Contrast
Font
78f005b31f9c489bbeb8ec79adf7b7e4.jpg

เกร็ดความรู้...สู้ทุจริต !! เรื่อง สรุปย่อบทความ วารสารวิชาการ ป.ป.ช. ปีที่ 12 ฉบับที่ 2

จากไชต์: สำนักงานคณะกรรมการป้องกัน และปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (สำนักงาน ป.ป.ช.) สนามบินน้ำ
จำนวนผู้เข้าชม: 879

09/11/2565

สัปดาห์นี้พบกับเรื่องของ สรุปย่อบทความ วารสารวิชาการ ป.ป.ช. ปีที่ 12 ฉบับที่ 2 ตอนที่ 1 เรื่อง การคอร์รัปชันในยุคเทคโนโลยีผันผวน

การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและฉับพลันทั้งทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมวัฒนธรรมใน “ยุคโลกแห่งความผันผวน” ที่ทวีความรุนแรงมากขึ้นทุกวัน ทำให้ทุกส่วนของสังคมต้องหันมาวิเคราะห์สถานการณ์ของตนเองเพื่อปรับมุมมอง เปลี่ยนกลยุทธ์ และความคิดในการทำงาน ให้ทันกับความเปลี่ยนแปลงผันผวนนี้ และเพื่อไม่ให้ถูกกลืนกินหรือติดกับดักความคิดของตนเอง การคอร์รัปชันซึ่งเป็นปัญหาสำคัญประการหนึ่งในสังคมนับตั้งแต่อดีต ก็มีความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและฉับพลันเช่นเดียวกัน ทั้งวิธีคิด กระบวนการ และผลกระทบที่เกิดขึ้น ในยุคเทคโนโลยีผันผวนการคอร์รัปชันจึงมีทั้งการคอร์รัปชันที่เป็นเครือข่ายข้ามชาติมีตัวแสดงที่หลากหลาย การคอร์รัปชันที่ใช้เทคโนโลยีทันสมัยเป็นเครื่องมือ การคอร์รัปชันที่หลบเลี่ยงกฎเกณฑ์ระเบียบกฎหมายแบบดั้งเดิมที่มีมาความผันผวนของการคอร์รัปชันในโลกแห่งเทคโนโลยีผันผวนเหล่านี้ จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการทบทวนความคิดเพื่อนำไปสู่การสร้างองค์ความรู้และเครื่องมือในการป้องกันและปราบปรามการคอร์รัปชันต่อไปในอนาคต

อ่านสรุปย่อบทความ Click link : https://www.nacc.go.th/.../2020121614372259/20201221132425?

-------------------------------------------

ต่อกันในตอนที่ 2 ของ สรุปย่อบทความ วารสารวิชาการ ป.ป.ช. ปีที่ 12 ฉบับที่ 2 โดยในวันนี้เป็นเรื่อง มาตรการที่เหมาะสมเพื่อป้องกันความร่วมมือของเครือข่ายกลุ่มอิทธิพลซึ่งนำไปสู่การ ทุจริตคอร์รัปชันอย่างเป็นระบบในภาคการศึกษา ครับ

การทุจริตคอร์รัปชันในประเทศไทยมีวิวัฒนาการมาตามลำดับ และมีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้นมีการเตรียมการและมีการวางแผนอย่างเป็นระบบ มีบุคคลเข้ามาเกี่ยวข้องสนับสนุนจากหลายฝ่าย โดยเฉพาะ

ในโครงการขนาดใหญ่ของรัฐที่มักมีนักการเมือง ข้าราชการระดับสูง และนักธุรกิจเข้ามาเกี่ยวข้องและมีการร่วมมือกันทุจริตคอร์รัปชันที่เรียกกันว่า “การทุจริตคอร์รัปชันอย่างเป็นระบบ” เช่นเดียวกับการทุจริตคอร์รัปชันอย่างเป็นระบบ (Organized Corruption) ที่เกิดขึ้นในภาคการศึกษาของไทยในรูปแบบต่างๆ ซึ่งส่งผลต่อการทำลายคุณภาพของเยาวชนในชาติ อันอาจจะนำไปสู่ความถดถอยของคุณภาพสังคมไทยในอนาคตที่จะเกิดขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ หากมีการทุจริตคอร์รัปชันอย่างเป็นระบบจากบรรดาข้าราชการระดับสูงหรือบุคลากรทางการศึกษา ที่มีการร่วมมือกันอย่างเป็นระบบและเป็นเครือข่ายกับกลุ่มอิทธิพลอื่นๆ อันได้แก่ กลุ่มนักการเมือง และกลุ่มนักธุรกิจบางรายในเครือข่ายของตนประการสำคัญคือ การทุจริตคอร์รัปชันประเภทนี้ “อาจนำไปสู่ความล้มเหลวทางการศึกษาได้และความล้มเหลวทางการศึกษาอาจนำไปสู่การล่มสลายของชาติได้ในท้ายที่สุด” บทความนี้ได้เสนอมาตรการที่เหมาะสมเพื่อป้องกันความร่วมมือระหว่างเครือข่ายกลุ่มอิทธิพล

ที่อาจนำไปสู่การทุจริตคอร์รัปชันอย่างเป็นระบบในภาคการศึกษาได้ โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ มุ่งหาหลักฐานและข้อเท็จจริงเชิงประจักษ์ จากการกำหนดกลุ่มเป้ายหมาย การเก็บรวบรวมข้อมูล และการวิเคราะห์ข้อมูล

อ่านสรุปย่อบทความ Click link : https://www.nacc.go.th/.../2020121614372259/20201221135320?

