Contrast
Font
banner_default_2.jpg

ดีเดย์ 1 มิถุนายน 2563 เริ่มการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity and Transparency Assessment: ITA) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563

จากไชต์: สำนักงานคณะกรรมการป้องกัน และปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (สำนักงาน ป.ป.ช.) สนามบินน้ำ
จำนวนผู้เข้าชม: 565

27/05/2563

ดีเดย์ 1 มิถุนายน 2563 เริ่มการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity and Transparency Assessment: ITA) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563

          การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity and Transparency Assessment: ITA) หรือการประเมิน ITA เป็นการประเมินที่มีจุดมุ่งหมายที่จะก่อให้เกิดการปรับปรุงพัฒนาด้านคุณธรรมและความโปร่งใสในหน่วยงานภาครัฐ โดยถือเป็นการประเมินที่ครอบคลุมหน่วยงานภาครัฐทั่วประเทศ ซึ่งเป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรี ในการประชุมเมื่อวันที่ 23 มกราคม 2561 มีมติเห็นชอบให้หน่วยงานภาครัฐทุกหน่วยงานให้ความร่วมมือและเข้าร่วมการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 – 2564 โดยใช้แนวทางและเครื่องมือการประเมินตามที่สำนักงาน ป.ป.ช. กำหนด

สำหรับการประเมิน ITA ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 คณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้มอบหมายให้สำนักงาน ป.ป.ช. ดำเนินการศึกษาทบทวนการประเมิน ITA ในหลายด้าน เพื่อพัฒนาให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ทั้งด้านรายละเอียดการประเมินฯ ด้านเครื่องมือการประเมิน และด้านวิธีการประเมิน นอกจากนี้ ยังมีการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศรองรับการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity and Transparency Assessment System: ITAS) ซึ่งนอกจากจะส่งผลให้การประเมิน ITA สามารถดำเนินการได้อย่างสะดวก รวดเร็ว ลดภาระของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และลดงบประมาณที่ใช้ในการดำเนินการแล้ว ยังส่งผลให้หน่วยงานที่รับการประเมินฯ ได้รับทราบสถานการณ์ด้านคุณธรรมและความโปร่งใสของตนเอง และสามารถนำผลการประเมินฯ ไปสู่การปรับปรุงพัฒนาด้านคุณธรรมและความโปร่งใสของหน่วยงานตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

           โดยมีกรอบการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ใน 10 ตัวชี้วัด 3 เครื่องมือ โดยเป็นการประเมินผ่านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (ITAS) ดังนี้

เครื่องมือ

ตัวชี้วัด

รายละเอียดคำถามในแต่ละตัวชี้วัด

 

แบบวัดการรับรู้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายใน (แบบ IIT) เป็นการประเมิน

การรับรู้ของ

บุคลากรภายในหน่วยงานของตนเองต่อการปฏิบัติงานใน 5 ตัวชี้วัด

การปฏิบัติหน้าที่

บุคลากรในหน่วยงานมีพฤติกรรมแบบนี้หรือไม่ ?

• ปฏิบัติงานเป็นไปตามขั้นตอนและระยะเวลา

• ปฏิบัติงานแก่ผู้มาติดต่อทั่วๆ ไป กับผู้มาติดต่อที่รู้จักเป็นการส่วนตัวอย่างเท่าเทียมกัน

• ปฏิบัติงานอย่างมุ่งผลสำเร็จของงาน ให้ความสำคัญกับงานมากกว่าธุระส่วนตัว และพร้อมรับผิดชอบ

หากความผิดพลาดเกิดจากตนเอง

• การเรียกรับสินบน เพื่อแลกกับการปฏิบัติงาน        • การรับสิ่งของในช่วงเทศกาล

• การให้สิ่งของแก่บุคคลภายนอก เพื่อหวังการตอบแทน

 

การใช้งบประมาณ

หน่วยงานของท่านมีแบบนี้หรือไม่ ?

• เผยแพร่และชี้แจงแผนงบประมาณประจำปี  

• ใช้งบประมาณอย่างคุ้มค่า และตรงตามวัตถุประสงค์

• ใช้งบประมาณไปเพื่อตนเองหรือพวกพ้อง     • มีการเบิกจ่ายเงินเป็นเท็จ เช่น OT ค่าเดินทาง

• จัดซื้อจัดจ้างโปร่งใส ไม่เอื้อผลประโยชน์     • เปิดโอกาสให้มีการตรวจสอบการใช้งบประมาณ

 

การใช้อำนาจ

หน่วยงานของท่านมีแบบนี้หรือไม่ ?

