Contrast
Font
143566b46cf3e5bfe1ec70204b23d067.jpg

เกร็ดความรู้...สู้ทุจริต "สรุปย่อวารสารวิชาการ ป.ป.ช. ปีที่ 11 ฉบับที่ 2 "

จากไชต์: สำนักงานคณะกรรมการป้องกัน และปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (สำนักงาน ป.ป.ช.) สนามบินน้ำ
จำนวนผู้เข้าชม: 199

06/12/2565

เริ่มต้นตอนแรกด้วยเรื่องของ การจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐกับความตกลงว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างโดยรัฐขององค์การการค้าโลก

องค์การการค้าโลก (World Trade Organization) เป็นองค์กรระหว่างประเทศองค์กรหนึ่งที่ตระหนักและให้ความสำคัญในเรื่องของการทุจริตคอร์รัปชัน จึงได้จัดทำความตกลงทางการค้า คือ ความตกลงว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างโดยรัฐ (Government Procurement Agreement) ใช้อักษรย่อว่า GPA โดยมีวัตถุประสงค์ในการสนับสนุนให้เกิดความโปร่งใสในการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐ และการขยายขอบเขตการค้าระหว่างประเทศให้กว้างขวางขึ้น โดยความตกลง GPA จะครอบคลุมถึงการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐทั้งสินค้าและบริการ รวมทั้งการก่อสร้างการเช่าซื้อ (lease) การเช่าและการจ้าง และบริการสาขาอื่น ๆ ที่ระบุไว้ในบัญชี(positive list) ของข้อตกลงว่าด้วยการค้าบริการ (GATs) ซึ่งหลักการทางกฎหมายของความตกลงว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างโดยรัฐในความตกลง GPA

คือ หลักการพื้นฐานเพื่อการค้าเสรีของ GATT โดยรายละเอียดหลักการทางกฏหมายของความตกลง GPA สามารถดูได้ใน INFOGRAPHIC

อ่านเนื้อหาสรุปย่อวารสารเพิ่มเติม Click Link : https://nacc.go.th/naccjournal/categorydetail/202012161436232/20201223053149?fbclid=IwAR21NEpgKeM91rhxJkSGDV3UncB7EWeLrvEDZSvp_qs0zjjQCtfkdiafSZM

----------------------------------------------------------

เนื้อหาของสรุปย่อวารสารวิชาการ ป.ป.ช. ปีที่ 11 ฉบับที่ 2 ในวันนี้มาต่อกันในตอนที่ 2 ซึ่งเป็นเนื้อหาในเรื่องของ 'พฤติกรรมข้าราชการในการปฏิบัติงานตามข้อบังคับว่าด้วยจรรยาข้าราชการของกระทรวงมหาดไทย' ครับ

ประเด็นหลักของบทความวิชาการนี้เป็นการนำเสนอระดับพฤติกรรมข้าราชการในการปฏิบัติงานตามข้อบังคับว่าด้วยจรรยาข้าราชการและปัจจัยที่ส่งผลต่อการปฏิบัติตามข้อบังคับว่าด้วยจรรยาของ กระทรวงมหาดไทย ผลการศึกษา พบว่า ข้าราชการมีระดับพฤติกรรมในการปฏิบัติงานตามข้อบังคับว่าด้วยจรรยาข้าราชการโดยรวมเฉลี่ยอยู่ที่ 3.65 คะแนน จากคะแนนเต็ม 4 คะแนน สำหรับปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติตามข้อบังคับว่าด้วยจรรยาข้าราชการ ประกอบด้วย ตัวแปรด้านปัจเจกบุคคล ได้แก่ เพศ ระดับการศึกษาสูงสุด อายุราชการ ระดับตำแหน่ง รายได้ต่อเดือน และทัศนคติต่อการเป็นข้าราชการ) และ (2) ปัจจัยด้านบริบททาง
สังคม ได้แก่ ด้านวัฒนธรรมองค์กร ระบบการบริหารราชการ การบริหารงานของผู้บังคับบัญชา และการบังคับใช้กฎหมาย/กฎระเบียบ โดยทุกปัจจัยมีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติตามข้อบังคับว่าด้วยจรรยาข้าราชการในทิศทางบวก

