Contrast
Font
4ee17981e4198f6be48da5bac9e37485.jpg

เกร็ดความรู้...สู้ทุจริต!! เรื่อง : “ดัชนีการรับรู้การทุจริต (Corruption Perceptions Index : CPI)” ตอนที่ 6-10

จากไชต์: สำนักงานคณะกรรมการป้องกัน และปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (สำนักงาน ป.ป.ช.) สนามบินน้ำ
จำนวนผู้เข้าชม: 961

06/02/2566

 ตอนที่ 6 แหล่งข้อมูลการประเมินดัชนีการรับรู้การทุจริต (CPI) “แหล่งข้อมูล The Political and Economnic Risk Consultancy (PERC)”

บริษัท Political and Economic Risk Consultancy, Ltd. หรือ PERC ก่อตั้งขึ้นในปี

พ.ศ. 2519 มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ฮ่องกง โดย PERC เป็นองค์กรที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจและการเมือง

ที่มีความเชี่ยวชาญด้านข้อมูลยุทธศาสตร์ทางธุรกิจ สำหรับการลงทุนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกและเอเชีย

ตะวันออกเฉียงใต้ นอกจากนี้ ยังมีภารกิจในการสำรวจและเผยแพร่รายงานสภาวะความเสี่ยงของประเทศ

ในเอเชียซึ่งให้ความสำคัญไปที่ประเด็นทางสังคมและการเมือง อาทิเช่น การคอร์รัปชัน ความเสี่ยงในการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา คุณภาพแรงงาน จุดแข็งและจุดด้อยของระบบในประเทศแถบเอเชีย เป็นต้น

ในแหล่งข้อมูล The Political and Economic Risk Consultancy (PERC) มีประเด็นที่องค์กร

เพื่อความโปร่งใสนานาชาติ นำมาคำนวณเป็นคะแนนดัชนีการรับรู้การทุจริต โดยคำถามมีจำนวน 3 ข้อ

แต่ในการคำนวณ CPI ใช้ข้อที่ 1 เท่านั้น

1) คุณจะให้คะแนนปัญหาการคอร์รัปชันในประเทศที่คุณกำลังทำงานอยู่ในระดับใด

(How do you grade the problem of corruption in the country in which you are working?)

2) ปัญหาคอร์รัปชันลดลง คงที่ หรือเพิ่มขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับปีที่ผ่านมา

as corruption decreased, stayed the same or increased compared with one y

3) การคอร์รัปชันในแง่มุมใด หรือเรื่องใดที่ท่านเห็นว่ามีความสำคัญมากที่สุด

(What aspects or implications of corruption in your country stand out to you as being particularly important?)

......................................................................................................................

ตอนที่ 7 แหล่งข้อมูลการประเมินดัชนีการรับรู้การทุจริต (CPI) “แหล่งข้อมูล The PRS Group International Country Risk Guide (PRS)”

The PRS Group International Country Risk Guide หรือ PRS เป็นการจัดอันดับความเสี่ยงของประเทศต่าง ๆ ใน 3 ต้าน ได้แก่ ความเสี่ยงด้านการเมือง ด้านเศรษฐกิจ และด้านการเงิน วิเคราะห์ข้อมูลโดยผู้เชี่ยวชาญและมีการรายงานผลทุกเดือน ครอบคลุม 140  ประเทศทั่วโลก จัดทำโดยหน่วยงานชื่อ The PRS Group, Inc. ซึ่งเป็นองค์กรแสวงหากำไร สำนักงานตั้งอยู่ที่นครนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา ประเด็น การคอร์รัปชัน เป็นหนึ่งในปัจจัยที่ใช้ประเมินความเสี่ยงด้านการเมืองโดยมุ่งประเมินการคอร์รัปชันในระบบการเมืองเป็นหลัก รูปแบบการทุจริตที่พบมากที่สุด คือ การเรียกรับสินบน หรือการเรียกรับเงินเพื่ออำนวยความสะดวกในการนำเข้า/ส่งออก การประเมินภาษี รวมถึงระบบอุปถัมภ์ ระบบพวกพ้อง การให้เงินสนับสนุนพรรคการเมืองแบบลับ ๆ และความสัมพันธ์ใกล้ชิดของนักการเมืองกับนักธุรกิจ

