Contrast
Font
a638dc5c516597aad4f67b952769110a.jpg

เกร็ดความรู้...สู้ทุจริต‼️ ประจำเดือน มีนาคม-เมษายน2568

จากไชต์: สำนักงานคณะกรรมการป้องกัน และปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (สำนักงาน ป.ป.ช.) สนามบินน้ำ
จำนวนผู้เข้าชม: 21

21/05/2568

📍เกร็ดความรู้...สู้ทุจริต ‼️

          จากโพสต์ก่อนหน้านี้ เราได้พูดถึงกลุ่มที่อาจตกเป็น "ผู้ถูกกล่าวหา" ในกระบวนการของ ป.ป.ช. ทั้งผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและเจ้าหน้าที่ของรัฐ วันนี้มาดูกันอีกหนึ่งกลุ่มที่ต้องระวังกันเลยครับ!

          กระบวนการดำเนินคดีของคณะกรรมการ ป.ป.ช.

          รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ได้กำหนดเกี่ยวกับหน้าที่และอำนาจของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ในการดำเนินการไต่สวนและมีมติชี้มูลความผิด หรือไต่สวนและวินิจฉัยเกี่ยวกับเจ้าพนักงานของรัฐที่กระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดอันเป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมายโดยสามารถแยกเป็นกรณีได้ดังต่อไปนี้

          (3) เจ้าพนักงานของรัฐซึ่งมีหน้าที่ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินจงใจ ไม่ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน หรือจงใจยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินหรือหนี้สินด้วยข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อเท็จจริงที่ควรแจ้งให้ทราบและมีพฤติการณ์อันควรเชื่อได้ว่ามีเจตนาไม่แสดงที่มาแห่งทรัพย์สินหรือหนี้สิน

          แล้วมีกลุ่มไหนอีกบ้างที่อยู่ในข่ายต้องถูกตรวจสอบ? โปรดติดตามต่อในโพสต์ถัดไป!

--------------------------------------------------

📍เกร็ดความรู้...สู้ทุจริต ‼️

          จากโพสต์ก่อนหน้านี้ เราได้พูดถึงกลุ่มที่อาจตกเป็น "ผู้ถูกกล่าวหา" ในกระบวนการของ ป.ป.ช. ทั้งผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและเจ้าหน้าที่ของรัฐ วันนี้มาดูกันอีกหนึ่งกลุ่มที่ต้องระวังกันเลยครับ!

          กระบวนการดำเนินคดีของคณะกรรมการ ป.ป.ช.

          รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ได้กำหนดเกี่ยวกับหน้าที่และอำนาจของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ในการดำเนินการไต่สวนและมีมติชี้มูลความผิด หรือไต่สวนและวินิจฉัยเกี่ยวกับเจ้าพนักงานของรัฐที่กระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดอันเป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมายโดยสามารถแยกเป็นกรณีได้ดังต่อไปนี้

          (4) กรรมการ ผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ และเจ้าพนักงานของรัฐที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. ประกาศกำหนด กระทำการอันเป็นการขัดกันแห่งผลประโยชน์ส่วนบุคคลกับประโยชน์ส่วนรวม

          เจ้าหน้าที่ของรัฐต้องปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด เพื่อรักษาความไว้วางใจจากประชาชน แล้วมี  กลุ่มไหนอีกบ้างที่อยู่ในข่ายต้องถูกตรวจสอบ?  โปรดติดตามต่อในโพสต์ถัดไป!

--------------------------------------------------

📍เกร็ดความรู้...สู้ทุจริต ‼️

          ตลอดหลายโพสต์ที่ผ่านมา เราได้พูดถึงกลุ่มที่อาจตกเป็น “ผู้ถูกกล่าวหา” ในกระบวนการของ ป.ป.ช. มาถึงกรณีสุดท้ายที่ต้องรู้! นอกจากเจ้าหน้าที่ของรัฐแล้ว ยังมี บุคคลและนิติบุคคลอื่น ที่เกี่ยวข้องกับการให้หรือรับสินบน หรือกระทำความผิดตามกฎหมายที่อยู่ในอำนาจของ ป.ป.ช. เช่น การทุจริต การใช้อำนาจโดยมิชอบและการฮั้วประมูล ไปติดตามกันได้เลยครับ

          กระบวนการดำเนินคดีของคณะกรรมการ ป.ป.ช.

          รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ได้กำหนดเกี่ยวกับหน้าที่และอำนาจของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ในการดำเนินการไต่สวนและมีมติชี้มูลความผิด หรือไต่สวนและวินิจฉัยเกี่ยวกับเจ้าพนักงานของรัฐที่กระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดอันเป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมายโดยสามารถแยกเป็นกรณีได้ดังต่อไปนี้

          (5) บุคคลตาม (1) และ (2) รวมถึงบุคคลอื่นซึ่งเป็นตัวการ ผู้ใช้ หรือผู้สนับสนุนรวมทั้งผู้ให้ ผู้ขอให้ หรือรับว่าจะให้ หรือนิติบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการให้ทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดตาม (1) และ (2) กระทำความผิดตามกฎหมายอื่นที่กฎหมายกำหนดให้อยู่ในหน้าที่และอำนาจของคณะกรรมการ ป.ป.ช. เช่น

          ก. ความผิดตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561

          ข. ความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2502

          ค. ความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542

การทุจริตไม่ได้เกิดขึ้นเพียงฝ่ายเดียว

          ไม่ว่าจะเป็นผู้ให้ ผู้รับ หรือผู้สนับสนุน ต่างก็มีส่วนในการทำลายระบบธรรมาภิบาล และเสี่ยงต่อบทลงโทษทางกฎหมาย ร่วมกันสร้างสังคมที่โปร่งใส ด้วยการไม่สนับสนุนการทุจริตทุกรูปแบบ!

--------------------------------------------------

📍 เกร็ดความรู้...สู้ทุจริต‼

คดีร่ำรวยผิดปกติของอดีตผู้อำนวยการส่วนบูรณะพัฒนาวัดฯ

          คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ได้ดำเนินการไต่สวนกรณี นายว. อดีตผู้อำนวยการส่วนบูรณะพัฒนาวัดและการศาสนสงเคราะห์ สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ โดยพบว่า มีทรัพย์สินเพิ่มขึ้น และหนี้สินลดลงผิดปกติ รวมมูลค่า 56,327,661 บาท ซึ่งไม่สอดคล้องกับรายได้จากทางราชการ

พฤติกรรมการทุจริต

          การไต่สวนพบว่านายวสวัตติ์ได้รับเงินจากวัดต่างๆ ที่ได้รับงบประมาณอุดหนุนจากสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ และนำเงินดังกล่าวเข้าบัญชีตนเอง รวมถึงบัญชีของบุคคลใกล้ชิด เช่น นางสาวอ. โดยมีพฤติกรรมดังต่อไปนี้:

          - ฝากเงินเข้าบัญชีธนาคารต่างๆ รวม 48.4 ล้านบาท โดยบางบัญชีอยู่ในชื่อบุคคลอื่น

          - รับเงินจากพระครูว. จำนวน 5.7 ล้านบาท ซึ่งเป็นเงินที่เกี่ยวข้องกับการอนุมัติเงินช่วยเหลือวัด

          - ใช้เงินที่ได้จากการทุจริตเพื่อชำระหนี้สินส่วนตัว เช่น การซื้อบ้านและผ่อนชำระรถยนต์

คำชี้แจงของผู้ถูกกล่าวหา

          นาย ว. อ้างว่าเงินที่ได้รับเป็นเงินที่ได้รับคำสั่งจากผู้บังคับบัญชาให้นำไปบริหารจัดการหรือส่งมอบให้บุคคลอื่น รวมถึงเป็นเงินยืมจากเพื่อนร่วมงาน อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการ ป.ป.ช. พบว่าคำชี้แจงดังกล่าวไม่มีเอกสารหลักฐานสนับสนุน และบุคคลที่ถูกกล่าวอ้างบางรายปฏิเสธว่าไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง

