Contrast
Font
5ce3fbec5230210f45730ce2140858a9.jpg

เกร็ดความรู้ สู้ทุจริต เรื่อง สรุปสาระสำคัญ “ประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินของเจ้าพนักงานของรัฐ ต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. ด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2565”

จากไชต์: สำนักงานคณะกรรมการป้องกัน และปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (สำนักงาน ป.ป.ช.) สนามบินน้ำ
จำนวนผู้เข้าชม: 5201

28/09/2565

เกร็ดความรู้...สู้ทุจริต!!

สรุปสาระสำคัญ “ประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินของเจ้าพนักงานของรัฐ ต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. ด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2565”  

ตอนที่ 1 สาระสำคัญของการบังคับใช้

  1. “ผู้ยื่นบัญชี” หมายความว่า เจ้าพนักงานของรัฐตามมาตรา 102 และมาตรา 103 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 ที่มีหน้าที่ยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช.
  2. “ระบบยื่นบัญชีอิเล็กทรอนิกส์” หมายความว่า ระบบยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินด้วยวิธีการ ทางอิเล็กทรอนิกส์ของสำนักงาน ป.ป.ช.
  3. ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2565 เป็นต้นไป เว้นแต่
    1.1 ผู้มีหน้าที่ยื่นบัญชีตามมาตรา 102 (1) (2) (3) (4) (5) (6) (7) และ (8) ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2566 เป็นต้นไป
    1.2 ผู้มีหน้าที่ยื่นบัญชีตามมาตรา 102 (9) ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2566 เป็นต้นไป
  4. ให้ประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติเป็นผู้รักษาการ ตามประกาศนี้
  5. ในกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับการบังคับใช้หรือการปฏิบัติตามประกาศนี้ ให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีอำนาจตีความและวินิจฉัยชี้ขาด คำวินิจฉัยของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ให้เป็นที่สุด

-กดลิ้งด้านล่างเพื่ออ่านรายละเอียดเพิ่มเติม      http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2565/A/054/T_0004.PDF

----------------------------------

เกร็ดความรู้...สู้ทุจริต!!

สรุปสาระสำคัญ “ประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินของเจ้าพนักงานของรัฐ ต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. ด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2565”  

ตอนที่ 2 ใครมีหน้าที่ยื่นบัญชีทรัพย์สินออนไลน์กับ ป.ป.ช. และจะต้องยื่นเมื่อใด?

  1. เจ้าพนักงานของรัฐ ตามประกาศคณะกรรมการ ป.ป.ช. เรื่อง “กําหนดตําแหน่งของเจ้าพนักงานของรัฐซึ่งจะต้องยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินตามมาตรา 103 พ.ศ. 2561”                     

 - กดลิ้งด้านล่างเพื่ออ่านรายละเอียด                   https://www.nacc.go.th/uploads/files2681537984/%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%9A%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%9A/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A8%E0%B8%9B.%E0%B8%9B.%E0%B8%8A.%E0%B8%81%E0%B9%8D%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%94%E0%B8%95%E0%B9%8D%E0%B8%B2%E0%B9%81%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%90%E0%B8%8B%E0%B8%B6%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%88%E0%B8%B0%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%A2%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9E%E0%B8%A2%E0%B9%8C%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%A1.103(2561).pdf

- ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2565 เป็นต้นไป

----------------------------------

เกร็ดความรู้...สู้ทุจริต!!

สรุปสาระสำคัญ “ประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินของเจ้าพนักงานของรัฐ ต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. ด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2565”  

ตอนที่ 3 ใครมีหน้าที่ยื่นบัญชีทรัพย์สินออนไลน์กับ ป.ป.ช. และจะต้องยื่นเมื่อใด? (ต่อเนื่องจากตอนที่ 2)

  1. ผู้มีหน้าที่ยื่นบัญชีตามมาตรา 102 (1) – (8) ได้แก่
    (1) ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
    (2) ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
    (3) ผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ
    (4) ข้าราชการตุลาการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม ซึ่งดำรงตำแหน่งตั้งแต่ อธิบดีผู้พิพากษาขึ้นไป
    (5) ข้าราชการตุลาการศาลปกครองตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง ซึ่งดำรงตำแหน่งตั้งแต่อธิบดีศาลปกครองชั้นต้นขึ้นไป
    (6) ข้าราชการอัยการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการซึ่งดำรงตำแหน่งตั้งแต่อธิบดีอัยการขึ้นไป
    (7) ผู้ดำรงตำแหน่งระดับสูง
    (8) ตำแหน่งอื่นตามที่กฎหมายอื่นกำหนดให้มีหน้าที่ยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สิน

     - มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2566 เป็นต้นไป

  1. ผู้มีหน้าที่ยื่นบัญชีตามมาตรา 102 (9) ได้แก่
    ผู้บริหารท้องถิ่น รองผู้บริหารท้องถิ่น รองผู้บริหารท้องถิ่น และสมาชิกสภาท้องถิ่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. กำหนด

     - มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2566 เป็นต้นไป

----------------------------------

เกร็ดความรู้...สู้ทุจริต!!

