Contrast
Font
dc6d5fd7a74ef67eb97cd30a400abf5d.jpg

เกร็ดความรู้...สู้ทุจริต!! “มาตรการป้องกันการทุจริตเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์ในที่ดินของรัฐโดยมิชอบ : กรณีปัญหาการบุกรุกและการใช้ประโยชน์ในที่ดินป่าไม้”

จากไชต์: สำนักงานคณะกรรมการป้องกัน และปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (สำนักงาน ป.ป.ช.) สนามบินน้ำ
จำนวนผู้เข้าชม: 451

08/03/2566

ที่มาของ “มาตรการป้องกันการทุจริตเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์ในที่ดินของรัฐโดยมิชอบ : กรณีปัญหาการบุกรุกและการใช้ประโยชน์ในที่ดินป่าไม้”

          จากข้อมูลสถิติในปี พ.ศ.2561 ประเทศไทยมีพื้นที่ที่ยังมีสภาพป่าไม้อยู่ทั้งสิ้น 102,212,434.37 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 31.68 ของพื้นที่ประเทศ ในขณะที่ยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี (พ.ศ.2560 – พ.ศ.2564) นโยบายป่าไม้แห่งชาติ (เมื่อปี พ.ศ.2562) และแผนพัฒนาเศรษฐกิจสังคมและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560 – พ.ศ.2564) กำหนดเป้าหมายให้มีพื้นที่ป่าไม้ในประเทศ ทั้งป่าอนุรักษ์และป่าเพื่อเศรษฐกิจไม่น้อยกว่าร้อยละ 40 ของพื้นที่ประเทศ

          ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้เกิดปัญหาและความเสี่ยงต่อการทุจริตเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์ในที่ดินของรัฐโดยมิชอบ กรณีปัญหาการบุกรุกและการใช้ประโยชน์ในที่ดินป่าไม้ ได้แก่ ปัญหานโยบายเพือการแก้ไขปัญหาที่ดินทำกินในเขตที่ดินป่าไม้ ปัญหาการปรับปรุงแนวเขตที่ดินของรัฐ ปัญหาด้านการป้องกันและปราบปรามการบุรุกที่ดินป่าไม้ ปัญหาด้านการอนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ที่ดินป่าไม้และปัญหาการขาดความโปร่งใสในการตรวจสอบและการมีส่วนร่วมของประชาชน เป็นต้น

          ปัญหาดังกล่าวส่งผลให้ที่ดินป่าไม้และที่ดินของรัฐถูกบุกรุกและใช้ประโยชน์โดยมิชอบมากขึ้น เกิดการจัดสรรทรัพยากรที่ไม่เป็นธรรม รวมทั้งเป็นความเสี่ยงต่อการเปิดช่องและเอื้อประโยชน์ให้นายทุนใช้ช่องว่างในการบุกรุกที่ดินของรัฐ โดยอาจมีเจ้าหน้าที่ของรัฐให้การสนับสนุน หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่มีเจตนาแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบร่วมกันทุจริต
----------

ข้อเสนอแนะที่สำคัญ

1.คณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ (คทช.) ควรบูรณาการหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง จัดทำระบบฐานข้อมูลกลางเพื่อการบริหารจัดการที่ดิน ประกอบด้วย ข้อมูลการถือครองที่ดินและทำประโยชน์ในที่ดินของรัฐในภาพรวมทั้งประเทศ ทั้งกรณีที่มีเอกสารสิทธิและไม่มีเอกสารสิทธิ และข้อมูลการยื่นคำร้องขอเข้าทำประโยชน์ในที่ดินของรัฐทุกประเภท รวมทั้งให้มีการเปิดเผยข้อมูลดังกล่าวต่อสาธารณชนด้วย

2. สนับสนุนและเร่งรัดการดำเนินการปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐแบบบูรณาการ มาตราส่วน 1 : 4000 (One Map) เพื่อให้การดำเนินการเป็นไปด้วยความเรียบร้อยสัมฤทธิผล สามารถบูรณาการแก้ไขปัญหาแนวเขตที่ดินของรัฐให้ชัดเจนและไม่ทับซ้อนกัน และให้สำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ ในฐานะฝ่ายเลขานุการของคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ (คทช.) กำหนดแผนการดำเนินงาน และกรอบระยะเวลาการดำเนินการที่แล้วเสร็จ

3. เห็นควรให้หน่วยงานของรัฐที่มีหน้าที่ในการดูแลรักษาที่ดินของรัฐทุกประเภท ปรับปรุงและพัฒนากฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง เพื่อใช้เป็นเครื่องมือสนับสนุนในการบริหารจัดการที่ดินของรัฐทั้งระบบ ให้สอดคล้องกับบริบทของสังคม และสภาพการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป มีการจัดระเบียบและแก้ไขปัญหาความขัดแย้งเกี่ยวกับการครอบครองหรือใช้ประโยชน์ที่ดินของรัฐอย่างมีส่วนร่วม

4.ปรับปรุงหลักเกณฑ์การอนุญาตให้มีความชัดเจน เพื่อลดปัญหาการใช้ดุลยพินิจของหน้าที่รัฐในการพิจารณา เช่น กรณีการกำหนดคำนิยามคำว่า “ไม่เป็นพื้นที่ป่าที่มีสภาพป่าไม่สมบูรณ์” ตามกฎกระทรวงการขออนุญาตและการอนุญาตทำประโยชน์ในเขต พ.ศ. 2558 ให้มีความชัดเจน

Related