Contrast
Font
75b597bddb116fd25b33814e9ccae242.jpg

ป.ป.ช. จัดกิจกรรมเนื่องในโอกาสครบรอบ “23 ปี ป.ป.ช. ไม่ทำ ไม่ทน ไม่เฉย รวมไทยต้านโกง”

จากไชต์: สำนักงานคณะกรรมการป้องกัน และปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (สำนักงาน ป.ป.ช.) สนามบินน้ำ
จำนวนผู้เข้าชม: 434

11/11/2565
ป.ป.ช. จัดกิจกรรมเนื่องในโอกาสครบรอบ “23 ปี ป.ป.ช. ไม่ทำ ไม่ทน ไม่เฉย รวมไทยต้านโกง”
--
สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (สำนักงาน ป.ป.ช.) ก่อตั้งตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 ภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 18 พฤศจิกายน 2542 เป็นต้นมา
.
ดังนั้น สำนักงาน ป.ป.ช. จึงถือเอาวันที่ 18 พฤศจิกายนของทุกปีเป็นวันสถาปนาสำนักงาน ป.ป.ช.
--
ตลอด 23 ปีที่ผ่านมา สำนักงาน ป.ป.ช. มุ่งมั่นสร้างสังคมที่ไม่ทนทุจริต ได้ทำหน้าที่ปราบปรามการทุจริตควบคู่กับการปลูกจิตสำนึกด้านคุณธรรมจริยธรรม โดยเน้นการทำงานแบบบูรณาการการมีส่วนร่วม จากทุกภาคส่วน มุ่งมั่นสร้างสังคมที่ไม่ทนต่อการทุจริตอย่างต่อเนื่อง
.
จากความพยายามสร้างสังคมที่ไม่ทนต่อการทุจริตดังกล่าว ส่งผลให้เกิดปรากฏการณ์ที่สำคัญหลายประการ อาทิ
.
1. มีการเฝ้าระวังและส่งเสียง (Watch and Voice) เมื่อพบเห็นความไม่ชอบมาพากลในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ เช่น กรณีเงินสงเคราะห์ผู้ยากไร้ (น้องแบม) และกรณีเงินทอนวัด เป็นต้น
.
2. ประชาชนทั่วประเทศช่วยกันเปิดโปงกรณีการทุจริตในพื้นที่จังหวัดของตน เช่น กรณีอาหารกลางวันเด็กนักเรียน
.
3. การมีคำพิพากษาของศาลเกี่ยวกับกรณีการใช้รถหลวงเพื่อประโยชน์ส่วนตน ซึ่งกรณีดังกล่าว จะเสริมพลังให้การปรับฐานคิดเกี่ยวกับการรู้จักแยกแยะประโยชน์ส่วนรวมและประโยชน์ส่วนตนที่สำนักงาน ป.ป.ช. กำลังผลักดันอยู่ประสบผลสำเร็จ
.
4. การร่วมกันตรวจสอบและติดตามมาตรการป้องกันการทุจริตในกรณีต่าง ๆ เช่น การรับแป๊ะเจี๊ยะ การทุจริตเกี่ยวกับนมโรงเรียน เป็นต้น ส่งเสริมมาตรการเสริม ได้แก่ การคุ้มครองพยาน การกันบุคคลไว้เป็นพยาน การจ่ายเงินสินบนเป็นรางวัลให้ผู้ชี้ช่อง แจ้งเบาะแส ให้ข้อมูล ให้ข้อเท็จจริงจนมีคำพิพากษาให้ทรัพย์สิน จากการกระทำผิดตกเป็นของแผ่นดิน รวมไปถึงการประเมินระดับคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (ITA) การสร้างเครือข่ายในการป้องกันการทุจริตกับภาคีต่าง ๆ เป็นต้น
--
ทั้งนี้ ตลอดระยะเวลา 23 ปี คณะกรรมการ ป.ป.ช. และบุคลากรทุกระดับพร้อมเดินหน้าปฏิบัติหน้าที่อย่างแข็งขัน เพื่อสร้างสังคมที่ไม่ทนทุจริต ภายใต้ค่านิยม “ซื่อสัตย์ เป็นธรรม มืออาชีพ โปร่งใส ตรวจสอบได้” เพื่อขจัดการทุจริตให้หมดไปจากสังคมไทย
.
