Contrast
Font
60e2ac880170125e795a2c5a4324fc88.jpg

เกร็ดความรู้...สู้ทุจริต เรื่อง" สถิติข้อมูลเรื่องที่เข้ามายัง “ศูนย์ป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติสำนักงาน ป.ป.ช. (Corruption Deterrence Center : CDC)” ประจำปีงบประมาณ 2565 "

จากไชต์: สำนักงานคณะกรรมการป้องกัน และปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (สำนักงาน ป.ป.ช.) สนามบินน้ำ
จำนวนผู้เข้าชม: 344

06/12/2565

เรื่อง : สถิติข้อมูลเรื่องที่เข้ามายัง “ศูนย์ป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติสำนักงาน ป.ป.ช. (Corruption Deterrence Center : CDC)” ประจำปีงบประมาณ 2565

ตอนที่ 1 จำนวนเรื่องเรื่องที่เข้ามายังศูนย์ CDC

สำนักเฝ้าระวังและประเมินสภาวการณ์ทุจริต ดำเนินการรวบรวมและจัดเก็บข้อมูลแบ่งเป็น     2 ระยะ ประกอบด้วย

ระยะแรก ระหว่างเดือนมกราคม 2565 - เดือนพฤษภาคม 2565 เป็นการดำเนินการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลโดยสำนักในส่วนกลาง กล่าวคือ สำนักที่เกี่ยวข้องประกอบด้วย สำนักสืบสวนและกิจการพิเศษ สำนักสื่อสารองค์กร สำนักบริหารงานกลาง และสำนักเฝ้าระวังและประเมินสภาวการณ์ทุจริต ร่วมกันพิจารณาเรื่องที่เข้ามายังศูนย์ CDC และแจ้งให้สำนักงาน ป.ป.ช. ภาค หรือสำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดดำเนินการตามหน้าที่และอำนาจต่อไป

ระยะที่ 2 เดือนพฤษภาคม 2565  ถึงปัจจุบัน ซึ่งเป็นหลังจากการประชุมคณะกรรมการศูนย์ป้องปรามการทุจริตแห่งชาติ (Corruption Deterrence Center : CDC) ครั้งที่ ๑/256๕ เมื่อวันอังคารที่ ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๖๕ ซึ่งในการประชุมดังกล่าวเป็นการซักซ้อมความเข้าใจแนวทางกับสำนักงาน ป.ป.ช. ภาค หรือสำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัด ในการดำเนินการบริหารจัดการข้อมูลเรื่องที่จะเข้าสู่กระบวนการดำเนินการของศูนย์ CDC

ปรากฏรายละเอียดสรุปได้ ตาม Infographic

 

----------------------------------------------

ตอนที่ 2 “ประเภทแหล่งที่มาของเรื่องที่เข้ามายังศูนย์ CDC

สามารถแบ่งประเภทของเรื่องตามแหล่งที่มาของข้อมูล จำนวน 5 แหล่งที่มา ประกอบด้วย
 1) สื่อมวลชน/สื่อสังคมออนไลน์
โดยเสนอข้อมูลการทุจริตผ่านเว็บไซต์ของสำนักข่าวต่าง ๆ หรือ Fanpage facebook
 2) เครือข่าย/ชมรม STRONG ต้านทุจริต
เป็นข้อมูลการทุจริตที่เครือข่ายฯ นำเสนอผ่าน Fanpage facebook หรือไลน์กลุ่ม
3) การรายงานผลการเฝ้าระวังฯ (ป.ป.ช.)
เป็นกรณีที่สำนักส่วนกลาง สำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัด หรือสำนักงาน ป.ป.ช. ภาค ได้รับแจ้งข้อมูลการทุจริตในพื้นที่และเข้าดำเนินการตรวจสอบข้อมูลเอง และนำมาแถลงข่าวเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ หรือรายงานให้ศูนย์ CDC รับทราบ
4) แหล่งข่าวสำนักสืบสวนและกิจการพิเศษ
เป็นข้อมูลที่ได้รับการแจ้งจากแหล่งข่าว    ที่เกี่ยวข้อง
5) ผู้บริหารมอบหมาย
เป็นกรณีที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. หรือเลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้รับทราบข้อมูลและให้ความสนใจในประเด็นดังกล่าวและได้สั่งการให้ศูนย์ CDC ดำเนินการ

ปรากฏรายละเอียดสรุปได้ ตาม Infographic

 