นอกจากนั้นยังมีปัจจัยอื่นที่ช่วยให้ข้าราชการมีการปฏิบัติตามข้อบังคับว่าด้วยจรรยา
ข้าราชการ ซึ่งสามารถดูรายละเอียดได้ตาม INFOGRAPHIC

อ่านเนื้อหาสรุปย่อวารสารเพิ่มเติม Click Link : https://nacc.go.th/naccjournal/categorydetail/202012161436232/20201223053527?fbclid=IwAR1qtFD0obTtu2CYB5eOQrs8Vi4eJgbuq1a2Bw6y2oiSqgE5lkJvSL9mszE

----------------------------------------------------------

ต่อเนื่องกันในตอนที่ 3 ของสรุปย่อวารสารวิชาการ ป.ป.ช. ปีที่ 11 ฉบับที่ 2 โดยวันนี้จะเป็นเรื่องราวของ 'มาตรฐานสัญญาจ้างเหมาแบบเบ็ดเสร็จ FIDIC: ข้อสังเกตบางประการของสัญญา จ้างเหมาแบบเบ็ดเสร็จในประเทศไทย' ซึ่งรายละเอียดเนื้อหาจะเป็นอย่างไรสามารถติดตามอ่านกันได้เลยครับ

สัญญาจ้างเหมาแบบเบ็ดเสร็จเป็นสัญญาประเภทหนึ่งที่นิยมนำมาใช้ในการจัดทำโครงการของรัฐขนาดใหญ่ในประเทศไทยและนานาประเทศ เพื่อลดทอนข้อจำกัดต่าง ( ในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐที่ต้องการความรู้ความชำนาญทางเทคโนโลยีสูงและประสงค์ให้มีการดำเนินงานก่อสร้างที่มีความต่อเนื่องโดยบุคคลที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ประกอบกับหน่วยงานของรัฐเจ้าของโครงการขาดแคลนบุคลากรที่มีระดับความสามารถที่เหมาะสมเพียงพอทั้งด้านการสำรวจ ออกแบบ ควบคุม ดำเนินการก่อสร้าง รวมทั้งการหาแหล่งทุนและการบริหารจัดการโครงการที่มีความซับซ้อน จึงได้มีการพัฒนาระบบสัญญาของรัฐจากระบบจ้างเหมาก่อสร้างหรือให้สัมปทานก่อสร้างโดยวิธีปกติมาใช้วิธีการจ้างเหมาแบบเบ็ดเสร็จ (Turnkey) โดยได้นำมาใช้ในประเทศไทยอย่างแพร่หลายในหลายโครงการ

ซึ่งข้อสังเกตุบางประการในการนำสัญญามาตรฐาน FIDIC มาใช้ในการพัฒนาสัญญาจ้างเหมาแบบเบ็ดเสร็จของประเทศไทยจะมีเนื้อหาเป็นเช่นไรสามารถติดตามรายละเอียดได้ใน INFOGRAPHIC ได้เลยครับ

อ่านเนื้อหาสรุปย่อวารสารเพิ่มเติม Click Link : https://nacc.go.th/naccjournal/categorydetail/202012161436232/20201223052737?fbclid=IwAR00vHEGBDDuOVJSlNF4rukZEEH_AWLwoLkREQlbqYq88YJlxXeLvJ4FB2s

----------------------------------------------------------

สรุปย่อวารสารวิชาการ ป.ป.ช. ปีที่ 11 ฉบับที่ 2 ในตอนที่ 4 นี้เป็นเรื่องของ 'ทางออกจากปัญหาการไม่มีบทบัญญัติบังคับของอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วย การต่อต้านการทุจริต: นิยามคำว่าทุจริต คดีละเมิดข้ามชาติ และกลไกต่อต้านการแข่งขันทางการค้าที่ไม่เป็นธรรม' ซึ่งเนื้อหาจะเป็นอย่างไรสามารถติดตามอ่านกันได้เลยครับ

 