• ผู้บังคับบัญชามอบหมายงานอย่างเป็นธรรม   • การประเมินผลงาน เป็นไปตามคุณภาพของงาน

• การคัดเลือกผู้เข้ารับการฝึกอบรม การศึกษาดูงาน หรือการให้ทุนการศึกษาอย่างเป็นธรรม

• ผู้บังคับบัญชาสั่งให้ทำธุระส่วนตัวของเขา      • ผู้บังคับบัญชาสั่งให้ทำในสิ่งที่ผิดหรือทุจริต

• การบริหารบุคคล มีการแทรกแซง ซื้อขายตำแหน่ง หรือเอื้อประโยชน์

 

 

การใช้ทรัพย์สินของราชการ

หน่วยงานของท่านมีแบบนี้หรือไม่ ?

• มีบุคลากรเอาทรัพย์สินของราชการไปเป็นของส่วนตัว

• ขั้นตอนการขออนุญาตยืมทรัพย์สินไปใช้ปฏิบัติงานยุ่งยาก

• บุคลากรขออนุญาตยืมทรัพย์สินอย่างถูกต้องเสมอ

• บุคคลภายนอกเอาทรัพย์สินไปใช้อย่างไม่ถูกต้อง

• มีการเผยแพร่วิธีการขั้นตอนขออนุญาตยืมทรัพย์สินให้ได้รับทราบ

• มีการกำกับดูแลการใช้ทรัพย์สินของราชการ

การแก้ไขปัญหาการทุจริต

หน่วยงานของท่านมีแบบนี้หรือไม่ ?

• ผู้บริหารให้ความสำคัญกับการต่อต้านการทุจริต

• ทบทวนและจัดทำนโยบาย แผนงาน ด้านป้องกันการทุจริต

• ปัญหาการทุจริตในหน่วยงานได้รับการแก้ไข   

• หน่วยงานมีการเฝ้าระวังและตรวจสอบการทุจริต

• หน่วยงานเอาผลกการตรวจสอบภายใน/ภายนอก ไปปรับปรุงการดำเนินงาน

• ประสิทธิภาพของการรับและจัดการเรื่องร้องเรียน

 

 

แบบวัดการรับรู้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอก (แบบ EIT) เป็นการประเมิน

การรับรู้ของ

ผู้รับบริการ ผู้มาติดต่อ หรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอกต่อการปฏิบัติงาน ใน 3 ตัวชี้วัด

 

การแก้ไขปัญหาการทุจริต

หน่วยงานของท่านมีแบบนี้หรือไม่ ?

• ผู้บริหารให้ความสำคัญกับการต่อต้านการทุจริต

• ทบทวนและจัดทำนโยบาย แผนงาน ด้านป้องกันการทุจริต

• ปัญหาการทุจริตในหน่วยงานได้รับการแก้ไขหรือไม่  

• หน่วยงานมีการเฝ้าระวังและตรวจสอบการทุจริต

• หน่วยงานเอาผลกการตรวจสอบภายใน/ภายนอก ไปปรับปรุงการดำเนินงาน

• ประสิทธิภาพของการรับและจัดการเรื่องร้องเรียน

ประสิทธิภาพการสื่อสาร

เจ้าหน้าที่ของหน่วยงานที่ท่านติดต่อหรือรับบริการมีแบบนี้หรือไม่ ?

• หน่วยงานเผยแพร่ข้อมูลเข้าถึงง่าย หลายช่องทาง   

• หน่วยงานเผยแพร่ข้อมูลที่สาธารณชนควรรับทราบ

• หน่วยงานมีช่อทางรับฟังคำติชมหรือความคิดเห็น

• หน่วยงานชี้แจงหรือให้คำตอบเกี่ยวกับงานอย่างชัดเจน

• หน่วยงานมีช่องทางให้ร้องเรียนการทุจริตของเจ้าหน้าที่ได้

การปรับปรุงระบบการทำงาน

เจ้าหน้าที่ของหน่วยงานที่ท่านติดต่อหรือรับบริการมีแบบนี้หรือไม่ ?

