Contrast
Font
4d467c95fd92425f7f21096cd4148af2.jpg

ป.ป.ช. จัดสัมมนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระดับชาติ ภายใต้หัวข้อ “ผลการดำเนินการตามตัวชี้วัดด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ตามแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี : ความท้าทายของการทุจริตในอนาคต”

จากไชต์: สำนักงานคณะกรรมการป้องกัน และปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (สำนักงาน ป.ป.ช.) สนามบินน้ำ
จำนวนผู้เข้าชม: 431

15/09/2566

วันพฤหัสบดีที่ 14 กันยายน 2566 สำนักงาน ป.ป.ช. จัดโครงการสัมมนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระดับชาติ ภายใต้หัวข้อ “ผลการดำเนินการตามตัวชี้วัดด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ตามแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี : ความท้าทายของการทุจริตในอนาคต ” ณ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น ถนนวิภาวดีรังสิต กรุงเทพมหานคร และถ่ายทอดสดผ่านทาง Facebook และ YouTube: สำนักงาน ป.ป.ช.

 

ทั้งนี้กลุ่มเป้าหมายประกอบด้วยผู้ที่เกี่ยวข้องกับโครงการหรือกิจกรรมที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 4.6 : ภาครัฐมีความโปร่งใส ปลอดการทุจริตและประพฤติมิชอบทุกภาคส่วนร่วมต่อต้านการทุจริต และผู้ที่เกี่ยวข้องจากหน่วยงานภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม และสื่อมวลชน โดยแบ่งเป็นผู้เข้าร่วม On Site จำนวน 260 คน ผู้เข้าร่วม Online ผ่านระบบ Zoom Meeting /  YouTube Live / Facebook Live จำนวนกว่า 1,000 คน

 

ในช่วงเช้ามีพิธีเปิดการสัมมนา โดยมี พลตำรวจเอก วัชรพล ประสารราชกิจ ประธานกรรมการ ป.ป.ช. เป็นประธานในพิธี พร้อมด้วย พันตำรวจตรี ชัชนพ ผดุงกาญจน์ รองเลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. และ นายประสาท พงษ์ศิวาภัย กรรมการ สปท. ร่วมในพิธีเปิดการสัมมนา

 

หลังจากนั้น เป็นการปาฐกถาพิเศษ หัวข้อ “การครองตนท่ามกลางความผันผวนของโลก” โดย พระพรหมบัณฑิต (ประยูร ธมฺมจิตฺโต ป.ธ.๙, ศ.ดร.) กรรมการมหาเถรสมาคม เจ้าอาวาสวัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร กรุงเทพมหานคร

 

ต่อด้วย การปาฐกถาพิเศษ หัวข้อ “กระบวนทัศน์รับมือการทุจริตในอนาคต” โดย พลตำรวจเอก วัชรพล ประสารราชกิจ ประธานกรรมการ ป.ป.ช.

 

และในช่วงบ่าย เป็นการแบ่งกลุ่มอภิปราย 3 กลุ่ม โดยมีผู้เข้าร่วม On Site และ Online ดังนี้ 

กลุ่มที่ 1 : การอภิปราย หัวข้อ ปลูกฝัง-ป้องกัน-ป้องปราม การทุจริตเชิงรุก : มองอนาคตใน 5-10 ปี ข้างหน้า โดยมีผู้เข้าร่วมการอภิปราย ดังนี้

1.นายอุทิศ  บัวศรี  รองเลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช.

  1. นายศรชัย ชูวิเชียร ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช.
  2. รศ.ดร.นันทิยา น้อยจันทร์ รองอธิบดีฝ่ายวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา
  3. ดร.เกษมสันต์ วีระกุล ผู้เชี่ยวชาญด้าน AEC ผู้ดำเนินรายการโทรทัศน์ และวิทยุ
  4. นางสวรรยา รัตนราช ผู้อำนวยการสำนักต้านทุจริตศึกษา สำนักงาน ป.ป.ช.
  5. นายศักดิ์ชัย จันทร์แสงวัฒนา ผู้อำนวยการสำนักตรวจสอบทรัพย์สินภาคการเมือง สำนักงาน ป.ป.ช.

 

กลุ่มที่ 2 : การอภิปราย หัวข้อ การประเมิน ITA ภาพสะท้อนที่ท้าทายในการบริหารงานภาครัฐ และเอกชน : มองอนาคตใน 5-10 ปี ข้างหน้า โดยมีผู้เข้าร่วมการอภิปราย ดังนี้

  1. นายทวิชาติ นิลกาญจน์ ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช.
  2. นางสาวมนวดี จันทิมา ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านการพัฒนาระบบราชการ สำนักงาน กพร.
  3. นางสาวเต็มศิริ เนตรทัศน์ ผู้ช่วยหัวหน้าสำนักงาน ก.ก กรุงเทพมหานคร
  4. นางวาธินี สุริยวรรณ ผู้อำนวยการสำนักประเมินคุณธรรมและความโปร่งใส สำนักงาน ป.ป.ช.
  5. นายอนิวัต โพธิ์ประเสริฐ ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาและส่งเสริมธรรมาภิบาล สำนักงาน ป.ป.ช.

 

กลุ่มที่ 3 : การอภิปราย หัวข้อ การลดจำนวนคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ ในหน่วยงานภาครัฐ เป้าหมายที่ท้าทายพฤติกรรมทุจริตของเจ้าหน้าที่ : มองอนาคตใน 5-10 ปี ข้างหน้า โดยมีผู้เข้าร่วมการอภิปราย ดังนี้

  1. พ.ต.อ. ประสงค์ เฉลิมพันธ์ รอง ผบก.ปปป.
  2. นายมนต์ชัย ชนินทรลีลา รองอธิบดีศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง
  3. นางขนิษฐา งามวงษ์สถิต ผู้อำนวยการกองนวัตกรรมบริการภาครัฐ สำนักงาน กพร.
  4. นายอภิชาติ ปุณยธัญพงศ์ ผู้อำนวยการสำนักบริหารงานกลาง สำนักงาน ป.ป.ช.
  5. นางสาวลัดดา เดือนสว่าง ผู้อำนวยการสำนักมาตรการเชิงรุกและนวัตกรรม สำนักงาน ป.ป.ช.
  6. นายมงคล ศรีสว่าง ผู้อำนวยการสำนักไต่สวนคดีทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สำนักงาน ป.ป.ช.

 

สำนักงาน ป.ป.ช. มุ่งหวังเป็นอย่างยิ่งว่า การสัมมนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระดับชาติ ภายใต้หัวข้อ “ผลการดำเนินการตามตัวชี้วัดด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ตามแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี : ความท้าทายของการทุจริตในอนาคต” ในครั้งนี้ จะเป็นเวทีให้ทุกภาคส่วนได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับประสบการณ์ กระบวนการดำเนินงาน ปัญหาและอุปสรรคในการผลักดันยุทธศาสตร์ชาติ รวมถึงข้อเสนอแนะแนวทางในการปรับปรุง เพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริตให้ประสบผลสำเร็จ และให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการผลักดันยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561-2580 ประเด็นการต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ นำไปสู่การผลักดันให้ค่าดัชนีการรับรู้การทุจริต (CPI) ของประเทศไทยสูงขึ้นต่อไป

Related