บทลงโทษ

          คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติให้ส่งเรื่องให้อัยการสูงสุดดำเนินคดีต่อศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ ซึ่งต่อมา ศาลมีคำพิพากษาให้ทรัพย์สินทั้งหมดตกเป็นของแผ่นดิน และหากไม่สามารถดำเนินการโอนทรัพย์สินได้ ให้บังคับเอาทรัพย์สินของผู้ถูกกล่าวหาภายใน 10 ปี

บทเรียนจากคดีนี้

          คดีนี้เป็นตัวอย่างสำคัญที่สะท้อนถึงปัญหาการทุจริตในหน่วยงานภาครัฐ โดยเฉพาะในหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับงบประมาณของศาสนา สิ่งที่ประชาชนและเจ้าหน้าที่ต้องตระหนักคือ ความโปร่งใสในการบริหารงบประมาณ การตรวจสอบภายในที่เข้มงวด และการมีส่วนร่วมของสังคมในการตรวจสอบการใช้จ่ายภาครัฐ เพื่อป้องกันการทุจริตในลักษณะนี้ไม่ให้เกิดขึ้นอีกในอนาคต

--------------------------------------------------

📍 เกร็ดความรู้...สู้ทุจริต‼

          กลับมาพบกับเกร็ดความรู้สู้ทุจริตกันอีกเช่นเคย! ในวันนี้เรามีเรื่องราวสำคัญที่หลายคนอาจยังไม่รู้...เมื่อมีการกล่าวหาว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐอาจเกี่ยวข้องกับการทุจริต หรือกระทำผิดจริยธรรม กระบวนการตรวจสอบของคณะกรรมการ ป.ป.ช. เริ่มต้นขึ้นอย่างไร? และเมื่อไหร่เจ้าหน้าที่ผู้นั้นจะเข้าสู่สถานะ “ผู้ถูกกล่าวหา”? วันนี้เราจะมาไขข้อสงสัยเรื่องนี้กันครับ

          "เข้าใจสถานะผู้ถูกกล่าวหาในกระบวนการของ ป.ป.ช."

          ในการดำเนินการของคณะกรรมการ ป.ป.ช. เพื่อพิสูจน์ความผิดหรือความบริสุทธิ์ของเจ้าพนักงานของรัฐหรือเจ้าพนักงานของรัฐที่มีหน้าที่ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินทำให้บุคคลดังกล่าวตกอยู่ในฐานะเป็นผู้ถูกล่าวหาเมื่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้ดำเนินการ ดังนี้

          คดีอาญาตามฐานความผิดที่อยู่ในหน้าที่และอำนาจ/คดีร่ำรวยผิดปกติ/คดีฝ่าฝืนมาตรฐานจริยธรรมอย่างร้ายแรง/คดีการขัดกันแห่งผลประโยชน์/คดีฝ่าฝืนมาตรา 144 ของรัฐธรรมนูญ

          กรณีมีการกล่าวหาหรือมีเหตุอันควรสงสัยว่าเจ้าพนักงานของรัฐกระทำความผิดทางอาญาที่อยู่ในหน้าที่และอำนาจของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ร่ำรวยผิดปกติ ฝ่าฝืนมาตรฐานจริยธรรมอย่างร้ายแรง กระทำการอันเป็นการขัดกันแห่งผลประโยชน์ หรือฝ่าฝืนบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญมาตรา 144 สำนักงาน ป.ป.ช. จะดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงเบื้องต้น ภายใต้หลักเกณฑ์ตามระเบียบคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติว่าด้วยการตรวจสอบและไต่สวน พ.ศ. 2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2564

