Contrast
Font
a1279564b731ccff63dc9f274d21db13.jpg

เกร็ดความรู้...สู้ทุจริต!! เรื่อง : “ดัชนีการรับรู้การทุจริต (Corruption Perceptions Index : CPI)” ตอนที่ 21-25

จากไชต์: สำนักงานคณะกรรมการป้องกัน และปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (สำนักงาน ป.ป.ช.) สนามบินน้ำ
จำนวนผู้เข้าชม: 512

06/02/2566

ตอนที่ 21 “การดำเนินงานเพื่อยกระดับคะแนนดัชนีการรับรู้การทุจริต ในประเด็นนโยบายของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาการทุจริต” โดยมีการดำเนินการดังนี้

            - คณะรัฐมนตรีจัดสรรงบประมาณเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐในการป้องกันและปราบการทุจริต

            - มีการจัดทำแนวทางการประเมินความเสี่ยงการทุจริตและมาตรการป้องกันความเสี่ยงการทุจริตสำหรับภาครัฐและภาคธุรกิจเอกชน

            - คณะรัฐมนตรีได้มอบหมายให้กรมประชาสัมพันธ์ ประสานกับหน่วยงานต่างๆ กำหนดแนวทางการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ กระบวนการทำงาน และผลการดำเนินงาน ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ

            - สำนักงาน ป.ป.ช. ดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่างๆ เช่น กระบวนการและมาตรการในการคุ้มครองผู้แจ้งเบาะแส พัฒนาช่องทางการแจ้งเบาะแส และการติดตามความคืบหน้าเรื่องร้องเรียน การเผยแพร่ข้อมูลสถิติคดีและเรื่องชี้มูลความผิด ผลักดันให้มีการออกกฎหมาย มาตรการติดตามทรัพย์สิน ความผิดเกี่ยวกับการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลกับประโยชน์ส่วนรวม                      
......................................................................................................................

ตอนที่ 22การดำเนินงานเพื่อยกระดับคะแนนดัชนีการรับรู้การทุจริต ในประเด็นเกี่ยวกับสินบน” โดยมีการดำเนินการดังนี้

            -จัดตั้งศูนย์ให้คำปรึกษาเพื่อป้องกันปัญหาการรับสินบนในภาคเอกชน

            -นำระบบมาตรฐาน ISO 37001 (ระบบการจัดการต่อต้านการติดสินบน) มาใช้ในระบบราชการ

            -พัฒนา แก้ไข ปรับปรุง หรือยกเลิกกฎหมายให้มีเท่าที่จำเป็น รวมทั้งให้มีการอนุมัติ อนุญาตผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์
......................................................................................................................

ตอนที่ 23 การดำเนินงานเพื่อยกระดับคะแนนดัชนีการรับรู้การทุจริต ในประเด็นการขัดกันแห่งผลประโยชน์” โดยมีการดำเนินการดังนี้

          - ผลักดันการจัดทำร่างพรบ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการขัดกันระหว่างผลประโยชน์ส่วนบุคคลและผลประโยชน์ส่วนรวม

          -จัดทำร่างกฎหมายว่าด้วยการบริหารบุคคลภาครัฐในระบบคุณธรรม และให้บังคับใช้กับกับหัวหน้าหน่วยงานของรัฐที่มีฐานะเป็นนิติบุคคลเป็นลำดับแรก

          - กำหนดพฤติกรรมทางจริยธรรมของเจ้าหน้าที่ของรัฐในลักษณะ ”ควรกระทำ” และ “ไม่ควรกระทำ”  (Do and Don’t) ให้สอดคล้องกับบริบทของแต่ละหน่วยงาน
......................................................................................................................

ตอนที่ 24การดำเนินงานเพื่อยกระดับคะแนนดัชนีการรับรู้การทุจริต ในประเด็นการตรวจสอบและการลงโทษเจ้าหน้าที่รัฐ” มีรายละเอียดดังนี้

          - บูรณาการความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการบังคับใช้กฎหมาย เพื่อปราบปรามการทุจริต

          - เร่งรัดให้ดำเนินการกับเรื่องไต่สวนที่ใกล้ขาดอายุความและการยึดหรืออายัดทรัพย์ที่เกี่ยวกับการกระทำความผิด

          - จัดตั้งศูนย์อำนวยการต่อต้านการทุจริต เพื่อเป็นศูนย์กลางรับเรื่องร้องเรียนของประชาชน  แก้ไขปัญหาความเดือดร้อนและไม่เป็นธรรม
......................................................................................................................

ตอนที่ 25 “การดำเนินงานเพื่อยกระดับคะแนนดัชนีการรับรู้การทุจริต ในประเด็นความโปร่งใสและการตรวจสอบได้ในระบบงบประมาณและการจัดซื้อ จัดจ้างภาครัฐ” มีรายละเอียดดังนี้

          เผยแพร่เอกสารที่เกี่ยวกับงบประมาณทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษ บนเว็บไซต์ ตามหลักเกณฑ์สากล เช่น พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี รายงานทบทวนกลางปี คำชี้แจงประมาณการรายได้ สถิติการจัดเก็บรายได้ รายงานฐานะทางการเงินการคลังของประเทศ และความช่วยเหลือจากต่างประเทศ เป็นต้น
......................................................................................................................

Related