งานเขียนนี้แสดงปัญหาของอนุสัญญาอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านการทุจริต (United Nations Convention against Corruption หรือ UNCAC) และเสนอแนวคิดในการแก้ปัญหาโดยภาคธุรกิจหรือภาคเอกชนจากนานาประเทศ โดยเสนอให้ผู้แข่งขันในการประกวดราคาจากประเทศใด ๆ ก็ตามที่เสียประโยชน์จากการจ่ายสินบนของคู่แข่งที่เสนอราคาฟ้องผู้จ่ายสินบนเป็นคดีแพ่งต่อศาลได้ โดยกฎหมายละเมิดและกฎหมายต่อต้านการแข่งขันทางการค้าที่ไม่เป็นธรรม เนื่องจากผู้เขียนเห็นว่าการทุจริตเป็นอาชญากรรมทางเศรษฐกิจซึ่งละเมิดสิทธิทางเศรษฐกิจ(economic advantage) ของผู้เสียหายรวมถึง ก่อให้เกิดการแข่งขันทางการค้าที่ไม่เป็นธรรม (unfair competition) ในการเสนอราคาต่อหน่วยงานภาครัฐ

อ่านเนื้อหาสรุปย่อวารสารเพิ่มเติม Click Link : https://nacc.go.th/naccjournal/categorydetail/202012161436232/20201223052856?fbclid=IwAR1qtFD0obTtu2CYB5eOQrs8Vi4eJgbuq1a2Bw6y2oiSqgE5lkJvSL9mszE

-------------------------------------------------------------------

มาถึงตอนสุดท้ายของสรุปย่อวารสารวิชาการ ป.ป.ช. ปีที่ 11 ฉบับที่ 2 กันแล้วนะครับ ในวันนี้แอดมินขอนำเสนอเรื่องของ 'กฏหมายต่อต้านของการติดสินบนข้ามชาติในสาธารณรัฐฟินแลนด์' โดยจะมีรายละเอียดเนื้อหาอย่างไรสามารถติดตามอ่านกันได้เลยครับ

สาธารณรัฐฟินแลนด์เป็นประเทศที่มีความโปร่งใสในการดำเนินงานของภาครัฐสูงมากเมื่อพิจารณาจากดัชนีการรับรู้การทุจริต (CPI) ที่มีคะแน่นเฉลี่ยสูงถึง 93 คะแนน (คะแนนเต็ม 100 คะแนน) โดยได้บัญญัติกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและปราบปรามการทุจริต รวมถึงกรณีการติดสินบนไว้ในประมวลกฎหมายอาญาและการที่สาธารณรัฐฟินแลนด์เป็นรัฐในภาคีของ OECD Convention จึงต้องปฏิบัติตามอนุสัญญาและได้รับการตรวจสอบตามกระบวนการ "peer review" ที่ดำเนินการในระดับคณะกรรมการ เรียกว่า "Working Group on Bribery" เพื่อให้ข้อเสนอแนะในการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายและกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการติดสินบนข้ามชาติของสาธารณรัฐฟินแลนด์ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งตามประมวลกฎหมายอาญาของสาธารณรัฐฟินแลนด์ ผู้กระทำความผิดฐานติดสินบนทั้งผู้ให้และผู้รับจะต้องได้รับโทษ ในกรณีการติดสินบนที่ไม่รุนแรงจะได้รับโทษ ปรับหรือจำคุกไม่เกิน 2 ปี ส่วนการติดสินบนชั้นรุนแรงจะได้รับโทษจำคุกไม่ต่ำกว่า 4 เดือน แต่ไม่เกิน 4 ปี และในช่วง 19 ปีที่ผ่านมานับตั้งแต่มีพันธะในการปฏิบัติตาม OECD Convention สาธารณรัฐฟินแลนด์มีคดีการติดสินบนข้ามชาติเพียง 11 คดี โดยมีมูลความผิดจำนวน 8 คดี ซึ่งจะเห็นได้ว่าเจ้าหน้าที่รัฐและประชาชนในสาธารณรัฐฟินแลนด์กระทำความผิดฐานการให้และรับสินบนน้อยแม้อัตราโทษอยู่ในระดับต่ำมากเมื่อเทียบกับประเทศอื่น

อ่านเนื้อหาสรุปย่อวารสารเพิ่มเติม Click Link : https://nacc.go.th/naccjournal/categorydetail/202012161436232/20201223053640?fbclid=IwAR1z8JrRuefvPQy27lsF8cbvgvQOIe0lov8Dj51xuN0-1Q-_PrHkWfyuzys

Related