Contrast
Font
f155bf99751d93e620247425ac11c5de.jpg

เกร็ดความรู้...สู้ทุจริต‼️ เรื่อง "กรณีศึกษาการทุจริต" ประจำวันที่ 17 19 21 กรกฎาคม 2566

จากไชต์: สำนักงานคณะกรรมการป้องกัน และปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (สำนักงาน ป.ป.ช.) สนามบินน้ำ
จำนวนผู้เข้าชม: 824

09/08/2566

"ดำเนินการขอปล่อยตัวผู้ต้องหาโดยมีเจตนาช่วยเหลือ"

นาย ก. ขณะมียศพันตำรวจโท ก. กระทำการอันมิชอบด้วยหน้าที่ ได้ยื่นคำร้องต่อศาลอาญาขอปล่อยผู้ต้องหา โดยอ้างว่าการสอบสวนเสร็จสิ้นแล้วและคดีอยู่ในอำนาจของศาลแขวง ซึ่งเป็นความเท็จ เป็นเหตุให้ศาลอาญาออกหมายปล่อย และนาย ก. ได้นำหมายปล่อยดังกล่าวไปขอรับตัวผู้ต้องหาจากทัณฑสถานบำบัดพิเศษกลาง และปล่อยตัวผู้ต้องหาไปโดยมีเจตนาช่วยเหลือผู้ต้องหา ขณะที่นาย ข. ในฐานะเจ้าหน้าที่รับสำนวนของสำนักงานอัยการพิเศษ ฝ่ายคดียาเสพติด 3 ได้ส่งคืนสำนวนการสอบสวนคดีให้กับนาย ก. ซึ่งตามหน้าที่ของนาย ข. จะต้องส่งสำนวนคดีอาญาที่ตรวจสอบเบื้องต้นเสนอหัวหน้าฝ่ายธุรการลงสารบบประเภทคดี แต่กลับไม่ยอมนำสำนวนการสอบสวนดังกล่าวเสนอเป็นเหตุให้นาย ก. นำสำนวนการสอบสวนคดีอาญากลับไป จึงเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ระมัดระวังรักษาประโยชน์ของทางราชการ และไม่ปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบของทางราชการ

มติคณะกรรมการ ป.ป.ช. การกระทำของนาย ก. เป็นความผิดทางวินัยอย่างร้ายแรงตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535 มาตรา 82 วรรคสาม มาตรา 85 วรรคสอง มาตรา 90 วรรคสอง และมาตรา 98 วรรคสอง ประกอบพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการตำรวจ พ.ศ. 2521 มาตรา 45 และมาตรา 61 พระราชบัญญัติว่าด้วยวินัยตำรวจ พ.ศ. 2547 มาตรา 5 (12) และเป็นความผิดอาญาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 มาตรา 162 (1) (4) และมาตรา 200

การกระทำของนาย ข. เป็นความผิดทางวินัยไม่ร้ายแรงตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535 มาตรา 84 วรรคหนึ่ง และมาตรา 85 วรรคหนึ่ง
----------

ในวันนี้พบกับเรื่องราวกรณีศึกษาการกระทำการทุจริตของพนักงานของรัฐและมติของคณะกรรมการ ป.ป.ช. เกี่ยวกับการช่วยเหลือบุคคลต่างด้าวให้เดินทางออกนอกราชอาณาจักร ซึ่งเนื้อหาเรื่องราวจะเป็นอย่างไรสามารถติดตามกันได้เลยครับ

"ช่วยเหลือบุคคลต่างด้าวให้เดินทางออกนอกราชอาณาจักร"

จ่าสิบตำรวจ ส. ขณะปฏิบัติหน้าที่ประจำช่องตรวจหนังสือเดินทางอาคารผู้โดยสารขาออกระหว่างประเทศ ท่าอากาศยานกรุงเทพ ได้ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยได้อนุญาตให้บุคคลต่างด้าวสัญชาติจีนผ่านช่องตรวจเพื่อเดินทางออกนอกราชอาณาจักร โดยได้ตรวจประทับรอยตราขาออกในหนังสือเดินทางของบุคคลต่างด้าวเพียงบุคคลเดียว ส่วนอีก 2 คน ซึ่งถือหนังสือเดินทางไต้หวันปลอมและมีรอยตราประทับขาเข้ามาในราชอาณาจักรปลอม ได้ปล่อยให้ผ่านช่องตรวจไปโดยไม่ได้ตรวจประทับรอยตราแต่อย่างใดเพื่อแลกเปลี่ยนกับเงินสินบนรายละ 10,000 บาท รวมเป็นเงิน 20,000 บาท โดยจะโอนเข้าบัญชีเมื่อชาวต่างด้าวทั้งสองผ่านช่องตรวจเดินทางออกนอกราชอาณาจักรได้แล้ว

มติคณะกรรมการ ป.ป.ช.

การกระทำของ จ่าสิบตำรวจ ส. เป็นความผิดทางวินัยอย่างร้ายแรงตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535 มาตรา 82 วรรคสาม และมาตรา 98 วรรคสอง ประกอบพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการตำรวจ พ.ศ. 2521 มาตรา 45 และพระราชบัญญัติว่าด้วยวินัยตำรวจ พ.ศ. 2477 มาตรา 5 ประกอบพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2547 มาตรา 123 และเป็นความผิดอาญาตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157
----------

"ช่วยเหลือบุคคลต่างด้าวให้เดินทางออกนอกราชอาณาจักร"

จ่าสิบตำรวจ ส. ขณะปฏิบัติหน้าที่ประจำช่องตรวจหนังสือเดินทางอาคารผู้โดยสารขาออกระหว่างประเทศ ท่าอากาศยานกรุงเทพ ได้ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยได้อนุญาตให้บุคคลต่างด้าวสัญชาติจีนผ่านช่องตรวจเพื่อเดินทางออกนอกราชอาณาจักร โดยได้ตรวจประทับรอยตราขาออกในหนังสือเดินทางของบุคคลต่างด้าวเพียงบุคคลเดียว ส่วนอีก 2 คน ซึ่งถือหนังสือเดินทางไต้หวันปลอมและมีรอยตราประทับขาเข้ามาในราชอาณาจักรปลอม ได้ปล่อยให้ผ่านช่องตรวจไปโดยไม่ได้ตรวจประทับรอยตราแต่อย่างใดเพื่อแลกเปลี่ยนกับเงินสินบนรายละ 10,000 บาท รวมเป็นเงิน 20,000 บาท โดยจะโอนเข้าบัญชีเมื่อชาวต่างด้าวทั้งสองผ่านช่องตรวจเดินทางออกนอกราชอาณาจักรได้แล้ว

มติคณะกรรมการ ป.ป.ช.

การกระทำของ จ่าสิบตำรวจ ส. เป็นความผิดทางวินัยอย่างร้ายแรงตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535 มาตรา 82 วรรคสาม และมาตรา 98 วรรคสอง ประกอบพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการตำรวจ พ.ศ. 2521 มาตรา 45 และพระราชบัญญัติว่าด้วยวินัยตำรวจ พ.ศ. 2477 มาตรา 5 ประกอบพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2547 มาตรา 123 และเป็นความผิดอาญาตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157

Related