ในแหล่งข้อมูล The PRS Group International Country Risk Guide (PRS) มีประเด็นที่องค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ นำมาคำนวณเป็นคะแนนดัชนีการรับรู้การทุจริต คือ "นี่คือการประเมินการคอร์รัปชันในระบบการเมือง ซึ่งรูปแบบของการคอร์รัปชันโดยตรงที่การดำเนินธุรกิจพบบ่อยครั้ง คือ การเรียกร้องเงิน หรือการต้องจ่ายสินบนเพื่อให้ได้มาซึ่งใบอนุญาต การนำเข้าและส่งออก (Import and Export Licenses) การควบคุมการส่งออก (Exchange Controls) การประเมินภาษี การคุ้มครองจากตำรวจ หรือการกู้ยืม การให้ค่าคะแนนจะวัดจากการคอร์รัปชันในรูปแบบของระบบอุปถัมภ์ที่มากเกินไป ระบบพวกพ้อง การฝากเข้าทำงาน เงินที่เป็นความลับของพรรคการเมือง รวมทั้งความสัมพันธ์ของภาคการเมืองและนักธุรกิจที่มีความใกล้ชิดกันอย่างน่าสงสัย (This is an assessment of corruption within the political system. The most common form of corruption met directly by businesses is financial corruption in the form of demands for special payments and bribes connected with import and export licenses, exchange controls, tax assessments, police protection, or loans. The measure is most concerned with actual or potential corruption  in the form of excessive patronage, nepotism, job reservations, exchange of favours, secret party funding, and suspiciously closeties between politics and business.)"


......................................................................................................................

ตอนที่ 8 แหล่งข้อมูลการประเมินดัชนีการรับรู้การทุจริต (CPI) “แหล่งข้อมูล World Economic Forum (WEF)”

          สำหรับสัปดาห์นี้ เรามาต่อเนื่องกันกับเรื่องของ แหล่งข้อมูลการประเมินดัชนีการรับรู้การทุจริต (CPI)  สำหรับตอนที่ 6 นี้ จะเป็นเรื่องของ “แหล่งข้อมูล World Economic Forum (WEF)”

สภาเศรษฐกิจโลก (World Economic Forum : WEF) ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2514 โดย คลาอัส มาร์ติน สเควป (Klaus Martin Schwab) มีสำนักงานใหญ่ในกรุงเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เป็นองค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไร โดยจะมุ่งเน้นความร่วมมือระหว่างประเทศของผู้นำภาครัฐและเอกชน ทั้งทางด้านการเมือง ภาคธุรกิจ และภาคสังคม เพื่อร่วมกันพิจารณาประเด็นการพัฒนาของโลก ภูมิภาค และภาคอุตสาหกรรมต่างๆ

 โดยจะจัดการประชุมขึ้นทุกปีที่เมืองดาวอส ( Davos) ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ สภาเศรษฐกิจโลกได้จัดทำร้ายงานวิจัยที่ชื่อว่า "รายงานการวัดอันดับความสามารถในการแข่งขัน (Global Competitiveness Report : GCR)" โดยนำเสนอการวัดอันดับความสามารถทางการแข่งขัน ผ่านตัวชี้วัดที่เรียกว่า Global Competitiveness Index (GCI) ซึ่ง GC! ดำเนินการรวบรวมข้อมูลด้านต่าง ๆ ผ่าน "แบบสอบถามความคิดเห็นผู้บริหาร (Executive Opinion Survey : EOS)" ซึ่งถูกออกแบบขึ้นมา เพื่อสำรวจความพึงพอใจของนักธุรกิจต่างประเทศ และนักธุรกิจภายในประเทศว่า การประกอบธุรกิจในประเทศเหล่านั้นมีความสะดวกระดับใด มีปัจจัยใดบ้างที่เป็นปัญหาและอุปสรรคต่อการประกอบธุรกิจ

