Contrast
Font
866fcc360e02efd7d39808fda2f5a771.jpg

เกร็ดความรู้...สู้ทุจริต!! เรื่อง : “การดำเนินการของศูนย์ป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติสำนักงาน ป.ป.ช. (Corruption Deterrence Center : CDC)”

จากไชต์: สำนักงานคณะกรรมการป้องกัน และปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (สำนักงาน ป.ป.ช.) สนามบินน้ำ
จำนวนผู้เข้าชม: 361

15/11/2565

ตอนที่ 1 ความเป็นมาของ “ศูนย์ป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติสำนักงาน ป.ป.ช. (Corruption Deterrence Center : CDC)”

  เลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. (นายนิวัติไชย เกษมมงคล) เห็นควรให้มีการจัดตั้งศูนย์ป้องปรามการทุจริตแห่งชาติ (Corruption Deterrence Center : CDC) และได้มีการแถลงข่าวการจัดตั้งศูนย์ CDC เมื่อวันที่ ๑๙ มกราคม ๒๕๖๕ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเฝ้าระวังและประเมินสภาวการณ์ทุจริตที่สามารถป้องปรามและลดการทุจริตได้อย่างมีประสิทธิภาพตามกลไกของกฎหมายได้บัญญัติไว้ตามมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 การส่งต่อการดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหาการทุจริตตามหน้าที่และอำนาจของหน่วยงาน ตลอดจนเพื่อให้เกิดระบบ การวิเคราะห์และประเมินความเสี่ยงการทุจริตที่มีการบูรณาการข้อมูลจากทุกภาคส่วน ซึ่งเป็นข้อมูลที่ถูกต้อง แม่นยำ สามารถนำไปใช้ ในการระงับยับยั้งการทุจริตและแก้ไขปัญหาการทุจริตอย่างเป็นระบบ รวมทั้งเพื่อให้เกิดการบูรณาการอย่างใกล้ชิดในทุกมิติทั้งด้านการส่งต่อข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล และการร่วมดำเนินการเมื่อพบข้อมูลที่ส่อว่าอาจมีพฤติการณ์ทุจริตอย่างรวดเร็วกับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเชื่อมั่นต่อระบบเฝ้าระวังการทุจริตที่มีประสิทธิภาพ อันจะนำไปสู่การสร้างความร่วมมือและผนึกกำลังต้านทุจริตในวงกว้าง
------------------------------

ตอนที่ 2 หน้าที่และอำนาจของ “ศูนย์ป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติสำนักงาน ป.ป.ช. (Corruption Deterrence Center : CDC)”

เลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้ลงนามในคำสั่งสำนักงาน ป.ป.ช. ที่ 306/2565 ลงวันที่ 19 เมษายน 2565 เรื่อง จัดตั้งศูนย์ป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ สำนักงาน ป.ป.ช. (Corruption Deterrence Center : CDC) โดยมีเลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. เป็นผู้อำนวยการศูนย์ ซึ่งมีหน้าที่และอำนาจ ดังนี้

1) รวบรวมข้อมูลการแจ้งเบาะแส รวมทั้งข่าวเกี่ยวกับการทุจริต หรือเหตุการณ์ที่ส่อว่าจะเกิดการทุจริตจากช่องทางต่าง ๆ ของสำนักงาน ป.ป.ช. หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน เครือข่ายภาคประชาชนสื่อสังคมออนไลน์และสื่อมวลชนทุกแขนง ทั้งในประเทศและต่างประเทศ

2) ติดตามเฝ้าระวัง วิเคราะห์ และประเมินสภาวการณ์ อย่างรวดเร็ว เมื่อเกิดเหตุการณ์ที่บ่งชี้ว่าอาจนำไปสู่การทุจริตหรือส่อว่าอาจมีการทุจริต พร้อมข้อเสนอแนะแนวทางการดำเนินการป้องกัน ป้องปรามและแก้ไขปัญหาต่อเลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. เพื่อพิจารณาสั่งการหรือมอบหมายหน่วยงานภายในสำนักงาน ป.ป.ช. ที่เกี่ยวข้องดำเนินการ 

3) มอบหมายให้สำนักงาน ป.ป.ช. ภาค และสำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัด สำรวจ ตรวจสอบ ติดตาม เฝ้าระวัง และประเมินสภาวการณ์ทุจริตในทุกพื้นที่เพื่อป้องกันการทุจริตอย่างรวดเร็ว

4) ประสานความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม เพื่อดำเนินการป้องปรามการทุจริต ตลอดจนประสานการปฏิบัติงานอื่นตามที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. หรือเลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. มอบหมาย

5) ปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการ ป.ป.ช. หรือเลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. มอบหมาย
------------------------------

ตอนที่ 3 กระบวนการรวบรวมวิเคราะห์และบริหารจัดการข้อมูลเรื่องที่จะเข้ามายังศูนย์ CDC 

