต้นโครงการคือ Station 0+000 จุดถัดไปคือ Station 0+025) - แบบขุดลอกอาจกำหนดค่าระดับท้องคลองเป็นค่าระดับลึกเดิมเฉลี่ย และแบบขุดลอกมีรูปตัดขวางของคลอง (Cross section) เพียง 1 รูปคณะกรรมการตรวจรับควรให้ - ในการออกแบบการขุดลอก ไม่ได้กำหนดรูปแบบและวิธีการหรือคุณลักษณะ |
2. ด้านการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน
|
เปิดโอกาสให้ประชาชนผู้มีส่วนได้เสียในการดำเนินการของภาครัฐได้เข้ามารับรู้ข้อมูลข่าวสาร ได้มีโอกาสมาแสดงความคิดเห็น แสดงความห่วงกังวลต่อแนวทาง |
๓. จุดเริ่มต้น จุดสิ้นสุดจุดอ้างอิงของโครงการ
|
หน่วยงานเจ้าของโครงการพิจารณาจุดขุดลอกจริงว่าตรงกับจุดเริ่มต้น จุดสิ้นสุดโครงการ หมุดหลักฐาน (BM.) ตรงตามที่แบบกำหนด จัดทำเอกสาร และถ่ายรูป |
๔. การกำหนดจุดกองดิน |
ควรกำหนดสถานที่ในการกอง กรวด หิน ดิน ทราย จากการขุดลอก ให้กับผู้รับจ้างอย่างชัดเจน และควรเป็นสถานที่ที่คณะกรรมการตรวจรับพัสดุสามารถดำเนินการตรวจสอบได้ว่ามีปริมาณงานถูกต้องตามที่ระบุในสัญญาหรือไม่ |
๕. กำชับแนวทางการปฏิบัติ |
แนวทางการดำเนินการตามนโยบายขุดลอกแหล่งน้ำสาธารณประโยชน์ที่ตื้นเขิน
|
๖. การขาดความรู้ความเข้าใจด้านช่างของคณะกรรมการตรวจรับพัสดุ |
ให้หน่วยงานผู้ดำเนินโครงการ บูรณาการร่วมกับ สำนักงานที่ดิน โครงการชลประทาน สำนักงานโยธาธิการและผังเมือง เพื่อพัฒนาองค์ความรู้เกี่ยวกับการขุดลอกแหล่งน้ำในการตรวจรับพัสดุ และพิจารณามอบหมายบุคลากร
|
๗. การเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ |
จะต้องมีการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร การประชาสัมพันธ์ การดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ ไปสู่สาธารณชน ให้มีความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับ การดำเนินงาน |