----------------------------------------------

ตอนที่ 3 “ประเภทคดีที่เข้ามายังศูนย์ CDC”

จากข้อมูลที่แจ้งเขามายังศูนย์ CDC สามารถแบ่งตามประเภทคดีของเรื่อง จำนวน 5 กลุ่ม ประกอบด้วย
1) จัดซื้อจัดจ้าง/สาธารณูปโภค
เป็นกรณีขอให้ตรวจสอบกระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง หรือ การอนุมัติโครงการก่อสร้างสาธารณูปโภค
2) การทุจริตต่อหน้าที่
เป็นกรณีปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติอย่างใดในตำแหน่งหรือหน้าที่ หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติอย่างใดในพฤติการณ์ที่อาจทำให้ผู้อื่นเชื่อว่ามีตำแหน่งหรือหน้าที่ ทั้งที่ตนมิได้มีตำแหน่งหรือหน้าที่นั้น หรือใช้อำนาจในตำแหน่งหรือหน้าที่ ทั้งนี้ เพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบสำหรับตนเองหรือผู้อื่น
3) ทรัพยากรธรรมชาติ
เป็นกรณีที่เจ้าพนักงานของรัฐนำทรัพยากรสาธารณะไปแสวงหาประโยชน์สำหรับตนเองหรือผู้อื่นโดยมิชอบด้วยกฎหมาย
4) เรียกรับทรัพย์สิน
เป็นกรณีที่เจ้าพนักงานของรัฐ เรียก รับ หรือยอมจะรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใด
5) ร่ำรวยผิดปกติ
เป็นกรณีมีทรัพย์สินมากผิดปกติ หรือมีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นมากผิดปกติหรือการมีหนี้สินลดลงมากผิดปกติ หรือได้ทรัพย์สินมาโดยไม่มีมูลอันจะอ้างได้ตามกฎหมายสืบเนื่องมาจากการปฏิบัติตามหน้าที่หรือใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่

ปรากฏรายละเอียดสรุปได้ ตาม Infographic

 

----------------------------------------------

ตอนที่ 4 “ผลดำเนินการของเรื่องที่เข้ามายังศูนย์ CDC”  

จากข้อมูลที่แจ้งเขามายังศูนย์ CDC สามารถสรุปผลการดำเนินการ จำนวน 4 ขั้นตอน ประกอบด้วย
1) แจ้ง สปจ. สปภ. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับทราบ
เป็นกรณีที่ศูนย์ CDC ได้แจ้งสำนักงาน ป.ป.ช. ภาคหรือสำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดทราบเพื่อดำเนินการตามหน้าที่และอำนาจต่อไป
2) อยู่ระหว่างตรวจสอบของ สปจ. สปภ. เป็นกรณีที่สำนักงาน ป.ป.ช. ภาคหรือสำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดดำเนินการตรวจสอบข้อมูลเบื้องต้นแล้ว และลงพื้นที่ตรวจสอบร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
3) มีการปรับปรุงแก้ไขปัญหาแล้ว
หลังจากสำนักงาน ป.ป.ช. ภาคหรือสำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดรับทราบหรือดำเนินการตรวจสอบข้อมูลและลงพื้นที่แล้ว ข้อมูลหรือพฤติการณ์ที่ปรากฏตามข่าวหน่วยงานที่มีหน้าที่และอำนาจรับไปดำเนินการหรือมีการแก้ไขปัญหาแล้ว
4) สำนักงาน ป.ป.ช. ลงรับเรื่องในระบบตรวจรับคำกล่าวหา
หลังจากสำนักงาน ป.ป.ช. ภาคหรือสำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดรับทราบหรือดำเนินการตรวจสอบข้อมูลและลงพื้นที่แล้ว ปรากฏมีพฤติการณ์เข้าข่ายกระทำการทุจริต จึงได้ลงรับเรื่องในระบบตรวจรับคำกล่าวหา PESCA ไว้ดำเนินการตามหน้าที่และอำนาจต่อไป

ปรากฏรายละเอียดสรุปได้ ตาม Infographic

 

----------------------------------------------

ตอนที่ 5 “จำนวนงบประมาณที่สามารถป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น (คำนวณเฉพาะงบประมาณโครงการ)”

ปรากฏรายละเอียดสรุปได้ ตาม Infographic

 

----------------------------------------------

 

Related