• เจ้าหน้าที่มีการปรับปรุงการปฏิบัติงานให้ดีขึ้น  

• หน่วยงานปรับปรุงระบบงาน ขั้นตอนต่างๆ ให้ดีขึ้น

• หน่วยงานนำเทคโนโลยีมาใช้ทำให้สะดวกขึ้น

• หน่วยงานเปิดโอกาสให้มีส่วนร่วมดำเนินงาน เช่น วางแผน รับฟังความเห็น ร่วมติดตามประเมินผล

• หน่วยงานมีการปรับปรุงด้านความโปร่งใสให้ดีขึ้น

แบบตรวจการเปิดเผยข้อมูลสาธารณะ (แบบ OIT) เป็นการประเมินการเผยแพร่ข้อมูลที่เป็นปัจจุบันบนเว็บไซต์ของหน่วยงาน ใน 2 ตัวชี้วัด

การเปิดเผยข้อมูล

Website ของหน่วยงานมีข้อมูลเหล่านี้หรือไม่ ?

• ตัวชี้วัดย่อยที่ 9.1 ข้อมูลพื้นฐาน

• ตัวชี้วัดย่อยที่ 9.2 การบริหารงาน

• ตัวชี้วัดย่อยที่ 9.3 การบริหารเงินงบประมาณ

• ตัวชี้วัดย่อยที่ 9.4 การบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล

• ตัวชี้วัดย่อยที่ 9.5 การส่งเสริมความโปร่งใส ตัวอย่างเช่น

1) การจัดการเรื่องร้องเรียน

2) การเปิดโอกาสให้มีส่วนร่วม

การป้องกันการทุจริต

Website ของหน่วยงานมีข้อมูลเหล่านี้หรือไม่ ?

• ตัวชี้วัดย่อยที่ 10.1 การดำเนินการเพื่อป้องกันการทุจริต พิจารณาในเรื่อง 1) ผู้บริหารให้ความสำคัญ

   2) การประเมินความเสี่ยงการทุจริต 3) การสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ดี 4) การจัดทำแผนป้องกันการทุจริต

• ตัวชี้วัดย่อย 10.2 มาตรการภายในเพื่อป้องกันการทุจริต

สำหรับกรอบระยะเวลาในการดำเนินการประเมินฯ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ได้มีการกำหนดไว้ ดังนี้

ช่วงระหว่างเดือนเมษายน ถึงเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2563

  • ลงทะเบียนและเปิดใช้งานรหัสผ่านในระบบ ITAS นำเข้าข้อมูลเพื่อเตรียมการประเมิน ได้แก่ จำนวนผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายใน และข้อมูลผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอก

ช่วงระหว่างเดือนมิถุนายน ถึงเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2563

  • หน่วยงานเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ช่องทางการตอบแบบสำรวจ IIT เพื่อให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายในเข้ามาตอบในระบบ ITAS พร้อมทั้งกำกับติดตามให้ได้ตามที่กำหนด

- หน่วยงานเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ช่องทางการตอบแบบสำรวจ EIT เพื่อให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอก เข้ามาตอบในระบบ ITAS

ช่วงเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2563

- หน่วยงานตอบคำถามแบบสำรวจ OIT

ช่วงเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2563  

- ผู้รับจ้างประเมินฯ เก็บรวบรวมข้อมูลแบบสำรวจ EIT และตรวจสอบและให้คะแนนแบบสำรวจ OIT

ช่วงเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2563

-  ผู้รับจ้างประเมินสรุปผลและให้ข้อเสนอแนะระบบประมวลผลการประเมิน

ช่วงเดือนกันยายน พ.ศ. 2563

  • รายงานผลการประเมินฯ แก่คณะกรรมการ ป.ป.ช. และคณะรัฐมนตรี รวมทั้งเสนอเพื่อประกาศผลการประเมินฯ และมอบรางวัล

 

ทั้งนี้ระยะเวลาการประเมินฯ อาจมีการปรับเปลี่ยนตามสถานการณ์โดยสำนักงาน ป.ป.ช. จะแจ้งให้หน่วยงานที่เข้ารับการประเมินฯ ทราบล่วงหน้า ต่อไป

 

หากต้องการรายละเอียดเพิ่มเติม สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ เว็บไซต์สำนักงาน ป.ป.ช.

www.nacc.go.th หรือเว็บไซต์สำนักประเมินคุณธรรมและความโปร่งใส itas.nacc.go.th

Download

Related