Contrast
Font
21028520e10957bf03cda8b3ae9024dd.jpg

เกร็ดความรู้...สู้ทุจริต!! เรื่อง : “ดัชนีการรับรู้การทุจริต (Corruption Perceptions Index : CPI)” ตอนที่ 16-20

จากไชต์: สำนักงานคณะกรรมการป้องกัน และปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (สำนักงาน ป.ป.ช.) สนามบินน้ำ
จำนวนผู้เข้าชม: 971

06/02/2566

ตอนที่ 16 ภาพรวมคะแนนและอันดับดัชนีการรับรู้การทุจริต CPI ย้อนหลังของประเทศไทย มีรายละเอียดดังนี้

                                      ปี 2562                       ปี 2563                      ปี 2564

 

ระดับโลก                    คะแนน 36 อันดับ 101       คะแนน 36 อันดับ 104    คะแนน 35 อันดับ 110

(จากจำนวน 180 ประเทศ)    

 

 

ระดับอาเซียน                    อันดับ 5/10                    อันดับ 6/10                   อันดับ 6/10

(จากจำนวน 11 ประเทศ)    

...................................................................................................................................................................

         ตอนที่ 17สถิติค่าคะแนน CPI ของประเทศในระดับอาเซียน (ย้อนหลัง 5 ปี)”  มีรายละเอียดดังภาพอินโฟกราฟิค

......................................................................................................................

ตอนที่ 18 “ค่าเฉลี่ยคะแนน CPI ดัชนีการรับรู้การทุจริตประจำปี 64 ของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (Asia Pacific  มีรายละเอียดดังนี้

- ค่าเฉลี่ยคะแนน CPI ดัชนีการรับรู้การทุจริตประจำปี 64 ของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (Asia Pacific) ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 45 คะแนน

- คะแนน CPI ดัชนีการรับรู้การทุจริตประจำปี 64 ของประเทศไทย อยู่ที่ 35 คะแนน
......................................................................................................................

ตอนที่ 19แผนปฏิบัติการเพื่อยกระดับคะแนนดัชนีการรับรู้การทุจริต (CPI) ประจําปี พ.ศ. 2565 - พ.ศ. 2567”

                   สำนักงาน ป.ป.ช. ได้นำข้อมูล ตัวชี้วัดที่ 1 ตามคํารับรองการปฏิบัติราชการของสํานักงาน ป.ป.ช. ประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 กําหนดให้นําข้อเสนอแนะเพื่อยกระดับคะแนนดัชนีการรับรู้การทุจริต (Corruption Perceptions Index: CPI) มาจัดทําแผนปฏิบัติการเพื่อยกคะแนนดัชนีการรับรู้การทุจริต (CPI) ประจำปี พ.ศ. 2565 - พ.ศ. 2567 เพื่อเป็นการขับเคลื่อนการดําเนินการเพื่อยกระดับคะแนนดัชนีการรับรู้การทุจริต (CPI) ของประเทศไทยให้เป็นไปตามเป้าหมายและตัวชี้วัดตามแผนแม่บทฯ ที่กําหนดไว้และเป็นการผลักดัน ข้อเสนอแนะเพื่อยกระดับคะแนนดัชนีการรับรู้การทุจริต (CPI) ไปสู่การปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพ โดยให้มีการรายงานผล พร้อมระบุปัญหาอุปสรรคสําหรับการปรับปรุงในปีงบประมาณถัดไป                   
......................................................................................................................

          ตอนที่ 20ข้อเสนอแนะจากการวิเคราะห์ 9 แหล่งข้อมูล (วิเคราะห์จากของปี 2564)

          จากการวิเคราะห์ประเด็นคำถามทั้ง 9 แหล่งข้อมูล (วิเคราะห์จากของปี 2564)  ที่เกี่ยวข้องกับการยกระดับคะแนนดัชนีการรับรู้การทุจริต (Corruption Perceptions Index : CPI) สามารถจัดเป็นประเด็นของข้อเสนอแนะ ได้ 5 ประเด็น ดังนี้

          1) ประเด็นนโยบายของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาการทุจริต

          2) ประเด็นเกี่ยวกับสินบน

          3) ประเด็นการขัดกันแห่งผลประโยชน์

          4) ประเด็นการตรวจสอบและการลงโทษเจ้าหน้าที่รัฐ

          5) ประเด็นความโปร่งใสและการตรวจสอบได้ในระบบงบประมาณและการจัดซื้อ จัดจ้างภาครัฐ           
......................................................................................................................

Related