Contrast
Font
e94ce95061fc3b21ff111421dc1e08a9.jpg

ป.ป.ช. จัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการแลกเปลี่ยนเรียนรู้สมาชิกชมรม STRONG สู่สังคมที่ไม่ทนต่อการทุจริต ภายใต้โครงการ STRONG-จิตพอเพียงต้านทุจริต พร้อมประเมินผลการดำเนินงานภารกิจป้องกันการทุจริตของส่วนปฏิบัติการพื้นที่ ภายใต้โครงการ TaC พื้นที่ภาคกลาง

จากไชต์: สำนักงานคณะกรรมการป้องกัน และปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (สำนักงาน ป.ป.ช.) สนามบินน้ำ
จำนวนผู้เข้าชม: 845

29/06/2566

ป.ป.ช. จัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการแลกเปลี่ยนเรียนรู้สมาชิกชมรม STRONG สู่สังคมที่ไม่ทนต่อการทุจริต ภายใต้โครงการ STRONG-จิตพอเพียงต้านทุจริต พร้อมประเมินผลการดำเนินงานภารกิจป้องกันการทุจริตของส่วนปฏิบัติการพื้นที่ ภายใต้โครงการ TaC พื้นที่ภาคกลาง

วันที่ 29-30 มิถุนายน 2566 สำนักงาน ป.ป.ช. โดย สำนักส่งเสริมและบูรณาการการมีส่วนร่วมต้านทุจริต (สสร.) จัดกิจกรรมสัมมนาเชิงปฏิบัติการแลกเปลี่ยนเรียนรู้สมาชิกชมรม STRONG-จิตพอเพียงต้านทุจริตสู่สังคมที่ไม่ทนต่อการทุจริต (ภาคกลาง) พร้อมประเมินผลการดำเนินงานภารกิจป้องกันการทุจริตของส่วนปฏิบัติการพื้นที่ โครงการต้านและลดทุจริตด้วยกลไกสหยุทธ์ เฉพาะกรณีพื้นที่เสี่ยงต่อการทุจริต (STRONG: Together against Corruption-TaC) พื้นที่ภาคกลาง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566


กิจกรรมสัมมนาเชิงปฏิบัติการแลกเปลี่ยนเรียนรู้สมาชิกชมรมฯ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ชมรม STRONG-จิตพอเพียงต้านทุจริต ร่วมกันแลกเปลี่ยนและแบ่งปันประสบการณ์ในการดำเนินกิจกรรมของชมรมฯ เพื่อสร้างกระบวนการเรียนรู้และต่อยอดผลการดำเนินงานที่ดี (Best Practice) ไปขยายผลสู่การดำเนินงานของชมรมฯ ในทุกพื้นที่ สสร. กำหนดจัดกิจกรรม รวม 4 ครั้ง (4 ภูมิภาค) โดยครั้งที่ 1 (ภาคกลาง) ระหว่างวันที่ 29-30 มิถุนายน 2566 ณ โรงแรมทีเค. พาเลซ แอนด์ คอนเวนชั่น ถนนแจ้งวัฒนะ เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร ประกอบด้วยผู้เข้าร่วมกิจกรรมฯ ซึ่งเป็นผู้แทนชมรม STRONG-จิตพอเพียงต้านทุจริต ในพื้นที่ภาค 1 ภาค 2 ภาค 7 และกรุงเทพมหานคร 6 กลุ่มโซน รวม 31 ชมรม

 