สรุปสาระสำคัญ “ประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินของเจ้าพนักงานของรัฐ ต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. ด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2565”  

ตอนที่ 4 สิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับการยื่นบัญชีทรัพย์สินออนไลน์กับ สำนักงาน ป.ป.ช.

(1) ในกรณีที่กฎหมายกำหนดให้การใดต้องทำเป็นหนังสือ มีหลักฐานเป็นหนังสือ หรือมีเอกสารมาแสดง ถ้าได้มีการจัดทำข้อความขึ้นเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถเข้าถึงและนำกลับมาใช้ได้โดยความหมายไม่เปลี่ยนแปลง ให้ถือว่าข้อความนั้นได้ทำเป็นหนังสือ มีหลักฐาน เป็นหนังสือ  หรือมีเอกสารมาแสดงแล้ว 
(2) ในกรณีที่ต้องลงลายมือชื่อในบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินและเอกสารประกอบ ถ้าได้ดำเนินการตามขั้นตอนที่ระบบยื่นบัญชีอิเล็กทรอนิกส์กำหนด ให้ถือว่าข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้น มีการลงลายมือชื่อแล้ว
(3) การส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ของผู้ยื่นบัญชีเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ของสำนักงาน ป.ป.ช. แทนการส่งเอกสารใด ๆ  หากระบบคอมพิวเตอร์ของสำนักงาน ป.ป.ช.  ได้ทำการตอบรับข้อมูล อิเล็กทรอนิกส์นั้น ในการยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สิน  หรือเอกสารอื่นใดแล้ว  ให้ถือเป็นการยื่นเอกสารนั้นๆ ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องกับการยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินแล้ว
(4) ในระบบยื่นบัญชีอิเล็กทรอนิกส์ เมื่อผู้ยื่นบัญชีได้ยืนยันการส่งข้อมูล และสำนักงาน ป.ป.ช. ตอบรับการยื่นบัญชีแล้ว ถือว่าเป็นการทำรายการโดยผู้ยื่นบัญชี และยอมรับที่จะผูกพันในข้อมูล อิเล็กทรอนิกส์ที่ส่งให้สำนักงาน  ป.ป.ช. ว่าเป็นการยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินของผู้ยื่นบัญชี และรับรองว่าข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ดังกล่าวถูกต้องเป็นจริงทุกประการ  รวมถึงผูกพันกับสิ่งพิมพ์ออกของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ดังกล่าว เพื่อใช้อ้างอิงแทนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ และมีผลใช้แทนต้นฉบับ ตามขั้นตอนและวิธีการที่สำนักงาน ป.ป.ช. กำหนด

----------------------------------

เกร็ดความรู้...สู้ทุจริต!!

สรุปสาระสำคัญ “ประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินของเจ้าพนักงานของรัฐ ต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. ด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2565”  

ตอนที่ 5 สรุปวิธีการขั้นตอนการยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สิน

  1. ผู้ยื่นบัญชีต้องลงทะเบียนตามขั้นตอนที่ระบบยื่นบัญชีอิเล็กทรอนิกส์กำหนด เพื่อเข้าใช้งานระบบ และจะต้องเก็บรักษาชื่อผู้ใช้ระบบ (Username)  และรหัสผ่าน  (Password)  ที่ทางสำนักงาน  ป.ป.ช.  ออกให้ไว้เป็นความลับเฉพาะตน  โดยไม่เปิดเผยข้อมูลดังกล่าวต่อบุคคลภายนอกอย่างเด็ดขาด
  2. เตรียมเอกสารในการยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินให้พร้อม โดยจัดทำหรือแปลงเอกสารและข้อความให้อยู่ในรูปแบบของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมด และบันทึกข้อมูลเป็นไฟล์ประเภทที่มีนามสกุลเป็น JPG  หรือ PDF เท่านั้น
  3. ปฏิบัติตามขั้นตอนการทำงานของระบบยื่นบัญชีอิเล็กทรอนิกส์ เมื่อผู้ยื่นบัญชีได้ปฏิบัติถูกต้องตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ในระบบยื่นบัญชีอิเล็กทรอนิกส์แล้ว ระบบยื่นบัญชีอิเล็กทรอนิกส์จะแจ้งสถานะการรับบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินทางจดหมาย อิเล็กทรอนิกส์ (E-mail)  ตามข้อมูลที่ได้ลงทะเบียนไว้
  4. บัญชีทรัพย์สินและหนี้สินและเอกสารประกอบที่ได้ยื่นทางระบบยื่นบัญชีอิเล็กทรอนิกส์ ตามหมวดนี้ ให้ถือว่าเป็นการยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินตามมาตรา  105  แห่งพระราชบัญญัติ ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต  พ.ศ.  2561
  5. ให้ผู้ยื่นบัญชีจัดเก็บและรักษาบัญชีเอกสารหลักฐานและข้อมูลไม่ว่าในสื่อรูปแบบใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินทางอิเล็กทรอนิกส์ไว้เป็นเวลาไม่น้อยกว่าห้าปี นับแต่ วันส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ในเรื่องนั้น ๆ

Related