ในแหล่งข้อมูล World Economic Forum (WEF) มีประเด็นที่องค์กรเพื่อความโปร่งใส

นานาชาติ นำมาคำนวณเป็นคะแนนดัชนีการรับรู้การทุจริต คือ

  1. ในประเทศของคุณ เป็นเรื่องปกติเพียงใดที่บริษัทจ่ายเงินพิเศษโดยไม่มีเอกสารอ้างอิงหรือจ่ายสินบนที่เชื่อมโยงกับเรื่องต่อไปนี้ (In your country, how common is it for firms to make

undocumented extra payments or bribes connected with the following)

(1) การนำเข้า - ส่งออก (Imports and exports)

(2) สาธารณูปโภค (Public Utilities)

(3) การชำระภาษีประจำปี (Annual Tax Payments)

(4) การทำสัญญาและการออกใบอนุญาต (Awarding of public contracts and licenses)

(5) ได้รับการตัดสินใจที่เอื้อประโยชน์จากกระบวนการยุติธรรม (Obtaining favorable judicial decisions.)

  1. ในประเทศของคุณ เป็นเรื่องปกติเพียงใดที่มีการคอร์รัปชันโดยการจ่ายโอนเงินงบประมาณของรัฐไปยังบริษัท บุคคลธรรมดาหรือกลุ่มบุคคล (In your country, how common is diversion of public

funds to companies, individuals or groups due to corruption?)

......................................................................................................................

ตอนที่ 9 แหล่งข้อมูลการประเมินดัชนีการรับรู้การทุจริต (CPI) “แหล่งข้อมูล World Justice Project (WJP)

          สำหรับสัปดาห์นี้ เรามาต่อเนื่องกันกับเรื่องของ แหล่งข้อมูลการประเมินดัชนีการรับรู้การทุจริต (CPI)  สำหรับตอนที่ 6 นี้ จะเป็นเรื่องของ “แหล่งข้อมูล World Justice Project (WJP)

World Justice Project Rule of Law Index เป็นดัชนีชี้วัดที่ให้ความสำคัญกับหลักนิติธรรม

(Rule of Law มีการคิดระดับคะแนนอยู่ระหว่าง 0-1 โดยมี World Justice Project (WJP) ซึ่งเป็นองค์กร

ที่ไม่แสวงหากำไร ตั้งอยู่ที่กรุงวอชิงตัน ดีซี และเมืองซีแอตเทิล ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นผู้จัดการประเมิน

ทั้งนี้ การประเมินดัชนีชี้วัดดังกล่าวให้ความสำคัญกับหลักการสำคัญ 4 ประการ คือ

(1) รัฐบาลและหน่วยงานของรัฐต้องอยู่ภายใต้กฎหมายและถูกตรวจสอบได้

(2) กฎหมายต้องเปิดเผย มีความชัดเจน มั่นคง ปกป้องสิทธิเสรีภาพของประชาชน

(3) กระบวนการทางกฎหมายมีความเป็นธรรมและมีประสิทธิภาพ

(4) การตัดสินคดีต้องมีความเป็นธรรม มีจริยธรรม มีความเป็นกลาง ซึ่งจากหลักการดังกล่าว ได้มีการพัฒนาเป็นหลักเกณฑ์ย่อย อาทิ การทุจริตคอร์รัปชัน สิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชน การบังคับใช้กฎหมาย
......................................................................................................................