กิจกรรมดังกล่าว ได้รับเกียรติจาก พลตำรวจตรี อรุณ อมรวิริยะกุล รองเลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. เป็นประธานในพิธีมอบโล่เชิดชูเกียรติการมีส่วนร่วมต้านทุจริตแก่ ชมรม STRONG-จิตพอเพียงต้านทุจริต และนางแก้วตา ชัยมะโน ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. กล่าวต้อนรับผู้แทนชมรม STRONG-จิตพอเพียงต้านทุจริต ที่ให้ความสำคัญต่อการนำองค์ความรู้ ประสบการณ์จับตามองและแจ้งเบาะแส (Watch & Voice) ในพื้นที่มาร่วมกันแลกเปลี่ยน เพื่อขยายผลการดำเนินงานของชมรมฯ จังหวัดต่างๆ ให้มีประสิทธิภาพ รู้เท่าทันความเสี่ยงต่อการทุจริตในพื้นที่ของตน โดยมีรองศาสตราจารย์ ดร. มาณี ไชยธีรานุวัฒนศิริ ที่ปรึกษาประธานกรรมการ ป.ป.ช. นายธีรัตน์ บางเพ็ชร ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมและบูรณาการการมีส่วนร่วมต้านทุจริต นางสาวจุฑารัตน์ เหลืองเพิ่มสกุล ผู้อำนวยการสำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ นางสาวสุนันทา จำปาเงิน ผู้อำนวยการสำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดกาญจนบุรี นางสาวกาญจนา คำสุวรรณ ผู้อำนวยการสำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดตราด นายหิรัญ ไชยกันยา ผู้อำนวยการสำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดสระแก้ว นายจำเนียร มูลสาร ผู้อำนวยการสำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดจันทบุรี และ นายไชยวัฒน์ ภูนิละมัย ผู้อำนวยการสำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดระยอง ร่วมเป็นสักขีพยาน


นอกจากนี้ ผู้แทนชมรมฯ ทั้ง 25 จังหวัด และกรุงเทพมหานคร 6 กลุ่มโซน ได้รับฟังการบรรยายพิเศษ หัวข้อ“STRONG STRONGER STRONGEST อย่างยั่งยืน” โดยรองศาสตราจารย์ ดร. มาณี ไชยธีรานุวัฒนศิริ ที่ปรึกษาประธานกรรมการ ป.ป.ช. และร่วมการอภิปรายแบบ Symposium ประเด็น “STRONGER ด้วย Watch & Voice ลดเสี่ยงการทุจริต” ใน 3 หัวข้อหลัก ที่ชมรมฯ ทั่วประเทศลงพื้นที่จับตามองและแจ้งเบาะแสอย่างต่อเนื่อง


หัวข้อ “การจัดซื้อจัดจ้าง” โครงการชุมชนเข้มแข็งพัฒนาตนเองตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง พ.ศ. 2566 ทั้ง 50 เขต จำนวน 2,014 ชุมชน ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ซึ่งมีความเสี่ยงในประเด็นการจัดซื้อจัดจ้างสาธารณูปโภคพื้นฐาน และการขัดกันแห่งผลประโยชน์ โดยชมรม STRON-จิตพอเพียงต้านทุจริต กรุงเทพมหานคร


หัวข้อ “ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม” โครงการอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าชายเลนจังหวัดสมุทรปราการโดยใช้นวัตกรรมโกงกางเทียม ซึ่งอาจมีความเสี่ยงเรื่องการเข้าใช้พื้นที่ดำเนินโครงการ โดยยังไม่ได้รับอนุญาตจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยชมรม STRON-จิตพอเพียงต้านทุจริต จังหวัดสมุทรปราการ


หัวข้อ “การขัดกันแห่งผลประโยชน์” ประเด็น การบังคับใช้กฎหมายกรณีรถบรรทุกน้ำหนักเกินและไม่คลุมผ้าใบ โดยชมรม STRONG - จิตพอเพียงต้านทุจริต จังหวัดสระบุรี จากการลงพื้นที่ของชมรมฯ ส่งผลให้เกิดการบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด โดยสำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดสระบุรี และสำนักงานขนส่งจังหวัดสระบุรี เพื่อผลักดันการป้องปรามการทุจริตเชิงรุกในพื้นที่จังหวัดสระบุรี ยับยั้งความเสี่ยงเรื่องสินบน และปกป้องผลประโยชน์สาธารณะด้านการสัญจรของส่วนรวม

 