หากพบเห็นการทุจริตของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง หรือเจ้าหน้าที่รัฐ แจ้งมาที่หมายเลข 1205 หรือร้องเรียนผ่านเว็บไซต์สำนักงาน ป.ป.ช. www.nacc.go.th หรือสำนักงาน ป.ป.ช.ประจำจังหวัด
--
ในโอกาสนี้ สำนักงาน ป.ป.ช. ได้กำหนดจัดงานเนื่องในโอกาสวันสถาปนาสำนักงาน ป.ป.ช. ครบรอบ 23 ปี ภายใต้แนวคิด “23 ปี ป.ป.ช. สร้างสังคมไทย ไม่ทนทุจริต” ในวันที่ 11 พฤศจิกายน 2565
--
โดยมีพิธีสงฆ์ กิจกรรมมอบรางวัล “เพชรน้ำเอก” สำหรับบุคคลภายใน รางวัลหน่วยงานในสังกัดสำนักงาน ป.ป.ช. ส่วนกลาง สำนักงาน ป.ป.ช. ภาค และสำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัด ที่มีผลงานดีเด่น และพิธีสักการะบูชาพระภูมิเจ้าที่ และเชิญชวนหน่วยงานภายในร่วมบริจาคเงินเพื่อการกุศลแก่ โรงพยาบาลชลประทานมูลนิธิ
แต่ด้วยสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ยังมีอยู่ จึงงดจัดกิจกรรมการแสดงความยินดี
--
สำหรับพิธีมอบรางวัลของสำนักงาน ป.ป.ช. แก่ข้าราชการดีเด่น ระดับ “เพชรน้ำเอก” ประจำปี 2565 มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ข้าราชการสำนักงาน ป.ป.ช. ที่ปฏิบัติงานดีเด่นและดำรงตนอยู่ในมาตรฐานคุณธรรมและจริยธรรมของข้าราชการที่ดีงามได้มีความภาคภูมิใจมีศักดิ์ศรี เป็นที่ยกย่องเชิดชูเกียรติยอมรับจากสังคมในการประพฤติตนและการปฏิบัติราชการด้วยความวิริยะอุตสาหะ และเพื่อนำเสนอภาพลักษณ์ที่ดีของสำนักงาน ป.ป.ช. ให้ปรากฏต่อสาธารณชน
.
โดยมีการพิจารณาคัดเลือก ดังนี้
- กลุ่มที่ 1 ตำแหน่งสาขากระบวนการยุติธรรม ตำแหน่งผู้อำนวยการกลุ่ม ได้แก่
นางดารณี ธรเสนา ผู้อำนวยการกลุ่มไต่สวน 3 สำนักไต่สวนการทุจริตภาคการเมืองและองค์กรตามรัฐธรรมนูญ
.
- กลุ่มที่ 2 ตำแหน่งทั่วไป ตำแหน่งผู้อำนวยการกลุ่ม ได้แก่ นางสาวปัทมา สุวรรณาภรณ์ ผู้อำนวยการกลุ่มอำนวยการภาค 1 สำนักงาน ป.ป.ช. ภาค 1
.
- กลุ่มที่ 3 ตำแหน่งสาขากระบวนการยุติธรรม ระดับต้น – ระดับสูง ผู้ได้รับการคัดเลือก ได้แก่ นายถิรวุฒิ ทิพย์เดโช พนักงานไต่สวน ระดับกลาง สำนักงาน ป.ป.ช. ภาค 5
.
- และกลุ่มที่ 4 ตำแหน่งทั่วไป ระดับปฏิบัติการ – ระดับชำนาญการพิเศษ และระดับปฏิบัติงาน – ระดับอาวุโส ผู้ได้รับการคัดเลือก ได้แก่ นายพงษ์พันธ์ โตสกุลไกร เจ้าพนักงานป้องกันการทุจริตชำนาญการ สำนักประเมินคุณธรรม และความโปร่งใส
--
นอกจากนี้ ยังมีรางวัลหน่วยงานในสังกัดสำนักงาน ป.ป.ช. ส่วนกลาง สำนักงาน ป.ป.ช. ภาค และสำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัด ที่มีผลงานดีเด่น ดังนี้
.
ผลการพิจารณาคัดเลือก สังกัดสำนักงาน ป.ป.ช. ส่วนกลาง ที่มีผลงานดีเด่น ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565
.
1. ประเภทหน่วยงานในสังกัดสำนักงาน ป.ป.ช. ส่วนกลาง “ภารกิจการปราบปรามการทุจริตดีเด่น” จำนวน 2 รางวัล
.