รายละเอียดแผนผังดูที่ INFOGRAPHIC ตอนที่ 3

------------------------------

ตอนที่ 4 แนวทางการบริหารจัดการข้อมูล CDC ในด้านของ “แหล่งข่าว” และ “การรับ – แจ้ง และบริหารจัดการช้อมูล”

แหล่งข่าว

คือ แหล่งข้อมูลที่ได้นำเสนอข้อมูลที่มีเหตุอันควรสงสัยว่ามีการดำเนินการอย่างใดในหน่วยงานของรัฐอันอาจนำไปสู่การทุจริตหรือส่อว่าอาจมีการทุจริต ได้แก่
1) ข่าวประชาสัมพันธ์ของสำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัด/สำนักงาน ป.ป.ช. ภาค สื่อมวลชน/สื่อมวลชนออนไลน์/สื่อสังคมออนไลน์
2) แหล่งข่าวอื่น ๆ เช่น บัตรสนเท่ห์ ผู้แจ้งเบาะแส เครือข่ายภาคประชาสังคม แหล่งข่าวสำนักสืบสวนและกิจการพิเศษ ผู้บริหารสำนักงาน ป.ป.ช. มอบหมาย

 

การรับ – แจ้ง และบริหารจัดการข้อมูล
1) กรณีสำนักสืบสวนและกิจการพิเศษได้รับข้อมูลจากแหล่งข่าวแล้วและดำเนินการตรวจสอบข่าวเบื้องต้น หากมีเหตุอันควรสงสัยว่าอาจมีการทุจริตจะแจ้งข้อมูลดังกล่าว เสนอคณะกรรมการศูนย์ CDC ผ่านกลุ่มไลน์ศูนย์ปฏิบัติการฯ CDC ให้ สำนักงาน ป.ป.ช. ภาคหรือสำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัด พื้นที่กรุงเทพมหานครให้สำนักที่เกี่ยวข้อง พิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป

2) กรณีสำนักงาน ป.ป.ช. ภาคหรือสำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัด ได้รับข้อมูลจากแหล่งข่าวในพื้นที่ นอกเหนือจากกรณีที่คณะกรรมการศูนย์ CDC ได้แจ้งข้อมูลให้รับทราบ เมื่อดำเนินการตรวจสอบข้อมูลเบื้องต้นจากแหล่งข่าวแล้ว หากมีเหตุอันควรสงสัยว่าอาจมีการทุจริตให้แจ้งข้อมูลดังกล่าว ผ่านกลุ่มไลน์ศูนย์ปฏิบัติการฯ CDC ทราบ และดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป

------------------------------

ตอนที่ 5 แนวทางการบริหารจัดการข้อมูล CDC ในด้านของ “การตรวจสอบ และรายงานผล”

การตรวจสอบข้อมูล

  1. การตรวจสอบข้อมูลเบื้องต้น โดยดำเนินการตรวจสอบข้อมูลจากแหล่งข่าว ในประเด็นดังต่อไปนี้
    1.1 มีเหตุอันควรสงสัยว่าอาจมีการทุจริตหรือไม่ มีประเด็นการทุจริตประเภทใด
    1.2 คณะกรรมการ ป.ป.ช. รับเรื่องดังกล่าวไว้ตรวจสอบข้อเท็จจริงเบื้องต้น หรือไต่สวนข้อเท็จจริงแล้วหรือไม่
    1.3 มีหน่วยงานตรวจสอบ (ป.ป.ท., สตง. กรมสอบสวนคดีพิเศษ, พนักงานสอบสวน ฯลฯ)เข้าดำเนินการกับกรณีดังกล่าวแล้วหรือไม่ ผลเป็นอย่างไร
  2. การประสานข้อมูลหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยอาจมีหนังสือถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับประเด็นที่เกี่ยวข้อง
  3. การลงพื้นที่ตรวจสอบข้อมูล โดยสำนักงาน ป.ป.ช. ภาคหรือสำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัด หรือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
  4. การตรวจสอบข้อมูลสามารถดำเนินการตามความเหมาะสม

 

  1. การรายงานผล
  1. การรายงานผลการตรวจสอบข้อมูลเบื้องต้น เมื่อสำนักงาน ป.ป.ช. ภาคหรือสำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัด รายงานผลการตรวจสอบข้อมูลเบื้องต้นในพื้นที่/จังหวัดที่รับผิดชอบ ผ่านกลุ่มไลน์ศูนย์ปฏิบัติการฯ CDC
  2. กรณีมีการตรวจสอบข้อมูลและเฝ้าระวังการทุจริตอย่างต่อเนื่อง ให้รายงานผลความคืบหน้าและติดตามผลการดำเนินการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเป็นระยะ

Related