จากไชต์: สำนักงานคณะกรรมการป้องกัน และปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (สำนักงาน ป.ป.ช.) สนามบินน้ำ
จำนวนผู้เข้าชม: 482
ตอนที่ 1
สัปดาห์นี้แอดมินขอนำเสนอเรื่องของสรุปย่อบทความ วารสารวิชาการ ป.ป.ช. ปีที่ 12 ฉบับที่ 1 โดยในตอนแรก จะเสนอเนื้อหาเกี่ยวกับ การศึกษากลุ่มอิทธิพลซึ่งนำไปสู่การทุจริตคอร์รัปชันอย่างเป็นระบบ จำแนกตามภาคเศรษฐกิจ: กรณีศึกษาการทุจริตภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีศุลกากรในประเทศไทย
ลักษณะความสัมพันธ์ ความเชื่อมโยง และความร่วมมือซึ่งนำไปสู่การทุจริตอย่างเป็นระบบความสัมพันธ์ของกลุ่มอิทธิพลซึ่งนำไปสู่การทุจริตภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีศุลกากรมักเริ่มจากความสัมพันธ์เชิงอุปถัมภ์แล้วพัฒนาความสัมพันธ์อย่างเป็นระบบจนถึงกับมีลักษณะเป็นองค์กรที่มุ่งกระทำการทุจริตทางภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีศุลกากร โดยมีการวางแผนงาน วางแผนคนแบ่งงานกันทำแบบเครือข่ายที่มีความเชื่อมโยงและความร่วมมือกันรูปแบบของการทุจริตคอร์รัปชันภาชีมูลค่าเพิ่มและภาษีศุลกากรทมีดังนี้
(1) กรณีเจ้าหน้าที่ของรัฐกับผู้ประกอบการหรือผู้ที่กระทำตนเป็นผู้ประกอบการแต่ไม่ได้ประกอบการจริง
(2) กรณีผู้ประกอบการเป็นผู้ดำเนินการอย่างเป็นระบบด้วยตนเอง
(3) กรณีเจ้าหน้าที่ของรัฐเป็นผู้ดำเนินการเองทั้งขบวนการ สามารถจำแนกได้ 2 ลักษณะคือ (1) การหลีกเลี่ยงภาษี (Tax Evasion) และ (2) การฉ้อโกงภาษีอากร
Click Link เพื่ออ่านข้อมูลเพิ่มเติม : https://www.nacc.go.th/naccjournal/categorydetail/2020121614372259/20201223055605?
----------------------------------
มาต่อกันในตอนที่ 2 ของเรื่อง สรุปย่อบทความ วารสารวิชาการ ป.ป.ช. ปีที่ 12 ฉบับที่ 1 ซึ่งในตอนนี้ จะมีเนื้อหาเกี่ยวกับ "โมเดล STRONG กับมาตรการป้องกันการทุจริตขององค์กรระหว่างประเทศ" ซึ่งเป็นการนำเสนอสาระสำคัญของโมเดล STORNG และมาตรการป้องกันการทุจริตขององค์กรระหว่างประเทศ 3 องค์กร ได้แก่ องค์กรสหประชาชาติ (United Nations: UN) องค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ (Organization for Economic Co-operation and Development:OECD) และธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (Asian Development Bank: ADB) เพื่อศึกษาความสอดคล้องของโมเดล STRONG กับมาตรการสากลในการป้องกันการทุจริต
ทุกท่านสามารถอ่านเนื้อหาของสรุปย่อบทความนี้ได้ด้วยการ Click Link : https://www.nacc.go.th/naccjournal/categorydetail/2020121614372259/20201223055455?
--------------------------------
ตอนที่ 3
สรุปย่อบทความ วารสารวิชาการ ป.ป.ช. ปีที่ 12 ฉบับที่ 1 ตอนที่ 3 นี้จะพูดถึงเรื่องของ รูปแบบการทุจริตและปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดการทุจริตคอร์รัปชันในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมถึงข้อเสนอแนะเชิงนโยบายต่อการพัฒนาและปรับปรุงการดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งวันนี้แอดมินจะขอยกเนื้อหาบางส่วนมานำเสนอให้ทุกท่านได้อ่านกันครับ
รูปแบบการทุจริตในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มี 5 รูปแบบ ได้แก่
(1) การทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้าง
(2) การทุจริตในงานการเงินและบัญชี
(3) การทุจริตในการบริหารงานบุคคล
(4)การทุจริตในการบังคับใช้กฎหมาย
(5) การทุจริตในการบริการ
โดยการทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้างเกิดมากที่สุด มีจำนวน 159 คดี คิดเป็นร้อยละ 54
ในส่วนของเรื่อง ปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดการทุจริตในภาพรวมของปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดการทุจริต พบว่า เกิดจากปัจจัยส่วนบุคคลที่ตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐปฏิบัติงานด้วยความไม่ซื่อสัตย์สุจริต เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตน ปัจจัยเชิงระบบของการกำกับดูแล
หากต้องการทราบเนื้อหาเพิ่มเติมสามารถอ่านได้ด้วยการ Click Link : https://www.nacc.go.th/naccjournal/categorydetail/2020121614372259/20201223060714?
--------------------------------
ตอนที่ 4
ตอนที่ 5
ตอนสุดท้ายของ สรุปย่อบทความ วารสารวิชาการ ป.ป.ช. ปีที่ 12 ฉบับที่ 1 ในเรื่องของ การศึกษาเครือข่ายกลุ่มอิทธิพลซึ่งนำไปสู่การทุจริตคอร์รัปชันอย่างเป็นระบบของภาคการศึกษา ซึ่งในเรื่องนี้จะพูดถึงสาเหตุของการเกิดเครือข่ายกลุ่มอิทธิพลซึ่งนำไปสู่การทุจริตคอร์รัปชันอย่างเป็นระบบในภาคการศึกษา โดยเกิดจากความร่วมมือของเครือข่ายที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายระหว่างบรรดานักการเมือง ข้าราชการระดับสูง และนักธุรกิจ ถือเป็นตัวการทำลายสังคมและประเทศชาติที่ส่งผลกระทบในทางลบอย่างมาก
นอกจากนั้นในเรื่องของรูปแบบและลักษณะความร่วมมือการทุจริตคอร์รัปชันอย่างเป็นระบบในภาคการศึกษา มีดังนี้ คือ (1) การทุจริตจากการจัดซื้อจัดจ้าง และการก่อสร้าง (2) การทุจริตจากการจัดซื้อหนังสือ ตำรา วัสดุ และครุภัณฑ์ทางการศึกษา (3) การทุจริตจากระบบการบริหารงานบุคคลประเภทต่าง ๆ (4) การทุจริตจากการรับนักเรียนเข้าสถานศึกษาในรูปแบบการทุจริตคอร์รัปชันอย่างเป็นระบบประเภทต่าง ๆ
หากต้องการทราบเนื้อหาเพิ่มเติมสามารถอ่านได้ที่ Link นี้ : https://www.nacc.go.th/naccjournal/categorydetail/2020121614372259/20201223055318?