          เมื่อได้ดำเนินการตรวจสอบเบื้องต้นตามระเบียบคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติว่าด้วยการตรวจสอบและไต่สวน พ.ศ. 2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2564 แล้วเสร็จ จะต้องนำเสนอรายงาน  การตรวจสอบเบื้องต้นต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. เพื่อพิจารณาว่ามีข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานเพียงพอต่อการไต่สวนต่อไป หากคณะกรรมการ ป.ป.ช. พิจารณาแล้วเห็นว่า มีข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานเพียงพอต่อการไต่สวนต่อไป คณะกรรมการ ป.ป.ช. ก็จะมีมติให้ดำเนินการไต่สวน โดยคณะกรรมการ ป.ป.ช. จะดำเนินการไต่สวนได้     ใน 3 รูปแบบ ได้แก่

          (1) คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติไต่สวนเอง

          (2) คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติแต่งตั้งคณะกรรมการไต่สวน หรือ

          (3) คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติมอบหมายคณะไต่สวนเบื้องต้น

          ดังนั้น นับแต่วันที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติให้ดำเนินการไต่สวนผู้ถูกร้องตามรูปแบบการไต่สวนข้างต้น ผู้ถูกร้องจะตกอยู่ในฐานะเป็น "ผู้ถูกกล่าวหา" ทันที นับแต่วันที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติให้ดำเนินการไต่สวน

          การเข้าสู่สถานะ “ผู้ถูกกล่าวหา” ไม่ได้หมายความว่าผิดทันที แต่คือจุดเริ่มต้นของกระบวนการตรวจสอบอย่างเป็นธรรม โปร่งใส และยึดหลักนิติธรรมภายใต้กรอบกฎหมายที่ชัดเจน

--------------------------------------------------

📍 เกร็ดความรู้...สู้ทุจริต‼

          เกร็ดความรู้...สู้ทุจริต มาแล้ว! เรามาทราบถึงเรื่องราวต่อจากตอนที่ผ่านมา ในวันนี้เราจะพาไปรู้จักกับอีกหนึ่งรูปแบบของ "ผู้ถูกกล่าวหา" ที่หลายคนอาจยังไม่เคยรู้...คดีจงใจไม่ยื่น หรือยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินเป็นเท็จ/ปกปิดข้อเท็จจริง ซึ่งมีความซับซ้อน และกระบวนการที่แตกต่างจากคดีอื่น ๆ ของ ป.ป.ช. อย่างไร?

          "เข้าใจสถานะผู้ถูกกล่าวหาในกระบวนการของ ป.ป.ช.”

          คดีจงใจไม่ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน หรือจงใจยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินหรือหนี้สินอันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อเท็จจริงที่ควรแจ้งให้ทราบ และมีเจตนาไม่แสดงที่มาแห่งทรัพย์สินหรือหนี้สิน

          การดำเนินคดีจงใจไม่ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน หรือจงใจยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินหรือหนี้สินอันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อเท็จจริงที่ควรแจ้งให้ทราบ และมีเจตนาไม่แสดงที่มาแห่งทรัพย์สินหรือหนี้สิน มีกระบวนการที่แตกต่างจากการดำเนินคดีอาญาตามฐานความผิดที่อยู่ในหน้าที่และอำนาจ/คดีร่ำรวยผิดปกติ/คดีฝ่าฝืนมาตรฐานจริยธรรรมอย่างร้ายแรง/คดีการขัดกันแห่งผลประโยชน์/คดีฝ่าฝืนมาตรา 144 ของรัฐธรรมนูญ เนื่องจากคดีดังกล่าวเกิดขึ้นจากการที่ผู้มีหน้าที่ยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินตามระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดแต่ไม่ยื่น หรือยื่นเท็จ หรือปกปิดข้อเท็จจริง ซึ่งเมื่อครบกำหนดระยะเวลาแล้วไม่ยื่น หรือยื่นแล้วแต่ไม่เป็นความจริงหรือปกปิดข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์สินหรือหนี้สิน

