Contrast
Font
main_old_19020_n20180524_19020.jpg

ป.ป.ช. จัดโครงการปลูกฝังวิธีคิดแยกแยะผลประโยชน์ส่วนตัวและและผลประโยชน์ส่วนรวม จิตพอเพียง ความอาย และไม่ทนต่อการทุจริต ประจำปี 2561 สำหรับครูอนุบาลและครูประถม ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตพื้นที่จังหวัดนนทบุรี และจังหวัดปทุมธานี

จากไชต์: สำนักงานคณะกรรมการป้องกัน และปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (สำนักงาน ป.ป.ช.) สนามบินน้ำ
จำนวนผู้เข้าชม: 228

24/05/2561


ป.ป.ช. จัดโครงการปลูกฝังวิธีคิดแยกแยะผลประโยชน์ส่วนตัวและและผลประโยชน์ส่วนรวมจิตพอเพียง ความอาย และไม่ทนต่อการทุจริต ประจำปี 2561 สำหรับครอนุบาลและครูประถมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตพื้นที่จังหวัดนนทบุรี และจังหวัดปทุมธานี
สำนักงาน ป.ป.ช. ได้ดำเนินโครงการปลูกฝังวิธีคิดแยกแยะผลประโยชน์ส่วนตัวและผลประโยชน์ส่วนรวม จิตพอเพียง ความอาย และไม่ทนต่อการทุจริต
ซึ่งเป็นโครงการตามยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต
ระยะที่ 3 (พ.ศ. 2560 - 2564) ยุทธศาสตร์ที่ 1 สร้างสังคมที่ไม่ทนต่อการทุจริต
โดยมีวัตถุประสงค์ในการสร้างและยกระดับการรับรู้การทุจริตของประเทศไทยผ่านการสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในทุกช่วงวัยและในทุกสถานะ
ตั้งแต่ระดับปฐมวัย และพัฒนาต่อเนื่องในทุกช่วงวัยและในทุกกลุ่มทางสังคม
โดยมีผู้เข้ารับการอบรมเป็นครูอนุบาล และครูประถม ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ในเขตพื้นที่จังหวัดนนทบุรี และจังหวัดปทุมธานี จำนวนประมาณ 200 คน
โดยในวันที่ 1 การอภิปรายกลุ่ม เรื่อง \\\"การใช้หลักสูตร
สื่อการเรียนรู้และคู่มือ
ในการปลูกฝังวิธีคิดแยกแยะผลประโยชน์ส่วนตัวและผลประโยชน์ส่วนรวม
ความอาย และไม่ทนต่อการทุจริตสำหรับครู” โดย วิทยากรจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานและต่อด้วยการบรรยาย เรื่อง \\\"การคิดแยกแยะผลประโยชน์ส่วนตัวและประโยชน์ส่วนรวม” โดยนายอุทิศ บัวศรีผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช.
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อปรับฐานความคิดให้มีค่านิยมร่วมต้านทุจริต
มีจิตสาธารณะและสามารถแยกแยะระหว่างผลประโยชน์ส่วนตัวและผลประโยชน์ส่วนรวมได้
สำหรับวันที่ 2
เป็นการบรรยาย เรื่อง \\\"การประยุกต์หลักความพอเพียงด้วยโมเดล STRONG : จิตพอเพียงต้านทุจริต”
และการอภิปรายกลุ่ม เรื่อง \\\"ความไม่ทนและความอายต่อการทุจริต”โดยรศ.ดร. มาณี ไชยธีรานุวัฒศิริ ที่ปรึกษาประธานกรรมการ ป.ป.ช.
รูปแบบกิจกรรม ประกอบด้วย การแบ่งกลุ่มอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
ซักซ้อมความเข้าใจและหาข้อสรุปร่วมกันเกี่ยวกับกรอบความคิด (Concept) การประยุกต์หลักความพอเพียงด้วยโมเดล STRONG จิตพอเพียงต้านทุจริต
ความไม่ทนและความอายต่อการทุจริต จากนั้นแต่ละกลุ่มระดมความคิดเห็นร่วมกัน
เพื่อกำหนดวิธีการและกิจกรรมขยายผล องค์ความรู้เกี่ยวกับหลักความพอเพียงด้วยโมเดล STRONG จิตพอเพียงต้านทุจริตความไม่ทนและความอายต่อการทุจริต

















Related