ป.ป.ช.พังงา ร่วมมือกับหน่วยงานด้านการศึกษา ขับเคลื่อนหลักสูตรต้านทุจริตในระดับพื้นที่จังหวัดพังงา เปิดเวทีนำเสนอโรงเรียนที่มีแนวปฏิบัติที่ดีในการขับเคลื่อนหลักสูตรต้านทุจริตศึกษา ปีการศึกษา 2567 (Best Practice)
วันที่ 12 ธันวาคม 2567 นางสาวศุภาลักษณ์ จิรักษา ผู้อำนวยการสำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดพังงา เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการขับเคลื่อนหลักสูตรต้านทุจริตศึกษา และประเมินพฤติกรรมเด็กและเยาวชน กิจกรรมที่ 1 ถอดบทเรียนการขับเคลื่อนหลักสูตรต้านทุจริตศึกษาในระดับพื้นที่ ณ ห้องประชุมโรงแรมเลอ เอราวัณพังงา อำเภอเมืองพังงา จังหวัดพังงา
โดยโครงการฯ นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาความร่วมมือและการมีส่วนร่วมกับหน่วยงานด้านการศึกษาที่เกี่ยวข้องในการนำหลักสูตรต้านทุจริตศึกษาไปใช้ และเกิดการพัฒนาแนวทางการขับเคลื่อนหลักสูตรต้านทุจริตศึกษาให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น รวมถึงเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์การจัดการเรียนการสอน
กลุ่มเป้าหมายประกอบด้วยผู้บริหารสถานศึกษา ครูและบุคลากรทางการศึกษา พร้อมด้วยหน่วยงานต้นสังกัดสถานศึกษาประกอบด้วย สพป.พังงา สพม.พังงา ภูเก็ต ระนองและศึกษาธิการจังหวัดพังงา จำนวน 40 คน
การดำเนินกิจกรรมมีการบรรยายให้ความรู้โดยเจ้าหน้าที่ ป.ป.ช. ประจำจังหวัดพังงา ในหัวข้อ
- ที่มาและความสำคัญของหลักสูตรต้านทุจริตศึกษา
- การรายงานผลการกำกับติดตามการขับเคลื่อนหลักสูตรฯ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567
- แนวทางการขับเคลื่อนหลักสูตรต้านทุจริตศึกษา ประจำปี 2568
- การแนะนำการใช้งานระบบโรงเรียนพร้อม
- การแนะนำการใช้งานระบบแพลตฟอร์มต้านทุจริตศึกษา
นอกจากนี้สำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดพังงา ได้รับเกียรติจากโรงเรียนจากทั้งสามสังกัดสถานศึกษาซึ่งได้รับคัดเลือกเป็นโรงเรียนที่มีแนวปฏิบัติที่ดีในการขับเคลื่อนหลักสูตรต้านทุจริตศึกษา ปีการศึกษา 2567 (Best Practice) เพื่อเป็นต้นแบบในการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องในการขับเคลื่อนหลักสูตรต้านทุจริตศึกษาให้แก่สถานอื่นๆในจังหวัดพังงา ประกอบด้วย
1. สังกัด สพป.พังงาโรงเรียนวัดประชาธิการาม
2. สังกัด สพม.พังงา ภูเก็ต ระนองโรงเรียนตะกั่วป่าคีรีเขต
3. สังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดพังงาโรงเรียนบุญแสวงวิทยา โรงเรียนโรงเรียนตัรบียะห์อิสลามียะห์
สรุปการการระดมความคิดเห็นเรื่องแนวทางการขับเคลื่อนหลักสูตรต้านทุจริตศึกษา ประจำปี 2568 ทุกโรงเรียนในพื้นที่จังหวัดพังงา จะดำเนินการเปิดรายวิชาเพิ่มเติม (การป้องกันการทุจริต) ให้ได้
อีกทั้งในช่วงท้ายของการจัดกิจกรรมได้มีการรับฟังข้อคิดเห็น การสะท้อนปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะจากผู้ศึกษานิเทศก์ ผู้บริหารสถานศึกษา ครูและบุคลากรทางการศึกษา เพื่อนำไปปรับปรุงแก้ไขและยกระดับหลักสูตรต้านทุจริตศึกษาให้มีความเหมาะสมในการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนต่อไป