          การตกเป็น "ผู้ถูกกล่าวหา" ในคดีจงใจไม่ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน หรือจงใจยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินหรือหนี้สินอันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อเท็จจริงที่ควรแจ้งให้ทราบ และมีเจตนาไม่แสดงที่มาแห่งทรัพย์สินหรือหนี้สิน นั้น นอกจากจะมีความแตกต่างจากการดำเนินคดีอาญาตามฐานความผิดที่อยู่ในหน้าที่และอำนาจ/คดีร่ำรวยผิดปกติ/คดีฝ่าฝืนมาตรฐานจริยธรรมอย่างร้ายแรง/คดีการขัดกันแห่งผลประโยชน์/คดีฝ่าฝืนมาตรา 144 ของรัฐธรรมนูญแล้ว ยังมีความแตกต่างของตำแหน่งของผู้ถูกกล่าวหาด้วย ซึ่งสามารถอธิบายได้ ดังนี้

          (1) กรณีผู้มีหน้าที่ยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินเป็นบุคคลตามมาตรา 102 (9) หากมีพฤติการณ์ว่าจงใจไม่ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน หรือจงใจยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินหรือหนี้สินอันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อเท็จจริงที่ควรแจ้งให้ทราบ และมีเจตนาไม่แสดงที่มาแห่งทรัพย์สินหรือหนี้สิน ผู้ตรวจสอบทรัพย์สินจะเป็นผู้แจ้งข้อกล่าวหาให้ผู้มีหน้าที่ยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินทันที และจะทำให้ผู้มีหน้าที่ยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินตกอยู่ในสถานะเป็น "ผู้ถูกกล่าวหา" ตั้งแต่ที่ได้รับแจ้งข้อกล่าวหาเช่นเดียวกับกรณีการดำเนินคดีอาญาตามฐานความผิดที่อยู่ในหน้าที่และอำนาจ/คดีร่ำรวยผิดปกติ/คดีฝ่าฝืนมาตรฐานจริยธรรมอย่างร้ายแรง/คดีการขัดกันแห่งผลประโยชน์/คดีฝ่าฝืนมาตรา 144 ของรัฐธรรมนูญ

          (2) กรณีผู้มีหน้าที่ยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินเป็นบุคคลตามมาตรา 102 (1) - (8) หากมีพฤติการณ์ว่า  จงใจไม่ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน หรือจงใจยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินหรือหนี้สินอันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อเท็จจริงที่ควรแจ้งให้ทราบ และมีเจตนาไม่แสดงที่มาแห่งทรัพย์สินหรือหนี้สิน จะต้องนำเสนอคณะกรรมการ ป.ป.ช. หรือกรรมการ ป.ป.ช. ที่กำกับดูแล เพื่อพิจารณาอนุมัติให้แจ้งข้อกล่าวหา ซึ่งหากคณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติให้แจ้งข้อกล่าวหา บุคคลดังกล่าวจะตกอยู่ในสถานะ "ผู้ถูกกล่าวหา" ทันที

          ดังนั้น เมื่อบุคคลใดตกอยู่ในสถานะเป็น "ผู้ถูกกล่าวหา" แล้ว สิทธิและเสรีภาพของบุคคลดังกล่าว        ย่อมได้รับความกระทบกระเทือนเช่นเดียวกับการดำเนินการคดีอาญาตามฐานความผิดที่อยู่ในหน้าที่และอำนาจ/คดีร่ำรวยผิดปกติ/คดีฝ่าฝืนมาตรฐานจริยธรรมอย่างร้ายแรง/คดีการขัดกันแห่งผลประโยชน์/คดีฝ่าฝืนมาตรา 144 ของรัฐธรรมนูญ ซึ่งบุคคลดังกล่าวมีสิทธิที่จะชี้แจง โต้แย้ง หรือแสดงข้อเท็จจริงหรือพยานหลักฐานใด ๆ เพื่อแสดงให้เห็นว่าตนมิได้จงใจไม่ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน หรือจงใจยืนบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินหรือหนี้สินอันอันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อเท็จจริงที่ควรแจ้งให้ทราบ และไม่มีเจตนาไม่แสดงที่มาแห่งทรัพย์สินหรือหนี้สินตามที่ถูกกล่าวหา

          เข้าใจบทบาทของ "ผู้ถูกกล่าวหา" ในกระบวนการของ ป.ป.ช. ให้ชัดเจน เป็นอีกก้าวหนึ่งในการร่วมกันสร้างสังคมที่โปร่งใส ติดตามตอนต่อไปได้ใน "เกร็ดความรู้...สู้ทุจริต"

--------------------------------------------------

📍 เกร็ดความรู้...สู้ทุจริต‼

          รู้ไหม❓ คดีแบบไหนบ้าง ที่อาจทำให้บุคคลกลายเป็น "ผู้ถูกกล่าวหา" ที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ ป.ป.ช.?