ช่วงการแบ่งกลุ่มเชิงปฏิบัติการแลกเปลี่ยนเรียนรู้สมาชิกชมรม STRONG-จิตพอเพียงต้านทุจริต ทั้ง 3 หัวข้อ ชมรมฯ ยังได้เสนอแนวทางต่อยอดการจับตามองและแจ้งเบาะแส โดยใช้กลไกอื่นๆ ร่วมด้วย เพื่อนำประเด็นเสี่ยงต่อการทุจริตไปสู่การยับยั้งและแก้ไขปัญหาในระดับพื้นที่ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป อาทิ คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนการส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนหน่วยงานของรัฐมีส่วนร่วมในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ภาค 1 ภาค 2 ภาค 7 และกรุงเทพมหานคร ศูนย์ป้องปรามการทุจริตแห่งชาติ สำนักงาน ป.ป.ช. (Corruption Deterrence Center : CDC) คณะกรรมการผลักดันการดำเนินงานตามแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็นการต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ ระดับจังหวัด... เป็นต้น


ส่วนการอภิปรายแบบ Symposium ประเด็น “STRONGER ด้วย กองทุน ป.ป.ช. เสริมพลังชุมชนตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ” โดยผู้แทนชมรม STRONG – จิตพอเพียงต้านทุจริตจังหวัดสุพรรณบุรี ชมรม STRONG – จิตพอเพียงต้านทุจริตจังหวัดชัยนาท และชมรม STRONG – จิตพอเพียงต้านทุจริตจังหวัดนครนายก ซึ่งเป็นชมรมฯ ที่มีประสบการณ์ได้รับเงินสนับสนุนจากกองทุน ป.ป.ช. ไปดำเนินโครงการเพื่อป้องกันการทุจริตในพื้นที่ ก็สามารถกระตุ้นให้ชมรมฯ ต่างๆ ในพื้นที่ภาค 1 ภาค 2 ภาค 7 และกรุงเทพมหานคร 6 กลุ่มโซน ที่ยังไม่เคยเสนอโครงการฯ สนใจเสนอโครงการขอรับทุนในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 มากกว่า 10 ชมรม เพื่อเฝ้าระวังการทุจริตเชิงรุกโดยภาคประชาชน


พร้อมกันนี้ สสร. ยังได้จัดกิจกรรมการประชุมเชิงปฏิบัติการกิจกรรมการสัมมนาเชิงปฏิบัติการขับเคลื่อนแนวทางต้านและลดการทุจริตด้วยกลไกสหยุทธ์ สรุปผลการดำเนินงานภาคกลาง (STRONG : Together against.Corruption - TaC) ภายใต้โครงการต้านและลดทุจริตด้วยกลไกสหยุทธ์ เฉพาะกรณีพื้นที่เสี่ยงต่อการทุจริต(STRONG.:.Together.against.Corruption.-.TaC) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566


โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลการดำเนินงานภารกิจป้องกันการทุจริตของส่วนปฏิบัติการพื้นที่ ภายใต้โครงการต้านและลดทุจริตด้วยกลไกสหยุทธ์ เฉพาะกรณีพื้นที่เสี่ยงต่อการทุจริต (STRONG: Together against Corruption-TaC) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 รวมทั้งรับฟังความคิดเห็น และข้อเสนอแนะจากเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานในส่วนปฏิบัติการพื้นที่กลุ่มเป้าหมาย


ได้แก่ ผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ สำนักงานป.ป.ช. สังกัดส่วนกลาง สำนักงาน ป.ป.ช. ภาค 1 ภาค 2 และภาค 7 รวมถึง สำนักงาน ป.ป.ช.ประจำจังหวัดในพื้นที่ ประกอบด้วย สำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดชัยนาท พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี นนทบุรี ลพบุรี สิงห์บุรี สระบุรี สมุทรปราการ อ่างทอง ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรีสระแก้ว นครนายก กาญจนบุรี นครปฐม ประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี ราชบุรี สมุทรสงคราม สมุทรสาคร สุพรรณบุรี
รวมทั้งสิ้นกว่า 50 คน


