Contrast
Font
63a5bb6e8515756eb18f1ff0c27cb724.jpg

ป.ป.ช. เข้าร่วมการประชุมกลุ่มผู้เชี่ยวชาญระหว่างรัฐว่าด้วยความร่วมมือระหว่างประเทศ ครั้งที่ 11

จากไชต์: สำนักงานคณะกรรมการป้องกัน และปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (สำนักงาน ป.ป.ช.) สนามบินน้ำ
จำนวนผู้เข้าชม: 130

08/11/2565
วันอังคารที่ 8 พฤศจิกายน 2565 พลตำรวจเอก วัชรพล ประสารราชกิจ ประธานกรรมการ ป.ป.ช. พร้อมด้วย นางสาววันวรา ศิลปวิลาวัณย์ ผู้อำนวยการสำนักกิจการและคดีทุจริตระหว่างประเทศ และเจ้าหน้าที่สำนักงาน ป.ป.ช. ร่วมกับคณะผู้แทนไทย ซึ่งประกอบด้วยผู้แทนจากกระทรวงการต่างประเทศ สำนักงานอัยการสูงสุด และสำนักงาน ปปง. เข้าร่วมการประชุมกลุ่มผู้เชี่ยวชาญระหว่างรัฐว่าด้วยความร่วมมือระหว่างประเทศ ครั้งที่ 11 (11th Open-ended Intergovernmental Expert Meeting to Enhance International Cooperation)
--
โดยมีวัตถุประสงค์ในการรวบรวมองค์ความรู้ แลกเปลี่ยนแนวปฏิบัติที่ดีในการเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศ อันเป็นแนวทางสำหรับรัฐภาคีในการนำเอามาตรการในอนุสัญญา UNCAC มาเป็นพื้นฐานในการกำหนดรูปแบบความร่วมมือทางกฎหมายระหว่างกันในการดำเนินงานต่อต้านการทุจริตในแง่มุมต่างๆ อาทิ การรวบรวมและนำส่งพยานหลักฐาน การส่งผู้ร้ายข้ามแดน การโอนตัวบุคคลผู้ต้องโทษ การโอนการดำเนินคดีอาญา ความร่วมมือในการบังคับใช้กฎหมาย การสืบสวนสอบสวนร่วม การสืบสวนสอบสวนโดยวิธีพิเศษ รวมถึงกระบวนการทางแพ่งและทางปกครองที่นำมาใช้ในคดีทุจริต ซึ่งล้วนแต่เป็นประเด็นที่ประชาคมระหว่างประเทศให้ความสนใจอย่างต่อเนื่อง
--
ในการนี้ ประธานกรรมการ ป.ป.ช. ในฐานะหัวหน้าคณะผู้แทนไทย ได้กล่าวถ้อยแถลงในประเด็นการนำส่งเอกสารผลลัพธ์ของการประชุมระดับภูมิภาคด้านการต่อต้านการทุจริต.(The Regional Anti-Corruption Conference for Law Enforcement Professionals in Southeast Asia) ระหว่างวันที่ 29-31 สิงหาคม 2565 ณ โรงแรมรอยัล ออร์คิด เชอราตัน กรุงเทพมหานคร
.
ซึ่งมีสำนักงาน ป.ป.ช. เป็นเจ้าภาพร่วมกับ UNODC Regional Office for Southeast Asia and the Pacific และกระทรวงยุติธรรมแห่งสาธารณรัฐเกาหลี เข้าเป็นเอกสารประกอบการประชุม (Conference Room Paper) ในการประชุมกลุ่มผู้เชี่ยวชาญระหว่างรัฐว่าด้วยความร่วมมือระหว่างประเทศครั้งที่ 11 เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ในการผลักดันให้เอกสารผลลัพธ์ของการประชุมดังกล่าวได้ถูกนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในระดับนานาประเทศต่อไปในมิติของการดำเนินความร่วมมือระหว่างประเทศด้านการต่อต้านการทุจริตใน 3 ประเด็นหลัก ได้แก่
(1) การสืบสวนสอบสวนและดำเนินคดีการทุจริตข้ามชาติ
.
(2) การบ่งชี้ความเชื่อมโยงระหว่างการทุจริตและอาชญากรรมในรูปแบบอื่นๆ และ
.
(3) การเพิ่มประสิทธิภาพของแนวทางทั้งทางด้านกฎหมายและด้านหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการติดตามทรัพย์สินคืน

Related