- 1.1 รางวัลดีเด่น ได้แก่ สำนักไต่สวนการทุจริตภาครัฐ 1
.
- 1.2 รางวัลดีเด่น ลำดับที่ 2 ได้แก่ สำนักไต่สวนคดีทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
.
2. ประเภทหน่วยงานในสังกัดสำนักงาน ป.ป.ช. ส่วนกลาง “ภารกิจการตรวจสอบทรัพย์สินดีเด่น” จำนวน 2 รางวัล
.
- 2.1 รางวัลดีเด่น ได้แก่ สำนักพัฒนาระบบตรวจสอบทรัพย์สิน
.
- 2.2 รางวัลดีเด่น ลำดับที่ 2 จำนวน ได้แก่ สำนักตรวจสอบทรัพย์สินภาครัฐและรัฐวิสาหกิจ 1
.
3. ประเภทหน่วยงานในสังกัดสำนักงาน ป.ป.ช. ส่วนกลาง “ภารกิจการป้องกันการทุจริตดีเด่น” จำนวน 2 รางวัล
.
- 3.1 รางวัลดีเด่น ได้แก่ สำนักเฝ้าระวังและประเมินสภาวการณ์ทุจริต
.
- 3.2 รางวัลดีเด่น ลำดับที่ 2 ได้แก่ สำนักส่งเสริมและบูรณาการการมีส่วนร่วมต้านทุจริต
.
4. ประเภทหน่วยงานในสังกัดสำนักงาน ป.ป.ช. ส่วนกลาง “ภารกิจสนับสนุนดีเด่น” จำนวน 2 รางวัล
.
- 4.1 รางวัลดีเด่น ได้แก่ สำนักสื่อสารองค์กร
.
4.2 รางวัลดีเด่น ลำดับที่ 2 ได้แก่ สำนักบริหารงานคลัง
.
5. ประเภทหน่วยงานในสังกัดสำนักงาน ป.ป.ช. ส่วนกลาง “หน่วยงานขึ้นตรงเลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. ดีเด่น” จำนวน 2 รางวัล
.
- 5.1 รางวัลดีเด่น ได้แก่ สำนักตรวจสอบภายใน
.
- 5.2 รางวัลดีเด่น ลำดับที่ 2 ได้แก่ สำนักบริหารงานกลาง
--
ผลการพิจารณาคัดเลือกสำนักงาน ป.ป.ช. ภาค และสำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดที่มีผลงานดีเด่นประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 จำนวน 11 รางวัล
.
1. ประเภทสำนักงาน ป.ป.ช. ภาคที่มีผลงานดีเด่น
.
- 1.1 รางวัลดีเด่น ได้แก่ สำนักงาน ป.ป.ช. ภาค 6
.
- 1.2 รางวัลดีเด่น ลำดับที่ 2 ได้แก่ สำนักงาน ป.ป.ช. ภาค 8
.
2. ประเภทสำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดขนาดใหญ่ที่มีผลงานดีเด่น
.
- 2.1 รางวัลดีเด่น ได้แก่ สำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดพิษณุโลก
.
- 2.2 รางวัลดีเด่น ลำดับที่ 2 ได้แก่ สำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดขอนแก่น
.
- 2.3 รางวัลดีเด่น ลำดับที่ 3 ได้แก่ สำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดชลบุรี
.
3. ประเภทสำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดขนาดกลางที่มีผลงานดีเด่น
.
- 3.1 รางวัลดีเด่น ได้แก่ สำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดตรัง
.
- 3.2 รางวัลดีเด่น ลำดับที่ 2 ได้แก่ สำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดลพบุรี
.
- 3.3 รางวัลดีเด่น ลำดับที่ 3 ได้แก่ สำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดสกลนคร
.
4. ประเภทสำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดขนาดเล็กที่มีผลงานดีเด่น
.
- 4.1 รางวัลดีเด่น ได้แก่ สำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดบึงกาฬ
.
- 4.2 รางวัลดีเด่น ลำดับที่ 2 ได้แก่ สำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดตราด
.
- 4.3 รางวัลดีเด่น ลำดับที่ 3 ได้แก่ สำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดอ่างทอง
--
ประมวลภาพกิจกรรมวันสถาปนาสำนักงาน ป.ป.ช. ครบรอบ 23 ปี วันศุกร์ที่ 11 พฤศจิกายน 2565

Related