การจัดกิจกรรมดังกล่าว มีการสรุปผลการดำเนินกิจกรรมที่ผ่านมา ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 และแลกเปลี่ยนข้อมูลผลการดำเนินโครงการฯ ของแต่ละพื้นที่ ในปีงบประมาณ พ.ศ.2566 การดำเนินการขับเคลื่อนผ่านกลไกการมีส่วนร่วมของภาคส่วนภายในภาค /จังหวัด โดยมีประเด็นความเสี่ยงการทุจริตในพื้นที่ภาค 1 ภาค 2 และภาค 7


เช่น ประเด็นความเสี่ยงต่อการทุจริตการบังคับใช้กฎหมาย การขัดกันแห่งผลประโยชน์ และประเด็นอื่น ๆ ประเด็นการใช้รถยนต์ของส่วนราชการในจังหวัดเพื่อประโยชน์ส่วนตัวของจังหวัดชัยนาท จังหวัดนนทบุรี จังหวัดสิงห์บุรี ความเสี่ยงที่อาจเกิดการทุจริตในการดำเนินโครงการที่มีลักษณะเป็นการฝึกอบรม และศึกษาดูงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่จังหวัดลพบุรี การป้องปรามโครงการที่อาจมีความสุ่มเสี่ยงว่าอาจมีปัญหาในการดำเนินการระยะยาวจากโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบคุณภาพชีวิต ตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุกต์สู่โคก หนอง นา โมเดล” ในพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรี และจังหวัดสุพรรณบุรี การบุกรุก/การใช้ประโยชน์พื้นที่ราชพัสดุที่อยู่ในความครอบครองของชลประทานโดยมิชอบในจังหวัดราชบุรี การปฏิบัติในการเจาะและการใช้น้ำบาดาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทั้ง 38 แห่ง ในพื้นที่จังหวัดสมุทรสาคร


ประเด็นความเสี่ยงต่อการทุจริตการจัดซื้อจัดจ้าง การจัดซื้อจัดจ้างสาธารณูปโภคและโครงสร้างพื้นฐานการก่อสร้างถนนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และของส่วนราชการในจังหวัดปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา สระบุรี อ่างทอง สมุทรปราการ การก่อสร้างโครงการสวนสาธารณะในจังหวัดฉะเชิงเทรา สร้างแล้วเสร็จแต่ไม่เปิดให้ใช้งาน โครงการก่อสร้างแล้วเสร็จถูกปล่อยทิ้งร้างไม่คุ้มค่าในหลายพื้นที่ของจังหวัดปราจีนบุรี จังหวัดนครนายก จังหวัดปราจีนบุรี และจังหวัดตราด โครงการก่อสร้างสนามกีฬาแห่งชาติภาคตะวันออก พื้นที่จังหวัดชลบุรี การจัดซื้อจัดจ้างโครงการก่อสร้างกำแพงกันดิน คสล. ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดนครปฐม โครงการจัดซื้อจัดจ้างอาหารกลางวันโรงเรียนของสถานศึกษาสังกัด สพป.จังหวัดระยอง ประเด็นความเสี่ยงต่อการทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้างในจังหวัดสมุทรสงคราม โครงการก่อสร้างรั้วกั้นช้างป่าละอู (คิด ทำ ทิ้ง) จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ของสำนักงาน ป.ป.ช. ภาค 7


ประเด็นความเสี่ยงต่อการทุจริตทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เช่น การลักลอบขุดดินในเขตปฏิรูปที่ดิน นสล. ในจังหวัดสระแก้ว การบุกรุกป่าเขาไผ่ ที่ อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี การบุกรุกพื้นที่ป่าชายเลนเพื่อประกอบกิจการเลี้ยงหอยนางรมและการประมงอื่นโดยไม่ได้รับอนุญาตในแม่น้ำเวฬุ จังหวัดจันทบุรี การบุกรุกพื้นที่ทรัพยากรธรรมชาติ (ป่าไม้และลำน้ำ) ในพื้นที่จังหวัดในความรับผิดชอบของภาค 2 ความเสี่ยงต่อการทุจริต เรื่อง สิ่งล่วงล้ำลำน้ำกว่า 70 จุด ในพื้นที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และจังหวัดเพชรบุรี เป็นต้น

Related