          ไม่ใช่แค่คดีทุจริตอย่างเดียว... แต่ยังมีทั้งการร่ำรวยผิดปกติ ฝ่าฝืนจริยธรรม หรือแม้แต่การยื่นบัญชีทรัพย์สินเท็จ ก็เข้าข่ายได้! ไปไขคำตอบกันได้เลยกับเรื่องราวของ "ประเภทของคดีที่บุคคลอาจตกอยู่ในสถานะเป็นผู้ถูกกล่าวหา"

          หน้าที่และอำนาจของคณะกรรมการ ป.ป.ช. มีภารกิจในหลายด้าน ได้แก่

          (1) ด้านการป้องกันการทุจริต

          (2) ด้านการตรวจสอบทรัพย์สิน

          (3) ด้านการปราบปรามการทุจริต

          ในส่วนที่กระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของประชาชนในอันที่จะถูกจำกัดสิทธิต่าง ๆ เนื่องจากตกอยู่ในฐานะเป็น "ผู้ถูกกล่าวหา" ตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ซึ่งประกอบด้วยบุคคลดังต่อไปนี้

          (1) ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ

          (2) เจ้าหน้าที่ของรัฐ

          (3) บุคคลอื่นซึ่งเป็นตัวการ ผู้ใช้ หรือผู้สนับสนุน รวมทั้งผู้ให้ ผู้ขอให้ หรือรับว่าจะให้ หรือนิติบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการให้ทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดตาม (1) และ (2)

          การกระทำความผิดของบุคคลตาม (1) ถึง (3) ที่อยู่ในหน้าที่และอำนาจของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ที่จะดำเนินการ ได้แก่

          (1) คดีกระทำการอันเป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติมาตรา 144 ของรัฐธรรมนูญ

          (2) คดีกระทำการอันเป็นการฝ้าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง

          (3) คดีอาญาในความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา ภาค 2 ความผิด ลักษณะ 2 ความผิดเกี่ยวกับการปกครอง หมวด 2 ความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ มาตรา 147 ถึงมาตรา 166 ลักษณะ 3 ความผิดเกี่ยวกับการยุติธรรม หมวด 2 ความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรม มาตรา 200 ถึงมาตรา 205

          (4) คดีความผิดตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 ได้แก่

                   ก. กรณีร่ำรวยผิดปกติ

                   ข. กรณีขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลกับประโยชน์ส่วนรวม

                   ค. กรณีความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่

                   ง. กรณีความผิดเกี่ยวกับการกระทำของเจ้าพนักงานของรัฐ เจ้าหน้าที่ของรัฐต่างประเทศ หรือเจ้าหน้าที่ขององค์การระหว่างประเทศ

                   จ. กรณีจงใจไม่ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน หรือจงใจยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินหรือหนี้สินด้วยข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อเท็จจริงที่ควรแจ้งให้ทราบ และมีพฤติการณ์อันควรเชื่อได้ว่ามีเจตนาไม่แสดงที่มาแห่งทรัพย์สินหรือหนี้สิน

          (5) คดีอาญาอันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2502

          (6) คดีอาญาอันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542

          ติดตามตอนต่อไปของ "เกร็ดความรู้...สู้ทุจริต" เพื่อจะได้เข้าใจเรื่องราวเกี่ยวกับ "ผู้ถูกกล่าวหา" ในกระบวนการของ ป.ป.ช. เพิ่มเติม

Related