จากไชต์: สำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดสระแก้ว
จำนวนผู้เข้าชม: 1654
ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิขอบภาค 2 มีคำพิพากษา กรณีความผิดต่อพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ
คำวินิจฉัยคณะกรรมการ ป.ป.ช.
มติครั้งที่ 20/2565 เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2565
เรื่องกล่าวหานายเด่นชัย วิสุทธิ์วุฒิพงศ์หรือวิสุทธิ์วุฒิพงษ์ จำเลย อดีตพนักงานขับเครื่องจักรกลขนาดเล็ก สังกัดกองช่าง องค์การบริหารส่วนจังหวัดสระแก้ว ความผิดต่อพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ ตกลงร่วมกันในการเสนอราคา เพื่อวัตถุประสงค์ที่จะให้ประโยชน์แก่ผู้ใดผู้หนึ่งเป็นผู้มีสิทธิทำสัญญากับหน่วยงานของรัฐ โดยหลีกเสี่ยงการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรม หรือโดยการก็ดกันมีให้มีการเสนอสินค้าหรือบริการอื่นต่อหน่วยงานของรัฐ หรือโดยการเอาเปรียบแก่หน่วยงานของรัฐอันมีใช่เป็นไปในทางประกอบธุรกิจปกติ และฐานเป็นเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานของรัฐผู้ใดกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้หรือกระทำการใด ๆ โดยมุ่งหมายมิให้มีการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรม เพื่อเอื้ออำนวยแก่ผู้เข้าทำการเสนอราคารายใดให้เป็นผู้มีสิทธิทำสัญญากับหน่วยงานของรัฐ
มีมูลความผิดทางอาญา
ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542 มาตรา 4 และมาตรา 12 แต่ความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542 มาตรา 4 ได้ขาดอายุความแล้ว สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39 (6) จึงให้ยุติการดำเนินคดีอาญาในความผิดฐานดังกล่าว และการกระทำของนายเด่นชัย วิสุทธิ์วุฒิพงษ์ ผู้ถูกกล่าวหาที่ 1 มีมูลความผิดทางวินัยอย่างร้ายแรงฐานไม่ปฏิบัติหน้าที่ราชการให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบของทางราชการ มติคณะรัฐมนตรี นโยบายของรัฐบาลเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ทางราชการอย่างร้ายแรง ตามประกาศคณะกรรมการข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัดสระแก้ว ฉบับลงวันที่ 3 ธันวาคม 2544 ข้อ 6 ประกอบประกาศคณะกรรมการข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัด จังหวัดสระแก้ว เรื่อง หลักเกณฑ์และเงื่อนไขเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลขององค์การบริหารส่วนจังหวัด ข้อ 389
ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบภาค 2
คดีหมายเลขดำที่ อท 104/2565
คดีหมายเลขแดงที่ อท 19/2566
คำพิพากษา
จำเลยมีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ 2542 มาตรา 12 ซึ่งศาลจะลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกินห้าปี ไม่ปรากฏว่าจำเลยเคยรับโทษจำคุกมาก่อน เมื่อคำนึงถึงพฤติการณ์แห่งคดี และความประพฤติของจำเลย ประกอบกับปัจจุบันจำเลยอายุกว่าหกสิบปีแล้ว ทั้งยังมีโรคประจำตัวต้องได้รับการตรวจรักษาจากแพทย์เป็นประจำอย่างต่อเนื่อง กรณีมีเหตุอันควรปรานี สมควรให้โอกาสจำเลยประพฤติตนเป็นพลเมืองดีต่อไป การกระทำอันเป็นความผิดของจำเลยตามบทมาตราดังกล่าวให้รอการกำหนดโทษไว้มีกำหนด 3 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56.