Contrast
Font
1943130ba8fcaf3a1c8dd27d2764ee71.jpg

เกร็ดความรู้...สู้ทุจริต!! เรื่อง : “ดัชนีการรับรู้การทุจริต (Corruption Perceptions Index : CPI)” ตอนที่ 26-30

จากไชต์: สำนักงานคณะกรรมการป้องกัน และปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (สำนักงาน ป.ป.ช.) สนามบินน้ำ
จำนวนผู้เข้าชม: 890

06/02/2566

ตอนที่ 26 “สรุปผลการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการเพื่อยกระดับคะแนนดัชนีการรับรู้การทุจริต (Corruption Perceptions Index: CPI)  ประจำปี พ.ศ. 2565”

          ในช่วงเวลาที่ผ่านมา หน่วยงานหลักที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและปราบปรามการทุจริตทั้งองค์กรอิสระ หน่วยงานภาครัฐ และกลไกคณะกรรมมาธิการ วุฒิสภา อันได้แก่ สำนักงาน ป.ป.ช. สำนักงาน ป.ป.ท. และคณะกรรมาธิการศึกษาตรวจสอบเรื่องการประพฤติมิชอบและเสริมสร้างธรรมาภิบาล วุฒิสภา ได้มีการศึกษา วิเคราะห์ และกำหนดแนวทางมาตรการเพื่อมุ่งยกระดับคะแนนดัชนีการรับรู้การทุจริต (CPI) ของประเทศไทยมาอย่างต่อเนื่อง โดยมีรายละเอียดดังนี้

  1. ผลการดำเนินการ ประเด็น : สินบน
  2. ผลการดำเนินการด้านการตรวจสอบและลงโทษเจ้าหน้าที่รัฐที่กระทำความผิด
  3. ผลการดำเนินการด้านความโปร่งใสในระบบงบประมาณและการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ


......................................................................................................................

ตอนที่ 27 “สรุปผลการดำเนินงาน CPI 2565 ประเด็น : สินบน” มีการดำเนินการดังนี้

          1.) ศึกษานวัตกรรมการต่อต้านการติดสินบนและนำระบบมาปรับใช้ เช่น มาตรฐาน ISO 37001 ระบบการจัดการต่อต้านการติดสินบน (Anti-Bribery Management Systems) ซึ่งเป็นมาตรฐานระบบการจัดการเพื่อต่อต้านการติดสินบน โดยองค์การมาตรฐานสากล (International Organization for Standardization: ISO)มาใช้ในการบริหารจัดการองค์การ เพื่อป้องกันความเสี่ยงในการติดสินบนและสร้างมาตรฐานให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล

          2.) ประสาน ติดตาม และเร่งรัดให้หน่วยงานของรัฐดำเนินการตามพระราชบัญญัติการอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ พ.ศ.2558 และมีมาตรการบังคับหรือลงโทษหากหน่วยงานไม่ปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด และเผยแพร่ผลการ ดำเนินการให้สาธารณชนรับทราบ โดยให้มีการสื่อสารเป็นภาษาอังกฤษ และภาษาต่างประเทศ อื่นๆ   
......................................................................................................................

ตอนที่ 28 “สรุปผลการดำเนินงาน CPI 2565 ประเด็น : สินบน” (ต่อเนื่องจากตอนที่ 27) มีการดำเนินการดังนี้

          3.) ดำเนินการตามพระราชบัญญัติการอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ พ.ศ. 2558 อย่างเคร่งครัด พร้อมทั้งจัดให้ประชาชน ผู้รับบริการสามารถตรวจสอบผลการดำเนินงานในแต่ละขั้นตอนผ่าน ช่องทางหรือระบบที่มีความชัดเจน โปร่งใสตรวจสอบได้ ทั้งนี้ ช่องทางหรือระบบดังกล่าว ต้องสามารถเข้าถึงได้โดยง่าย มีความสะดวกรวดเร็ว และมีทั้งเวอร์ชันภาษาไทยและภาษาอังกฤษ

          4.) ร่วมมือกับคณะกรรมการแนวร่วมปฏิบัติของภาคเอกชนไทยในการต่อต้านการทุจริต ส่งเสริมและสนับสนุนโครงการแนวร่วมปฏิบัติของภาคเอกชนไทยในการต่อต้านการทุจริต (Thailand's Private Sector Collective Action Coalition Against Corruption (CAC) เพื่อให้เกิดผลอย่าง เป็นรูปธรรม            

          5.) จัดให้มีการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับกระบวนการขออนุมัติ อนุญาตโดยเฉพาะกรณีการนำเข้าและส่งออก และกรณีที่เกี่ยวกับสินบนให้กับกลุ่มเป้าหมายที่เกี่ยวข้อง     
......................................................................................................................

ตอนที่ 29 “สรุปผลการดำเนินงาน CPI 2565 ประเด็น : ผลการดำเนินการด้านการตรวจสอบและลงโทษเจ้าหน้าที่รัฐที่กระทำความผิด” มีการดำเนินการดังนี้

                    1.) พัฒนาระบบ/กระบวนการและมาตรการในการให้ความคุ้มครองผู้แจ้งเบาะแส(Whistleblower) ให้มีประสิทธิภาพเพื่อสร้างความมั่นใจให้กับภาคประชาชนและนักลงทุนต่างชาติในการให้ข้อมูลที่เกี่ยวกับการทุจริตของเจ้าหน้าที่รัฐ

                   2.) แก้ไขประมวลรัษฎากรให้การยื่นภาษีเงินได้ส่วนบุคคลเป็นข้อมูลที่เปิดเผยได้ และใช้ระบบการตรวจสอบการเสียภาษีกับผู้ถูกกล่าวหาว่าทุจริตและประพฤติมิชอบทุกราย  
......................................................................................................................

ตอนที่ 29 “สรุปผลการดำเนินงาน CPI 2565 ประเด็น : ผลการดำเนินการด้านความโปร่งใสในระบบงบประมาณและการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ” มีการดำเนินการดังนี้

                    1.) จัดทำข้อมูล เอกสารที่เกี่ยวข้องกับงบประมาณ เผยแพร่ข้อมูลที่แสดงถึงประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการใช้จ่ายเงินงบประมาณ โดยเปิดเผยข้อมูลตามหลักเกณฑ์สากลให้ครอบคลุมและสมบูรณ์ยิ่งขึ้น เช่น รายงานทบทวนกลางปี การจัดซื้อจัดจ้างโครงการขนาดใหญ่ของรัฐพร้อมทั้งจัดทำคำแปลเป็นภาษาอังกฤษและภาษาต่างประเทศอื่น ๆ และเผยแพร่ข้อมูลดังกล่าวบนเว็บไซต์                 

                   2.) จัดทำและพัฒนาระบบการตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณในทุกประเภท เพื่อให้องค์กรที่มีหน้าที่ตรวจสอบ ตลอดจนสาธารณชนสามารถเข้าถึงได้ง่าย       

                   3.) กำหนดแนวทางการติดตาม เฝ้าระวัง และตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณ โดยนึดหลักการตรวจสอบความโปร่งใสและให้สาธารณชนตรวจสอบได้ 

Related