ตอนที่ 10 แหล่งข้อมูลการประเมินดัชนีการรับรู้การทุจริต (CPI) “แหล่งข้อมูล Varieties of Democracy Institute (VDEM)”

          สำหรับสัปดาห์นี้ เรามาต่อเนื่องกันกับเรื่องของ แหล่งข้อมูลการประเมินดัชนีการรับรู้การทุจริต (CPI)  สำหรับตอนที่ 6 นี้ จะเป็นเรื่องของ “แหล่งข้อมูล Varieties of Democracy Institute (VDEM)”

Varieties of Democracy Institute หรือสถาบัน VDEM เป็นสถาบันที่เกิดจากเจ้าภาพร่วมของภาควิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยกูเตนเบิร์ก ประเทศสวีเดน และสถาบันเคลลอกก์ มหาวิทยาลัยนอร์ทเธอร์ดาม ประเทศสหรัฐอเมริกา และอาศัยความร่วมมือของนักวิชาการมากกว่า 50 คนจากทั่วโลก โดยมีผู้จัดการโครงการแบ่งความรับผิดชอบแตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่ประกอบด้วยผู้จัดการประจำภูมิภาคมากกว่า 30 คน ผู้ประสานงาน 170  ประเทศ ผู้ช่วยนักวิจัยและผู้เชี่ยวชาญ 6,500 คน
          VDEM จึงเป็นหนึ่งในโครงการจัดเก็บและวิจัยข้อมูลด้านรัฐศาสตร์ที่ใหญ่ที่สุด มีฐานข้อมูลมากกว่า 16 ล้านหน่วย ซึ่งจัดเก็บตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2533-2559 และคาดว่าเดือนเมษายนปี 2017 จะมีชุดข้อมูลครอบคลุม 177ประเทศ โดยมีการปรับปรุงข้อมูลเป็นประจำทุกปี
          ในแหล่งข้อมูล Varieties of Democracy Institute (VDEM) มีประเด็นที่องค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ นำมาคำนวณเป็นคะแนนดัชนีการรับรู้การทุจริต ตามคำถามที่ว่า การทุจริตทางการเมือง เป็นที่แพร่หลายมากน้อยเพียงใด (How pervasive is political corruption?) โดยดัชนีแสดงความแพร่หลายของการทุจริตนี้ ถูกคำนวณจากค่าเฉลี่ยของดัชนี 4 ด้าน คือ
          1) ดัชนีการคอร์รัปชันในภาครัฐ (Public sector corruption index) โดยใช้คำถามว่าเจ้าหน้าที่รัฐมีพฤติกรรมเรียกรับสินบน หรือสิ่งของอื่นใด ในระดับใด และเจ้าหน้าที่รัฐมีพฤติกรรมขโมยเบียดบังหรือยักยอกงบประมาณ หรือทรัพยากรภาครัฐ เพื่อประโยชน์ส่วนตนหรือเพื่อคนในครอบครัวของตนเองบ่อยครั้งเพียงใด
          2) ดัชนีการคอร์รัปชันของผู้บริหารระดับสูง (Executive corruption index โดยใช้คำถามว่าผู้บริหารระดับสูง หรือตัวแทน มีพฤติกรรมเรียกรับสินบน หรือสิ่งของอื่นใด เป็นประจำหรือไม่ และผู้บริหารระดับสูงหรือตัวแทนเหล่านั้นมีพฤติกรรมขโมย เบียดบังหรือยักยอกงบประมาณ หรือทรัพยากรภาครัฐ
          3) ดัชนีการคอร์รัปชันของฝ่ายนิติบัญญัติ (The indicator for legislative corruption) โดยใช้คำถามว่า "เจ้าหน้าที่ฝ่ายนิติบัญญัติได้ใช้ตำแหน่งหน้าที่เพื่อเรียกรับผลประโยชน์ในประเด็นเหล่านี้ในระดับใด
          4 ) ดัชนีการคอร์รัปชันของฝ่ายตุลาการ (The indicator for judicial corruption)โดยใช้คำถามว่า "ประชาชนหรือภาคธุรกิจ มีการจ่ายเงินพิเศษ (ที่ไม่มีเอกสารการจ่ายเงิน) หรือสินบนเพื่อเร่งหรือชะลอกระบวนการของฝ่ายตุลาการ ในระดับใด"

......................................................................................................................

Related