-------------------------------------------

 

สรุปย่อบทความ วารสารวิชาการ ป.ป.ช. ปีที่ 12 ฉบับที่ 2 มาถึงตอนที่ 3 กับเรื่อง เศรษฐกิจนอกกฎหมายกับการฟอกเงินในประเทศไทย

การค้ายาเสพติด การพนัน และการคอร์รัปชัน ในประเทศไทยถือเป็นธุรกิจผิดกฎหมาย (Illegal Economy) ซึ่งการศึกษานี้จะเป็นการต่อยอดทางแนวคิดทฤษฎีเศรษฐกิจนอกกฎหมายของสังศิต พิริยะ รังสรรค์ (2547) แล้วนั้นยังเป็นการสังเคราะห์แนวคิดทฤษฎีร่วมกันระหว่างแนวคิดเศรษฐกิจนอกกฎหมายกับการฟอกเงินในบริบทประเทศไทยว่ามีความสัมพันธ์กันอย่างไร และทำไมการคงอยู่ของเศรษฐกิจนอกกฎหมายทั้งสามประเภทยังคงดำรงอยู่ในสังคมไทยอย่างรากลึก จนสร้างสายสัมพันธ์เชิงอำนาจผ่านโครงสร้างสถาบัน กระบวนการ และการใช้อำนาจรัฐอย่างลึกซึ้ง จนกลายเป็นปัจจัยค้ำจุนให้เศรษฐกิจนอกกฎหมายประเภทดังกล่าวในประเทศไทยดำรงอยู่ได้จากอดีตสู่ปัจจุบันและอนาคต ภายใต้โครงสร้างเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมแบบร่วมสมัย (Contemporary Society

อ่านสรุปย่อบทความเพิ่มเติม Click link : https://www.nacc.go.th/.../2020121614372259/20201221135356?

-------------------------------------------

มาถึงตอนที่ 4 ของสรุปย่อบทความ วารสารวิชาการ ป.ป.ช. ปีที่ 12 ฉบับที่ 2 แล้วนะครับ สำหรับวันนี้จะเป็นเรื่อง รูปแบบการมีส่วนร่วมของประชาชนในการต่อต้านการทุจริต: กรณีศึกษาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รายละเอียดจะเป็นอย่างไรแอดมินตัดเนื้อหาบางส่วนของสรุปย่อบทความนี้มาให้ได้อ่านกันครับ

รูปแบบการมีส่วนร่วมตรวจสอบการทุจริตในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นโดยประชาชน การมีส่วนร่วมใน

การตรวจสอบการทุจริตในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีหลากหลายรูปแบบ ทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ จากการศึกษางานวิจัยที่เกี่ยวข้องขอกล่าวถึงรูปแบบการมีส่วนร่วมของประชาชนในการตรวจสอบการทุจริตในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้ 2 รูปแบบ คือ

1.รูปแบบการมีส่วนร่วมตรวจสอบการทุจริตโดยอาสาสมัคร

เป็นรูปแบบของการตรวจสอบการทุจริตรูปแบบใหม่ ที่มีกลุ่มประชาชนที่สนใจหรือสมัครใจพร้อมจะเข้ามา

มีส่วนร่วมในการติดตามตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ของผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

2.รูปแบบการมีส่วนร่วมตรวจสอบการทุจริตโดยประชาคม

เป็นรูปแบบการมีส่วนร่วมอย่างเป็นทางการ กล่าวคือ ในการจัดทำแผนงานประจำปีขององค์กรปกครอง

ส่วนท้องถิ่น มีขั้นตอน/กระบวนการที่ต้องมีการทำประชาคมในโครงการต่างๆ เพื่อรับฟังความคิดเห็น ข้อเสนอแนะ จากประชาชนในท้องถิ่นของตนเอง ก่อนจะนำแผนการปฏิบัติงานไปอนุมัติและดำเนินการต่อไป ซึ่งรูปแบบการมีส่วนร่วมของประชาชนในการติดตามตรวจสอบการดำเนินการขององค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น เน้นการมีส่วนร่วมในการติดตามตรวจสอบเกี่ยวกับงบประมาณหรือโครงการด้าน โครงสร้างพื้นฐานที่มีการใช้จ่ายงบประมาณจำนวนมาก

อ่านสรุปย่อบทความเพิ่มเติม Click link : https://www.nacc.go.th/.../2020121614372259/20201223060934?
-------------------------------------------

ตอนสุดท้ายของสรุปย่อบทความ วารสารวิชาการ ป.ป.ช. ปีที่ 12 ฉบับที่ 2 เรื่อง ตำแหน่งเจ้าหน้าที่รัฐ กับการเปิดเผยบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินต่อสาธารณะ จะมีรายละเอียดเป็นอย่างไรไปติดตามกันได้เลยครับ

การเปิดเผยบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของผู้ใช้อำนาจรัฐในประเทศไทยปัจจุบันสามารถดำเนินการเปิดเผยโดยจำแนกได้ 4 กลุ่มตำแหน่ง คือ (1) นายกรัฐมนตรี (2) รัฐมนตรี (3) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และ (4) สมาชิกวุฒิสภา อย่างไรก็ตามการใช้อำนาจรัฐหาได้ถูกใช้โดย 4 กลุ่ม ตำแหน่งข้างต้นเท่านั้น หากแต่ยังมีการใช้อำนาจรัฐจากข้าราชการประจำในระบบราชการอีกด้วย ในกระบวนการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐขององค์กรอิสระ จึงกำหนดให้ข้าราชการระดับสูงต้องยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. เพื่อให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. ตรวจสอบว่าได้ใช้อำนาจเพื่อผลประโยชน์ส่วนตน หรือเพื่อพวกพ้องหรือไม่

อ่านสรุปย่อบทความเพิ่มเติม Click link : https://www.nacc.go.th/.../2020121614372259/20201221134355?

Related